เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / ก่ำเคือ (Jequirity)
โดย :
ทบทวนบทความโดย :
ก่ำเคือ (Jequirity)

การใช้ประโยชน์

มะกล่ำตาหนู ใช้ทำอะไร:

มะกล่ำตาหนู เป็นพืชไม้เลื้อย ราก ใบ และถั่วใช้ทำยา ไม่มีหลักฐานแสดงว่ามะกล่ำตาหนูใช้รักษาอาการใด
รากของมะกล่ำตาหนูใช้รักษาโรคหืด อาการหลอดลมบวม เป็นไข้ โรคตับอักเสบ ไข้มาลาเรีย อาการชัก งูกัด เจ็บคอ ปวดท้อง พยาธิตัวตืด และทำให้คลอดบุตรง่าย
ใบของมะกล่ำตาหนูใช้รักษาอาการเป็นไข้ ไอ ไข้หวัดธรรมดา ไข้หวัดใหญ่ แมลงกัดต่อย และโรคหนองใน
หากเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยอย่างแท้จริง ผู้หญิงใช้ถั่วของมะกล่ำตาหนูทำให้คลอดบุตรง่าย สาเหตุของการแท้งบุตร หรือป้องกันการตั้งครรภ์ ถั่วของมะกล่ำยังใช้เป็นยาแก้ปวดในผู้ป่วยใกล้ตาย
ต้นสมบูรณ์ถูกใช้รักษาอาการตาบวม

มะกล่ำตาหนูทำงานอย่างไร

ยังไม่มีการศึกษาวิจัยที่เพียงพอสำหรับการอธิบายการทำงานของอาหารเสริมประเภทสมุนไพรชนิดนี้ โปรดปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามมีการศึกษาวิจัยพบว่าถั่วมะกล่ำตาหนูมีสารพิษ ซึ่งเป็นพิษ ป้องกันการเติบโตหรือการทำหน้าที่ปกติของเซลล์ มะกล่ำตาหนูอาจใช้คุมกำเนิดโดยกีดขวางการตกไข่ในเพศหญิง และลดระดับฮอร์โมนเพศชายและตัวอสุจิในเพศชาย มันอาจช่วยกำจัดแบคทีเรียบางชนิด พยาธิตัวตืด หรือปรสิตที่เป็นสาเหตุของไข้มาลาเรีย มะกล่ำตาหนูยังมีสารเคมีที่ทำให้เลือดแข็งตัวช้า ลดอาการบวม และบรรเทาโรคภูมิแพ้

ข้อควรระวังและคำเตือน:

เราควรรู้อะไรบ้างก่อนใช้มะกล่ำตาหนู:

ปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษาหรือเภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร ในกรณีที่:

  • ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจาก ในขณะที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ควรจะได้รับยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
  • ใช้ยาชนิดอื่นอยู่ กรณีนี้รวมถึงยาทุกชนิดที่ซื้อรับประทานเองโดยไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์
  • แพ้สารจากมะกล่ำตาหนูหรือแพ้ยาชนิดอื่น หรือแพ้สมุนไพรชนิดอื่น
  • มีอาการไม่สบาย มีอาการผิดปกติ หรือมีภาวะทางการแพทย์อื่นๆ
  • มีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์

ข้อบังคับสำหรับอาหารเสริมประเภทสมุนไพรนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับของการใช้ยา จำเป็นต้องมีการศีกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับความปลอดภัย คุณประโยชน์ของการรับประทานอาหารเสริมประเภทสมุนไพรนี้ต้องมีค่าน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ผู้ทำการรักษาสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

มะกล่ำตาหนูปลอดภัยแค่ไหน:

มะกล่ำตาหนูคล้ายไม่ปลอดภัยเมื่อใช้โดยรับประทาน มะกล่ำตาหนูมีสารเคมีชื่อ abrin ซึ่งเป็นพิษและอาจถึงตายได้แม้ใช้ในปริมาณต่ำ อาการที่เป็นพิษ เช่น

  • ท้องเป็นตะคริว
  • ท้องเสียรุนแรง และอาเจียนอาจเป็นเลือด
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • ตับหรือไตเป็นพิษ

อาการอาจเกิดภายในชั่วโมง หรือหลายวันจากนั้น ความตายอาจเกิดหลังจาก 3-4 วันของปัญหาเรื้อรังของช่องท้องและอาการอื่น

ข้อควรระวังพิเศษ และคำเตือน

ขณะที่ถั่วไม่ปลอดภัยที่จะใช้กับใคร ควรระวังอย่างยิ่งเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ประโยชน์

ตั้งครรภ์และให้นมบุตร : มะกล่ำตาหนูคล้ายไม่ปลอดภัยเมื่อใช้โดยรับประทานในช่วงตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร มะกล่ำตาหนูมีสารเคมีชื่อ abrin ซึ่งเป็นพิษและอาจเป็นสาเหตุแท้งบุตร ควรหลีกเลี่ยงการใช้งาน

เด็ก : มะกล่ำตาหนูไม่ปลอดภัยสำหรับเด็ก เด็กถูกดึงดูดด้วยสีสันของเมล็ด ซึ่งโชคไม่ดี เนื่องจากเด็กไวต่อสารพิษที่เป็นผลกระทบจากถั่วมะกล่ำตาหนู เด็กอาจตายหลังจากกลืนแค่เพียงเมล็ดเดียว หากสงสัยว่าสัมผัสถั่วมะกล่ำตาหนู ต้องได้รับความช่วยเหลือทางการแพทย์ทันที

เลือดออกผิดปกติ : มะกล่ำตาหนูทำให้เลือดแข็งตัวช้า ตามทฤษฏี สิ่งนี้อาจทำให้อาการเลือดออกผิดปกติแย่ลง

โรคเบาหวาน : มะกล่ำตาหนูอาจลดน้ำตาลในเลือด เฝ้าดูสัญญาณของน้ำตาลในเลือดต่ำ (ภาวะเลือดมีน้ำตาลน้อย) และคอยดูน้ำตาลในเลือดอย่างระมัดระวัง หากมีโรคเบาหวาน และใช้มะกล่ำตาหนู

การผ่าตัด : มะกล่ำตาหนูอาจทำให้เลือดแข็งตัวช้า หรือน้ำตาลในเลือดต่ำ ตามทฤษฏี มะกล่ำตาหนูอาจเพิ่มความเสี่ยงของเลือดออก และแทรกด้วยควบคุมน้ำตาลในเลือดระหว่างและหลังการผ่าตัด หยุดใช้มะกล่ำตาหนูอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด

 

ผลข้างเคียง:

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้มะกล่ำตาหนูมีอะไรบ้าง:

มะกล่ำตาหนูอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงเช่น:

  • การอักเสบ
  • การระคายเคือง
  • ปัญหาตาที่รุนแรง

ใช่ว่าทุกคนที่จะได้รับผลข้างเคียงเหล่านี้ อาจจะมีผลข้างเคียงบางอย่างที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น ถ้าหากมีความกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ผู้ทำการรักษา

ปฏิกิริยาระหว่างยา:

ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเมื่อใช้ยาอื่นร่วมกับมะกล่ำตาหนูมีอะไรบ้าง:

อาหารเสริมประเภทสมุนไพรชนิดนี้อาจมีผลกับยาที่คุณรับประทานอยู่ หรือมีผลกับภาวะทางการแพทย์อื่นๆ ปรึกษากับแพทย์สมุนไพรแผนโบราณหรือแพทย์ผู้ทำการรักษาก่อนใช้งาน

ปริมาณการใช้:

ข้อมูลที่เผยแพร่นี้ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์ ดังนั้นจึงควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ผู้ทำการรักษาก่อนใช้ยาชนิดนี้เสมอ

ปริมาณปกติของการใช้มะกล่ำตาหนูอยู่ที่เท่าไหร่:

The dose for this herbal supplement may be different for every patient. The dose that you take depends on your age, health, and several other conditions. Herbal supplements are not always safe. Please discuss with your herbalist or doctor for your appropriate dosage.

ปริมาณการใช้อาหารเสริมประเภทสมุนไพรชนิดนี้อาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ปริมาณยาที่ใช้ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่น ๆ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ผู้ทำการรักษาสำหรับปริมาณที่เหมาะสม

มะกล่ำตาหนูมีจำหน่ายในรูปแบบใดบ้าง:

อาหารเสริมประเภทสมุนไพรชนิดนี้อาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้:

  • ของเหลวสกัด
  • ผงแป้ง
  • ทิงเจอร์

 

jequirity http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-836-jequirity.aspx?activeingredientid=836&activeingredientname=jequirity Accessed March 29, 2017

jequirity http://www.livingnaturally.com/ns/DisplayMonograph.asp?StoreID=3D9D155236034A5897378F7C5A033221&DocID=bottomline-jequirity Accessed March 29, 2017

24/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว