เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / คุดซู (Kudzu)
โดย :
ทบทวนบทความโดย :
คุดซู (Kudzu)

การใช้

คุดซูใช้ทำอะไร?

คุดซูสามารถใช้ในการรักษาโรคเหล่านี้ เช่น:

  • โรคพิษสุราเรื้อรัง
  • อาการที่เกิดจากการเมาครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (รวมทั้งอาการปวดหัว, ปวดท้อง, เวียนศีรษะและอาเจียน)
  • โรคหัวใจและปัญหาการไหลเวียนโลหิต (รวมถึงความดันโลหิตสูง, หัวใจเต้นผิดปกติและอาการเจ็บหน้าอก)
  • ปัญหาทางเดินหายใจ (รวมถึงการติดเชื้อไซนัส, ไข้หวัดไข้, ไข้ละอองฟาง, ไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดหมู)
  • ปัญหาผิว (รวมถึงผื่นแพ้ผิวหนังอาการคันและโรคสะเก็ดเงิน)
  • วัยหมดระดู
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • โรคหัด
  • โรคบิด
  • ปวดท้อง (กระเพาะ)
  • ไข้
  • โรคท้องร่วง
  • ความกระหายน้ำ
  • อาการคอแข็ง
  • การขับเหงื่อ
  • โรคโปลิโอ
  • สมองอักเสบ
  • ไมเกรน
  • หูหนวก
  • โรคเบาหวาน
  • แผลฟกช้ำ

ผู้ให้บริการด้านสุขภาพในประเทศจีนใช้สารเคมีในคุดซู เรียกว่า พูอิราริน (Puerarin) ฉีดเข้าเส้นเลือดดำ (ทาง IV) ในการรักษาโรคสมองขาดเลือดไปเลี้ยงเนื่องจากหลอดเลือดตีบ

 

คุดซู อาจจะมีคุณประโยชน์ด้านอื่นๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรของท่านหากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

 

คุดซูทำงานอย่างไร?

ในคุดซูมีสารหลายชนิด ประกอบด้วย:

  • ไกลโคไซด์ (Kudzusaponins A1, A2, Ar, SA4, SB1)
  • สเตอรอล (Sterols) และ ไอโซฟลาโวน (Isoflavones)/ พูอิราริน (puerarin)/ เดดซิน (daidzin)/ เดดซีน (daidzein)
  • สารพูอิราริน (puerarin) ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระที่แข็งแกร่งมากกว่าวิตามินอี

นอกจากนี้สารในคุดซูยังช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในหัวใจและสมอง

กรุณาปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

 

ข้อควรระวังและคำเตือน

ควรรู้อะไรก่อนที่จะใช้คุดซู?

ควรปรึกษากับแพทย์, เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรถ้ามีอาการหรือลักษณะดังต่อไปนี้:

  • กำลังตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในระหว่างการมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตรจึงควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • อยู่ในระหว่างการใช้ยาชนิดอื่น รวมไปถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยา
  • มีอาการแพ้สารใดๆที่มีสารประกอบของคุดซูผสมยู่ หรือยาและสมุนไพรอื่นๆ
  • มีอาการเจ็บป่วย ความผิดปกติ หรือพยาธิสภาพอื่นๆ
  • มีอาการแพ้ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์

ข้อบังคับสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสมุนไพรนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับของการใช้ยา จึงจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัยในการใช้ ประโยชน์ของการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสมุนไพรจะต้องมีค่าน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

 

คุดซูปลอดภัยแค่ไหน?

หญิงมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร:

ยังมีข้อมูลที่น่าเชื่อถือไม่เพียงพอทางด้านความปลอดภัยในการใช้คุดซูระหว่างมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร จึงควรอยู่ในความควบคุมที่ปลอดภัยและหลีกเลี่ยงการใช้

การผ่าตัด:

คุดซูอาจส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดและอาจไปรบกวนกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในระหว่างและหลังการผ่าตัด  หยุดใช้คุดซูอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนเข้ารับการผ่าตัด

 

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงจากคุดซูมีอะไรบ้าง?

คุดซูอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อไปนี้:

-  ภูมิแพ้

-  ไข้ผื่น

-  กลุ่มอาการสตีเวนส์จอห์นสัน

ผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้นไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน อย่างไรก็ตาม อาจเกิดผลข้างเคียงอื่นนอกเหนือจากที่ระบุไว้ โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์หากกังวลเรื่องผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้น

 

ปฏิกิริยาระหว่างยา

ปฏิกิริยาที่อาจเกิดขึ้นเมื่อใช้ยาอื่นร่วมกับคุดซู

คุดซูอาจมีปฏิกิริยากับยาที่ใช้ควบคู่กันในปัจจุบัน ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้

ยาเหล่านี้อาจรวมถึง:

  • ยาคุมกำเนิด

ยาคุมกำเนิดบางชนิดมีฮอร์โมนเอสโตรเจน คุดซูอาจจะมีผลกระทบเช่นเดียวกับเอสโตรเจน แต่คุดซูไม่แข็งแกร่งเท่าเอสโตรเจนในยาคุมกำเนิด การใช้คุดซูพร้อมกับยาคุมกำเนิดอาจลดประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิด หากท่านต้องการใช้ยาคุมกำเนิดพร้อมกับคุดซู ให้เลือกใช้รูปแบบอื่นของการคุมกำเนิด เช่น การสวมถุงยางอนามัย

ยาคุมกำเนิดบางชนิด ได้แก่ เอทินิล เอสตร้าไดออล (Estradiol ethinyl) และ ลีโวนอร์เจสเตรล (Levonorgestrel) หรือ ทริปฟาซิล (Triphasil) เอทินิล เอสตร้าไดออล (Ethinyl estradiol) และ นอร์อิทิสเตอโรนและอื่น ๆ

  • เอสโตรเจน (Estrogens)

เอสโตรเจนสามารถชะลอประสิทธิภาพขณะร่างกายกำจัดคาเฟอีน การลดประสิทธิภาพในการกำจัดคาเฟอีนอาจทำให้เกิดอาการสั่นกระตุก, ปวดหัว, หัวใจเต้นเร็วขึ้นและผลกระทบด้านอื่นๆ หากท่านใช้เอสโตรเจน ควรจำกัดปริมาณในการบริโภคคาเฟอีนของท่าน

เอสโตรเจนเหล่านี้ ได้แก่ คอนจูเกต อิคูอีน เอสโตรเจน (conjugated equine estrogens),

พรีมาริน (Premarin), เอทินิล เอสตร้าไดออล (ethinyl estradiol), เอสตร้าไดออล (estradiol) และอื่นๆ

 

  • ยาที่ชะลอการแข็งตัวของเลือด

คุดซูอาจไปชะลอการแข็งตัวของเลือด การใช้คุดซูพร้อมกับยาที่ชะลอการแข็งตัวของเลือดอาจเพิ่มโอกาสของการฟกช้ำและมีเลือดออก

ยาที่ชะลอการแข็งตัวของเลือดเหล่านี้ ได้แก่ แอสไพริน (Aspirin), โคลพิโดเกรล (Clopidogrel) หรือ พลาวิกซ์ (Plavix), ไดโคลฟีแนค (Diclofenac) หรือ โวลทาเรน (Voltaren) หรือ คาทาเเฟลม (Cataflam) และอื่นๆ, ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) หรือ แอดวิล Advil หรือ มอตริน (Motrin), นาพรอกเซน (naproxen) หรือ อนาพรอก (Anaprox) หรือ นาโปรซิน Naprosyn, ดอลทีพาริน dalteparin (Fragmin) อีนอกซาพาริน (Enoxaparin) หรือ โลวีนอกซ์ (Lovenox) , วาฟาริน (Warfarin) หรือ คูมาดิน (Coumadin) และอื่น ๆ

 

เมโธเทรกเซท (methotrexate)

คุดซูอาจไปชะลอความรวดเร็วในการกำจัดเมโธเทรกเซท  ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงของการใช้ยานี้

 

ทาม็อกซิเฟน (tamoxifen)

ดูเหมือนว่าคุดซูจะส่งผลต่อระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายด้วย ดังนั้นคุดซู อาจไปลดประสิทธิภาพของทาม็อกซิเฟน ห้ามใช้คุดซูถ้าท่านรับประทานยาชนิดนี้

 

ยาสำหรับโรคเบาหวาน

การรับประทานคุดซูพร้อมกับยาโรคเบาหวานอาจทำให้น้ำตาลในเลือดของท่านต่ำเกินไป ขนาดของยาโรคเบาหวานของท่านอาจต้องมีการเปลี่ยนแปลง

ยาที่ใช้สำหรับโรคเบาหวานเหล่านี้ ได้แก่ ไกลเมพิไรด์ (Glimepiride) หรือ อะเมริล (Amaryl), ไกลบิวไรด์ (Glyburide) หรือ ไดอาบีตา (DiaBeta) หรือ กลิเนส เพรสเเทป (Glynase PresTab) หรือ ไมโครเนส (Micronase), อินซูลิน (Insulin), ไพโอกลิตาโซน pioglitazone หรือ แอคโทส Actos, โรซิกลิทาโซน rosiglitazone หรือ อะเเวนเดีย Avandia,คลอร์โพรพาไมด์ chlorpropamide (Diabinese), ไกลพิไซด์ (Glipizide) หรือ กลูโคโทรล (Glucotrol), โทลบูตาไมด์ (Tolbutamide) หรือ ออริเนส (Orinase), และอื่นๆ

 

** แจ้งให้แพทย์ทราบหากท่านมีโรคต่อไปนี้

  • การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
  • โรคหัวใจ และหลอดเลือด
  • โรคเบาหวาน
  • โรคที่อาศัยฮอร์โมนในการเจริญเติบโต เช่น มะเร็งเต้านม, มะเร็งมดลูก, มะเร็งรังไข่,โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือ เนื้องอกในมดลูก
  • โรคตับ

 

ขนาดยา

ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้เสมอ

ขนาดปกติของการใช้คุดซูอยู่ที่เท่าไร?

ชาคุดซู

เติมส่วนดอกที่สดของคุดซูครึ่งช้อนชาลงในน้ำเดือด เเช่ไว้ประมาณ 5 นาที จากนั้นกรองน้ำออกมา

สารสกัดจากคุดซู

ขนาดที่แนะนำคือ 3 กรัมต่อวันสำหรับผู้ใหญ่

รากคุดซู

ขนาดที่แนะนำคือ 2.4 กรัมต่อวัน

ขนาดการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมนี้ อาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ ปริมาณการใช้ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่นๆ  ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์เพื่อทราบปริมาณยาที่เหมาะสม

 

คุดซูมีจำหน่ายในรูปแบบใดบ้าง?

คุดซูอาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้

  • คุดซูชนิดเม็ดหรือแคปซูล
  • ดอกคุดซู (อยู่ในรูปแบบชา)

 

Kudzu. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-750-Kudzu.aspx?activeingredientid=750&activeingredientname=Kudzu. Accessed November 2, 2016.

Kudzu. http://www.herbal-supplement-resource.com/Kudzu-benefits.html. Accessed November 2, 2016.

Kudzu. https://www.drugs.com/npp/Kudzu.html. Accessed November 2, 2016.

24/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว