เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / ไพเจียม (Pygeum)
โดย :
ทบทวนบทความโดย :
ไพเจียม (Pygeum)

การใช้

ไพเจียม ใช้ทำอะไร?

ไพเจียม เป็นพืชชนิดหนึ่ง คนนิยมนำเปลือกมาใช้เป็นยาสำหรับรักษาโรคหรืออาการต่อไปนี้:

  • โรคต่อมลูกหมากโต (benign prostatic hyperplasia, BPH)
  • มะเร็งต่อมลูกหมาก
  • แผลอักเสบ
  • โรคไต
  • ปัสสาวะปัญหา
  • ไข้มาลาเรีย
  • ปวดท้อง
  • เป็นไข้
  • ความต้องการทางเพศ
  • ต่อมลูกหมากอักเสบ
  • อาการทางจิต

จำเป็นต้องมีหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อประเมินประสิทธิภาพของไพเจียมสำหรับการใช้งานเหล่านี้

ไพเจียมอาจมีสรรพคุณนอกเหนือจากนี้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จากแพทย์หรือเภสัชกร

 

ไพเจียม ทำงานอย่างไร?

ยังมีการศึกษาไม่เพียงพอเกี่ยวกับการทำงานของผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหาร กรุณาปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าไพเจียมมีสารเคมีบางชนิดอยู่ เช่น

  • ไตรเทอร์พีน (14%): กรดโอลีนโนลิก (oleanolic acid), กรดคราเทโกลิค (crataegolic acid) และกรดอัวโซลิค (ursolic acid)
  • กรดเฟอรูลิก (Ferulic acid)
  • ไฟโตสเตอรอล (Phytosterols): เบต้า-ซิโตสเตอรอล (beta-sitosterol), เบต้า-ซิโตสเตอโรน (beta-sitosterone) และ แคมเปสตอรอล (campesterol)
  • แทนนิน (Tannins)

สารเคมีเหล่านี้ช่วยลดอาการของโรคต่อมลูกหมาก, ลดปัญหาทางเดินปัสสาวะ เช่น การไหลเวียนของปัสสาวะไม่ดีและการถ่ายปัสสาวะในเวลากลางคืนในผู้ชายที่เป็นโรคต่อมลูกหมากโต

 

ข้อควรระวังและคำเตือน

ควรรู้อะไรก่อนที่จะใช้ไพเจียม?

ควรปรึกษากับแพทย์, เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรถ้ามีอาการหรือลักษณะดังต่อไปนี้:

  • กำลังตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในระหว่างการมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตรจึงควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • อยู่ในระหว่างการใช้ยาชนิดอื่น รวมไปถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยา
  • มีอาการแพ้สารใดๆที่มีสารประกอบของไพเจียมผสมยู่ หรือยาและสมุนไพรอื่นๆ
  • มีอาการเจ็บป่วย ความผิดปกติ หรือพยาธิสภาพอื่นๆ
  • มีอาการแพ้ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์

ข้อบังคับสำหรับผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหารนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับของการใช้ยา จึงจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัยในการใช้ ประโยชน์ของการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหาร จะต้องมีค่าน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

 

ไพเจียมปลอดภัยแค่ไหน?

เด็ก:

ห้ามใช้ไพเจียมกับเด็ก

หญิงมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร:

ยังมีข้อมูลที่เชื่อถือได้ไม่เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยในการบริโภคไพเจียมระหว่างให้นมบุตร ควรอยู่ในด้านความปลอดภัยและหลีกเลี่ยงการใช้

 

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงจากไพเจียมมีอะไรบ้าง?

โดยทั่วไปแล้วไพเจียมปลอดภัยกับคนส่วนใหญ่เมื่อใช้ในขนาดที่เหมาะสม

อย่างไรก็ตาม ไพเจียมอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้, ปวดท้อง, ท้องอืด, ท้องเสีย, ท้องผูกคลื่นไส้, วิงเวียนศีรษะหรือความผิดปกติเกี่ยวกับการมองเห็น

ผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้นไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน อย่างไรก็ตาม อาจเกิดผลข้างเคียงอื่นนอกเหนือจากที่ระบุไว้ โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์หากกังวลเรื่องผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้น

 

ปฏิกิริยาระหว่างยา

ปฏิกิริยาที่อาจเกิดขึ้นเมื่อใช้ยาอื่นร่วมกับไพเจียม

**ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหารชนิดนี้อาจมีปฏิกิริยากับยาหรือภาวะทางการแพทย์ในปัจจุบันของท่านควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้

ผลิตภัณฑ์ยาที่อาจมีปฏิกิริยาต่อไพเจียมเหล่านี้ ได้แก่

  • สารสกัดไพเจียม สามารถแทรกแซงยาฮอร์โมนรวมถึง เอสโตรเจน (estrogen) และเอสโทสเทอโรน (testosterone) ดังนั้นจึงไม่ควรใช้ร่วมกับยาคุมกำเนิด อาจทำให้เกิดความล้มเหลวในการคุมกำเนิด
  • ไพเจียมอาจไปยับยั้งเอนไซม์ไซโตโครม ซีวายพี3เอ4 (CYP3A4) และ ซีวายพี2ซี9 (CYP2C9) อย่างมาก จึงอาจกระทบต่อประสิทธิผลของยาและอาหารเสริมบางชนิด

 

ขนาดยา

ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้เสมอ

ขนาดปกติของการใช้ไพเจียมอยู่ที่เท่าไร?

  • โรคต่อมลูกหมากโต (BPH)

ขนาดที่แนะนำคือ 75 มิลลิกรัม สารสกัดลิโพฟิลิกมาตรฐาน (14% ไตรเทอร์พีน, 0.5% โดโคซานอล) ของไพเจียมต่อวัน

ขนาดที่พบบ่อยของเปลือกไม้ชนิดผง:

ขนาดที่แนะนำคือ 50 ถึง 200 มิลลิกรัม

ขนาดการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหารอาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ ขนาดการใช้ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่นๆ  ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหารไม่ปลอดภัยเสมอไป โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์เพื่อทราบขนาดที่เหมาะสม

 

ไพเจียมมีจำหน่ายในรูปแบบใดบ้าง?

ไพเจียมอาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้

  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารซอฟท์เจล
  • สารสกัดจากของเหลว

 

Pygeum. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-388-Pygeum.aspx?activeingredientid=388&activeingredientname=Pygeum. Accessed December 6, 2016.

Pygeum. http://www.herbal-supplement-resource.com/Pygeum-africanum-bark.html. Accessed December 6, 2016

24/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว