เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / โทซาร์ (ยาโลซาร์แทน โพแทสเซียม)
โดย :
ทบทวนบทความโดย :
โทซาร์ (ยาโลซาร์แทน โพแทสเซียม)

TOZAAR® (IOSARTAN POTASSIUM)
Title: Tozaar® (iosartan potassium)
Headliner: What is Tozaar® (iosartan potassium)?
Tags: hypertension, high blood pressure

การใช้
โทซาร์ (ยาโลซาร์แทน โพแทสเซียม) ใช้ทำอะไร
โทซาร์ (Tozaar®) ใช้ในการ รักษา ควบคุม ป้องกัน และฟื้นฟูอาการต่อไปนี้:
• ความดันโลหิตสูง
• โรคตับในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
• โรคตับในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่
• ภาวะหัวใจวาย
• โรคหลอดเลือดสมองเหตุโรคหัวใจ
• โรคหลอดเลือดสมองเหตุความดันโลหิตสูง

โทซาร์ (ยาโลซาร์แทน โพแทสเซียม) ควรรับประทานอย่างไร
โทซาร์ (Tozaar®) สามารถรับประทานพร้อมอาหารได้ ใช้เวลาประมาณ 1 เดือนจึงจะสามารถควบคุมความดันโลหิตได้ อย่าหยุดใช้ยาจนกว่าจะได้รับการแนะนจากแพทย์

โทซาร์ (ยาโลซาร์แทน โพแทสเซียม) ควรเก็บรักษาอย่างไร
โทซาร์ (Tozaar®) ควรเก็บไว้ในอุณหภูมิห้อง ห่างจากแสงแดดและความชื้น ไม่ควรเก็บยาโทซาร์ (Tozaar®)ไว้ภายในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็งเพราะอาจทำให้ตัวยาเสียหาย โทซาร์ (Tozaar®) อาจมีหลายยี่ห้อและวิธีการเก็บรักษาที่แตกต่างกัน ควรตรวจสอบหรือสอบถามจากเภสัชกรเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ของยาแต่ละยี่ห้ออยู่เสมอ เพื่อความปลอดภัย ควรเก็บยาทุกชนิดให้ห่างจากเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรเทยาโทซาร์ (Tozaar®) ภายในห้องน้ำ ชักโครกหรือท่อระบายน้ำ และควรทิ้งยาที่หมดอายุแล้วทันที หากต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการกำจัดยาหมดอายุเพิ่มเติม ควรปรึกษาเภสัชกร


ข้อควรระวังและคำเตือน
สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้ยาโทซาร์ (Tozaar®)
หากอยู่ในระหว่างกายใช้ยา ควรแจ้งแพทย์หากมีอาการต่อไปนี้:
• หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงยาอย่างกระทันหัน
• ควรหยุดใช้ยามากกว่า 7-14 วัน พร้อมกับติดตามผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด
• หลีกเลี่ยงการขับขี่หรือใช้เครื่องจักรหนัก
• หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
• ห้ามรับประทานยาเป็นสองเท่า หากลืมรับประทานครั้งก่อนหน้า
• หากมีอาการแพ้ ไม่ควรใช้ยาโทซาร์ (Tozaar®)

ยาโทซาร์ (Tozaar®) ปลอดภัยสำหรับการใช้ในหญิงตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตรหรือไม่
ยังมีข้อมูลความปลอดภัยของยาโทซาร์ (Tozaar®) สำหรับการใช้ในผู้มีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตรไม่มากพอ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินถึงประโยชน์และความเสี่ยงของการใช้ยาโทซาร์ (Tozaar®)
ยาที่อาจเพิ่มความเสี่ยง ได้แก่ ยาที่มีหลักฐานว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดความพิการในครรภ์ (Category D) ของสํานักงานอาหารและยาสหรัฐอเมริกา

กฎหมายความปลอดภัยด้านอาหาร:
• A= ยาที่ไม่พบว่ามีความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
• B= ยาที่ไม่พบความเสี่ยงต่อตัวอ่อนจากการศึกษาในสัตว์ทดลอง แต่ยังไม่มีการศึกษาแบบควบคุมในมนุษย์
• C= ยาที่พบว่ามีผลเสียต่อตัวอ่อนสัตว์ทดลอง แต่ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอในมนุษย์
• D= ยาที่มีหลักฐานว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดความพิการในครรภ์
• X= ยาที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดความพิการในทารก
• N= ยาที่ยังไม่ข้อมูล

ผลข้างเคียง
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยาโทซาร์ (Tozaar®)
อาการต่อไปนี้ คือผลข้างเคียงจากการใช้ยาโทซาร์ (Tozaar®) โดยทั่วไปพบได้น้อยมากแต่เมื่อแสดงอาการแล้ว อาจมีความรุนแรงเป็นอย่างมาก ควรรีบปรึกษาแพทย์หากสังเกตเห็นผลข้างเคียงใดๆ ดังต่อไปนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออาการไม่หายไปโดยเร็ว:
• มือและเท้าเย็น
• อัตราการเต้นของหัวใจช้าลง
• รบกวนการนอนหลับ
• ภาวะภูมิแพ้
• สูญเสียการเคลื่อนไหว
• เจ็บปวดกล้ามเนื้อ
• เวียนศีรษะ
• เหนื่อยล้า
• อาการไอ
• ระคายเคืองในลำคอ

ปฏิกิริยาระหว่างกันของยา
ปฏิกิริยาที่จะได้รับเมื่อใช้ยาอื่นควบคู่กับยาโทซาร์ (Tozaar®)
ยาโทซาร์ (Tozaar®) อาจมีปฏิกิริยากับยาที่ใช้อยู่ควบคู่กัน เช่น รบกวนการทำงานของยาหรือเพิ่มความเสี่ยงของผลข้างเคียง เพื่อหลีกเลี่ยงปฏิกิริยาใดๆ ที่อาจเกิดขึ้น ควรหยุดใช้ยาที่แพทย์สั่ง ยาที่ไม่ระบุชื่อ หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสมุนไพร โดยไม่ได้รับการอนุมัติจากแพทย์
ผลิตภัณฑ์ที่อาจเกิดปฏิกิริยากับยาโทซาร์ (Tozaar®) เช่น:
• แอมเทอร์ไนด์ (Amturnide)
• เทกเทอร์นา (Tekturna)
• เทกแคมโล (Tekamlo)
• วาลเทิร์น (Valturn)

อาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอร์ที่อาจมีปฏิกิริยาเมื่อใช้ยาอื่นควบคู่กับยาโทซาร์ (Tozaar®)
ยาโทซาร์ (Tozaar®) อาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอกอฮอร์ เช่น การรบกวยการทำงานของยาหรือเพิ่มความเสี่ยงของผลข้างเคียง ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อหารือเกี่ยวกับปฏิกิริยาที่อาจเกิดขึ้นเมื่อรับประทานยาโทซาร์ (Tozaar®) ร่วมกับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บางชนิด

อาการทางสุขภาพที่อาจมีปฏิกิริยาปฏิกิริยาเมื่อใช้ยาโทซาร์ (Tozaar®)
ยาโทซาร์ (Tozaar®) อาจมีปฏิกิริยากับอาการทางสุขภาพ เช่น อาจทำให้อาการแย่ลงหรือรบกวนการทำงานของยาที่ใช้ในการรักษาอาการนั้นๆ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อทราบถึงอาการทางสุขภาพปัจจุบัน เช่น:
• โรคไต
• โรคตับ
• ภาวะหัวใจวาย
• ความสมดุลของเกลือแร่ ( เช่น ระดับโพแทสเซียมในเลือดต่ำ)
• ภาวะขาดน้ำ

ขนาดยา
ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาโทซาร์ (ยาโลซาร์แทน โพแทสเซียม) เสมอ

ขนาดยาโทซาร์ (ยาโลซาร์แทน โพแทสเซียม) ที่ใช้ในผู้ใหญ่
โรคไตเหตุจากโรคเบาหวาน:
ขนาดยาเริ่มแรกที่ใช้ คือ 50 มิลลิกรัม รับประทานวันละ 1 ครั้ง
ขนาดยาที่ใช้ในการบำรุง รักษา คือ 25-100 มิลลิกรัม แบ่งรับประทาน 1-2 ครั้งต่อวัน
ความดันโลหิตสูง:
ขนาดยาเริ่มแรกที่ใช้ คือ 50 มิลลิกรัม รับประทานวันละ 1 ครั้ง
ขนาดยาที่ใช้ในการบำรุง รักษา คือ 25-100 มิลลิกรัม แบ่งรับประทาน 1-2 ครั้งต่อวัน

ขนาดยาโทซาร์ (ยาโลซาร์แทน โพแทสเซียม) ที่ใช้ในเด็ก
ยังไม่มีกำหนดขนาดยาที่ใช้ในเด็ก จึงอาจเป็นอันตรายสำหรับบุตรหลานของคุณ และควรมั่นใจในความปลอดภัยก่อนการใช้ยา หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ยาโทซาร์ (ยาโลซาร์แทน โพแทสเซียม) มีจำหน่ายในรูปแบบใดบ้าง
ยาโทซาร์ (Tozaar®) อาจมีจำหน่ายตามรูปแบบหรือความแรงของยาต่อไปนี้:
• ยาโทซาร์ (Tozaar®) รูปแบบเม็ด 50 มิลลิกรัม

เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินหรือรับประทานยาเกินขนาดควรปฏิบัติอย่างไร
เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินหรือรับประทานยาเกินขนาด ควรรีบโทรศัพท์หาหน่วยแพทย์ฉุกเฉินหรือรีบไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันที


หากลืมรับประทานยาควรปฏิบัติอย่างไร
หากลืมรับประทานยาโทซาร์ (Tozaar®) หากเป็นไปได้ควรรับประทานยาทันที อย่างไรก็ตามหากใกล้ถึงเวลารับประทานยาครั้งต่อไป ให้รับประทานยาตามเวลาเช่นเดิม ไม่ต้องทานซ้ำ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ วินิจฉัย หรือการรักษาแต่อย่างใด

Sources
Tozaar® AT Tablet.http://www.tabletwise.com/Tozaar-at-tablet.Accessed November 16, 2016
Tozaar® 50 mg tablet: Uses, Side effects, Dosage.http://www.healthplus24.com/drugs/losartan/Tozaar-50-mg-tablet.aspx.Accessed November 16, 2016
Tozaar®.http://www.mims.com/india/drug/info/Tozaar/Tozaar%20tab.Accessed November 16, 2016
Losartan.https://www.drugs.com/losartan.html.Accessed November 16, 2016.

23/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว