เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / ยาทูโจ (Toujeo)
โดย : วณิชชา สุมานัส
ทบทวนบทความโดย : ทีมแพทย์เช็คสุขภาพ
ยาทูโจ (Toujeo)

ยาทูโจ (Toujeo® (insulin glargine))

ยาทูโจ (Toujeo) คืออะไร?

การใช้

ยาทูโจ (ยาอินซูลินกลาร์จีน) ใช้ทำอะไร

ยาทูโจ คือยาที่ผลิตมาจากฮอร์โมนที่สร้างขึ้นเองในร่างกายมนุษย์ อินซูลิน คือฮอร์โมนที่จะทำงานด้วยการลดระดับกลูโค (น้ำตาล) ในเลือด อินซูลินกลาร์จีนมีฤทธิ์นานหลายชั่วโมงหลังด้วยปากกาฉีด และอาจมีฤทธิ์ยาวนานถึง 24 ชั่วโมง

ปากกาฉีดยาทูโจ ยี่ห้อโซโล่สตาร์ ใช้เพื่อเพิ่มการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ใหญ่และเด็กที่เป็นโรคเบาหวาน แต่ยาทูโจยี่ห้ออื่นๆ อาจใช้เฉพาะผู้ใหญ่เท่านั้น ควรระมัดระวังในการใช้ยาอินซูลินกลาร์จีนแต่ละยี่ห้อ

  • ยาทูโจ (Toujeo®) ใช้รักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในผู้ใหญ่
  • ยาทูโจ (Toujeo®) ใช้รักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ในผู้ใหญ่แบะเด็กอายุ 6 ปีขึ้นไป

ยาทูโจ (ยาอินซูลินกลาร์จีน) ใช้อย่างไร

  • ระดับน้ำตาลในเลือด อาจมีสาเหตุมาจากความเครียด การเจ็บปวด การผ่าตัด การออกกำลังกาย การดื่มแอลกอฮอล์ และการอดอาหาร ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการเปลี่ยนปริมาณและเวลาการใช้ยาอินซูลิน
  • แพทย์อาจจ่ายชุดฉีดยาฉุกเฉินกลูคากอน เพื่อใช้ในกรณีที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงและไม่สามารถรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มได้ สมาชิกในครอบครัวและเพื่อนควรรู้วิธีการฉีดยาในสภาวะฉุกเฉินได้
  • ควรใช้เข็มที่ใช้แล้วทิ้ง เพียงครั้งเดียวเท่านั้น และควรปฏิบัติตามกฎหมายหรือข้อปฏิบัติของแต่ละประเทศในการทิ้งเข็มฉีดยาที่ใช้ โดยการใช้ภาชนะบรระจุขยะที่ไม่มีรอยรั่วหรือรอยเจาะใดๆ (ปรึกษาเภสัชกรเกี่ยวกับวิธีการทิ้งเข็มที่ใช้แล้ว) ควรเก็บให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
  • ควรใช้ปากกาเข็มโซโล่สตาร์ที่มาพร้อมกับยาทูโจ และเปลี่ยนเข็มใหม่ทุกครั้งของการใช้งาน ห้ามเปลี่ยนหรือสลับปากกาอินซูลินของโซโล่สตาร์ไปยังเข็มอื่นๆ
  • การฉีดยาอินซูลินกลาร์จีน ทูโจ ควรฉีดเพียงวันละ 1 ครั้ง ในเวลาเดียวกัน สามารถใช้ที่บ้านได้ แต่ห้ามใช้หรือฉีดด้วยตัวเองหากไม่เข้าใจหรือทราบถึงวิธีการฉีดที่ถูกต้อง และควรทิ้งเข็มหรือปากกาฉีดที่ใช้แล้วในบริเวณที่เหมาะสม
  • อินซูลินที่สามารถฉีดเข้าภายใต้ผิวหนัง สามารถใช้ที่บ้านได้ แต่ห้ามใช้หรือฉีดด้วยตัวเองหากไม่เข้าใจหรือทราบถึงวิธีการฉีดที่ถูกต้อง และควรทิ้งเข็มหรือปากกาฉีดที่ใช้แล้วในบริเวณที่เหมาะสม
  • ยาอินซูลินกลาร์จีน ทูโจ สามารถใช้ได้ 3 ครั้งเพื่อให้ได้ปริมาณอินซูลินต่อมิลลิลิตร เช่นเดียวกับแลนทัสและบาซากลา  ยาอินซูลินกลาร์จีน ทูโจ มีปริมาณอินซูลิ 300 ยูนิตต่อ 1 มิลลิลิตร ส่วนแลนทัสและบาซากลา มีปริมาณอินซูลิน 100 ยูนิตต่อ 1 มิลลิลิตร
  • ควรใช้ยาทูโจ (ยาอินซูลินกลาร์จีน) ภายใต้คำแนะนำ หรือปฏิบัติตามใบสั่งยาของแพทย์ และห้ามใช้ยาในปริมาณที่มากกว่าหรือระยะเวลานานกว่าที่แพทย์แนะนำ
  • อ่านข้อมูล คำแนะนำการใช้ยา และวิธีการใช้ยาจากใบสั่งยาที่ได้รับ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
  • หากมีการเปลี่ยนแปลงยี่ห้อ ความแรงในการใช้ หรือชนิดของอินซูลิน ปริมาณในการใช้อาจเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม
  • ไม่ควรใช้ยาอินซูลินกลาร์จีน ทูโจ กับเครื่องปั๊มอินซูลินหรือผสมกับอินซูลินชนิดอื่นๆ ห้ามฉีดอินซูลินกลาร์จีนเข้าทางหลอดเลือดหรือกล้ามเนื้อเด็ดขาด
  • บุคลากรทางการแพทย์อาจแนะนำบริเวณฉีดยาของร่างกายของคุณ ซึ่งอาจแตกต่างกันในแต่ละครั้ง และห้ามฉีดบริเวณเดียวกันซ้ำมากกว่า 2 ครั้งติดต่อกัน
  • ไม่ควรใช้ปากกาเข็มร่วมกับผู้อื่น แม้จะมีการเปลี่ยนเข็มฉีดยาแล้วก็ตาม การใช้ร่วมกับผู้อื่นอาจทำให้เกิดการติดเชื้อหรือโรคที่สามารถติดต่อผ่านจากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลหนึ่งได้
  • ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ อาจเกิดขึ้นกับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน จะมีอาการ เช่น ปวดศีรษะ หิว เหงื่อออกมาก หงุดหงิด คลื่นไส้ อัตราการเต้นของหัวใจเต้นเร็ว มีอาการวิตกกังวลและสั่น หากต้องการรักษาระดับน้ำตาลในเลือด ควรรับประทาน น้ำผลไม้ ลูกอม แครกเกอร์ ลูกเกดหรือเครื่องดื่มปกติ
  • สัญญาณของภาวะน้ำตาลในเลือดสูง อื่นๆ เช่น กระหายน้ำ ปัสสาวะบ่อย ตาพร่ามัว ปวดศีรษะ และอ่อนเพลีย
  • ยาทูโจ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการรักษาเท่านั้น นอกจากนี้ผู้ป่วยยังต้อง ควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนัก ตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือด เข้ารับการดูแลทางการแพทย์เป็นพิเศษและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างใกล้ชิด

ยาทูโจ (ยาอินซูลินกลาร์จีน) ควรเก็บรักษาอย่างไร

ควรเก็บยาทูโจ (ยาอินซูลินกลาร์จีน) เก็บไว้ในอุณหภูมิห้อง ห่างจากแสงแดดและความชื้น เก็บให้ห่างจากเครื่องทำความเย็น เช่น ตู่เย็น ควรทิ้งยาอินซูลินที่เย็นเกินไป

การเก็บรักษาในขณะไม่ได้เปิดใช้งาน:

  • แช่เย็นและใช้ได้จนถึงวันที่หมดอายุ

การเก็บรักษษเมื่อเปิดใช้แล้ว:

  • เก็บปากกาฉีดในอุณหภูมิห้อง (ห้ามแช่เย็น) และใช้ให้หมดภายใน 42 วัน
  • ห้ามเก็บปากกาฉีดพร้อมกับเข็มที่แนบมาด้วย

ห้ามใช้ยาหากมีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เช่น มีไอน้ำ หรือสียาเปลี่ยนแปลง และควรติดต่อเภสัชกรเพื่อรับยาใหม่

ข้อควรระวังและคำเตือน

สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้ยาทูโจ (ยาอินซูลินกลาร์จีน)

ก่อนเริ่มใช้ยา ควรแจ้งแพทย์หากมีอาการต่อไปนี้Before:

  • กำลังตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • อยู่ในระหว่างการใช้ยาชนิดอื่นๆ หรือใช้ยาโดยที่ไม่ต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์ เช่น สมุนไพร หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มีอาการแพ้ส่วนประกอบของยาทูหรือยาอื่นๆ
  • มีอาการป่วย เป็นโรคอื่นๆ หรือมีอาการทางการแพทย์

ไม่ควรใช่ยาทูโจหากมีอาการแพ้อินซูลิน หรือมีอาการเกี่ยวกับภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

ยาทูโจไม่ควรใช้ในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 ปี และในเด็กที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในทุกช่วงอายุ

เพื่อให้มั่นใจว่ายาทูโจจะปลอดภัยสำหรับการรับประทาน ควรแจ้งแพทย์หากมีอาการต่อไปนี้:

  • โรคตับและโรคไต
  • ระดับโพแทสเซียมในร่างกายต่ำ
  • ภาวะคิโตซีส (แจ้งแพทย์เพื่อรับการรักษา)

ยาทูโจ (ยาอินซูลินกลาร์จีน) ปลอดภัยสำหรับการใช้ในหญิงตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตรหรือไม่

ยังมีข้อมูลความปลอดภัยของยาทูโจ (ยาอินซูลินกลาร์จีน) สำหรับการใช้ในผู้มีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตรไม่มากพอ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินถึงประโยชน์และความเสี่ยงของการใช้ยาทูโจ (ยาอินซูลินกลาร์จีน)

ยาที่อาจเพิ่มความเสี่ยง ได้แก่ ยาที่พบว่ามีผลเสียต่อตัวอ่อนสัตว์ทดลอง แต่ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอในมนุษย์ (Category C) ของสํานักงานอาหารและยาสหรัฐอเมริกา

กฎหมายความปลอดภัยด้านอาหาร:

  • A= ยาที่ไม่พบว่ามีความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
  • B= ยาที่ไม่พบความเสี่ยงต่อตัวอ่อนจากการศึกษาในสัตว์ทดลอง แต่ยังไม่มีการศึกษาแบบควบคุมในมนุษย์
  • C= ยาที่พบว่ามีผลเสียต่อตัวอ่อนสัตว์ทดลอง แต่ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอในมนุษย์
  • D= ยาที่มีหลักฐานว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดความพิการในครรภ์
  • X= ยาที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดความพิการในทารก
  • N= ยาที่ยังไม่ข้อมูล

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยาทูโจ (ยาอินซูลินกลาร์จีน)

ติดต่อขอความช่วยเหลือทางการแพทย์หากมีอาการแพ้ยาทูโจ เช่น มีอาการบวมแดงบริเวณที่ฉีดยา ผื่นคันทั่วร่างกาย หายใจติดขัด หัวใจเต้นเร็ว หรือมีอาการบวมที่ลิ้นและคอ

ติดต่อแพทย์ทันทีหากมีอาการต่อไปนี้:

  • ภาวะคั่งน้ำ – น้ำหนักเพิ่มขึ้น มือและเท้าบวม หายใจหอบถี่
  • ระดับโพแทสเซียมต่ำ ปวดขา หัวใจเต้นผิดปกติ หน้าอกสั่น กระหายหรือปัสสาวะเพิ่มมากขึ้น มึนงง และกล้ามเนื้ออ่อนแรง -

ผลข้างเคียงที่มักพบได้ทั่วไป เช่น:

  • ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง
  • อาการผื่นคันเล็กน้อย
  • ผิวหนังบริเวณที่ฉีดยามีความหนาหรือกลวง

จากอาการผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีผลข้างเคียง หากมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียงของยา ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกร

ปฏิกิริยาระหว่างกันของยา

  • อาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอร์ที่อาจมีปฏิกิริยาเมื่อใช้ยาอื่นควบคู่กับยาทูโจ (ยาอินซูลินกลาร์จีน)
    • ยาทูโจ (ยาอินซูลินกลาร์จีน) อาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอกอฮอร์ เช่น การรบกวยการทำงานของยาหรือเพิ่มความเสี่ยงของผลข้างเคียง ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อหารือเกี่ยวกับปฏิกิริยาที่อาจเกิดขึ้นเมื่อรับประทานยาทูโจ (ยาอินซูลินกลาร์จีน) ร่วมกับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บางชนิด
  • ปฏิกิริยาที่จะได้รับเมื่อใช้ยาอื่นควบคู่กับยาทูโจ (ยาอินซูลินกลาร์จีน)
    • ยาทูโจ (ยาอินซูลินกลาร์จีน) อาจมีปฏิกิริยากับยาที่ใช้อยู่ควบคู่กัน เช่น รบกวนการทำงานของยาหรือเพิ่มความเสี่ยงของผลข้างเคียง เพื่อหลีกเลี่ยงปฏิกิริยาใดๆ ที่อาจเกิดขึ้น ควรหยุดใช้ยาที่แพทย์สั่ง ยาที่ไม่ระบุชื่อ หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสมุนไพร โดยไม่ได้รับการอนุมัติจากแพทย์
  • อาการทางสุขภาพที่อาจมีปฏิกิริยาปฏิกิริยาเมื่อใช้ยาทูโจ (ยาอินซูลินกลาร์จีน)
    • ยาทูโจ (ยาอินซูลินกลาร์จีน) อาจมีปฏิกิริยากับอาการทางสุขภาพ เช่น อาจทำให้อาการแย่ลงหรือรบกวนการทำงานของยาที่ใช้ในการรักษาอาการนั้นๆ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อทราบถึงอาการทางสุขภาพปัจจุบัน

ขนาดยา

ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาทูโจ (ยาอินซูลินกลาร์จีน) เสมอ

ขนาดยาทูโจ (ยาอินซูลินกลาร์จีน) ที่ใช้ในผู้ใหญ่

การเริ่มใช้ในผู้ป่วยที่ไม่เคยได้รับอินซูลินมาก่อน

โรคเบาหวานชนิดที่ 1:

ขนาดยาเริ่มต้นที่แนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ที่ไม่เคยไม่รับอินซูลินมาก่อน คือ ขนาดอินซูลิน 1 ใน 3 หรือครึ่งหนึ่ง ของขนาดอินซูลินที่เหมาะสมในแต่ละวัน ส่วนอินซูลินที่เหลือ ควรได้รับเป็นอินซูลินที่มีฤทธิ์สั้น และแบ่งเป็นระหว่างมื้ออาการ ตามปกติแล้วขนาดอินซูลินที่ได้รับควรเป็น 0.2 – 0.4 ต่อน้ำหนักกิโลกรัม สำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ที่ไม่เคยได้รับอินซูลินมาก่อน

ระดับกลูโคสต่ำที่ส่งผลต่อการใช้ยาทูโจ ควรได้รับอินซูลินติดต่อกันเป็นเวลา 5 วันเพื่อให้มีประสิทธิภาพ และการได้รับอินซูลินครั้งแรก อาจไม่เพียงพอต่อการเผาผลาญภายใน 24 ชั่วโมง เพื่อลดความเสี่ยงของการได้รับอินซูลิน ควรตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดทุกวัน  และตรวจสอบความเข้มข้นของยาทูโจตามการใช้งานให้ได้มาตรฐานการดูแล

โรคเบาหวานชนิดที่ 2:

ขนาดยาเริ่มต้นที่แนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่เคยไม่รับอินซูลินมาก่อน คือ 0.2 ยูนิต ต่อน้ำหนักกิโลกรัม วันละ 1 ครั้ง การใช้ยาลดความอ้วนชนิดอื่นๆ อาจต้องได้รับการปรับเปลี่ยนหากต้องเริ่มใช้ยาทูโจ เพื่อลดความเสี่ยงต่อภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

การเริ่มใช้ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และ 2 และใช้อินซูลินในการรักษา

  • เพื่อลดความเสี่ยงของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำของผู้ที่เปลี่ยนการใช้อินซูลินที่มีฤทธิ์ระยะยาวมาเป็นระยะปานกลาง อาจใช้ยาทูโจในปริมาณเท่าเดิม วันละ 1 ครั้ง สำหรับผู้ป่วยที่ใช้ยาแลนทัส (อินซูลินกลาร์จีน 100 ยูนิตต่อมิลลิลิตร) ควรเพิ่มปริมาณของยาทูโจให้เท่ากับระดับเดิมที่เคยใช้
  • เพื่อลดความเสี่ยงของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำของผู้ป่วยที่เปลี่ยนการใช้อินซูลินจาก NPH 2 ครั้งต่อวัน มาเป็น การใช้ยาทูโจ 1 ครั้งต่อวัน ขนาดยาทูโจที่แนะนำคือ 80% ที่ใช้ NPH ต่อวัน
  • เพื่อลดความเสี่ยงของภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเมื่อผู้ป่วยเปลี่ยนมาใช้ยาทูโจ ควรตรวจสอบระดับกลูโคสในเลือดเป็นประจำในช่วงสัปดาห์แรกของการรักษาด้วยยาทูโจ

ขนาดยาทูโจ (ยาอินซูลินกลาร์จีน) ที่ใช้ในเด็ก

ยังไม่มีกำหนดขนาดยาที่ใช้ในเด็ก จึงอาจเป็นอันตรายสำหรับบุตรหลานของคุณ และควรมั่นใจในความปลอดภัยก่อนการใช้ยา หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ยาทูโจ (ยาอินซูลินกลาร์จีน) มีจำหน่ายในรูปแบบใดบ้าง

ยาทูโจ (ยาอินซูลินกลาร์จีน) อาจมีจำหน่ายตามขนาดและความแรงของยาต่อไปนี้:

  • ยาแบบฉีด อินซูลินกลาร์จีน 300 ยูนิต ต่อ 1 มิลลิลิตร

เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินหรือรับประทานยาเกินขนาดควรปฏิบัติอย่างไร

เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินหรือรับประทานยาเกินขนาด ควรรีบโทรศัพท์หาหน่วยแพทย์ฉุกเฉินหรือรีบไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันที

หากลืมรับประทานยาควรปฏิบัติอย่างไร

หากลืมรับประทานยาทูโจ (ยาอินซูลินกลาร์จีน) หากเป็นไปได้ควรรับประทานยาทันที อย่างไรก็ตามหากใกล้ถึงเวลารับประทานยาครั้งต่อไป ให้รับประทานยาตามเวลาเช่นเดิม ไม่ต้องทานซ้ำ

Drugs. (2020). Toujeo®. Accessed 14 April 2020.

RXList. (2020). Toujeo®. Accessed 14 April 2020.

23/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว