เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / เห็ดหลินจือ (Reishi Mushroom)
โดย :
ทบทวนบทความโดย :
เห็ดหลินจือ (Reishi Mushroom)

การใช้ประโยชน์

เห็ดหลินจือใช้ทำอะไร

เห็ดหลินจือคือเห็ดราชนิดหนึ่งที่มักเรียกกันว่า แข็ง และ เหมือนไม้ อีกทั้งมีรสขม ส่วนผล (เหนือดิน) และไมซีเลียม (เส้นใยที่เชื่อมต่อในกลุ่มเห็ด) สามารถใช้เป็นยาได้

เห็ดหลินจือมักใช้เพื่อ :

  • กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน
  • การติดเชื้อเช่น ไข้หวัด (ไข้หวัดใหญ่) ไข้หวัดหมูและไข้หวัดนก
  • โรคเกี่ยวกับปอด เช่นหอบหืดและหลอดลมอักเสบ
  • โรคหัวใจและภาวะเสี่ยงต่างๆ เช่นความดันโลหิตศุงและคอเรสเทอรอลสูง
  • โรคไต
  • โรคมะเร็ง
  • โรคตับ

นอกจากนี้ยังใช้เพื่อบรรเทาโรค HIV และ AIDS โรคที่ต้องระวังจากการขึ้นพื้นที่สูง โรคล้าเรื้อรัง (CFS) ปัญหาการนอน (โรคนอนไม่หลับ) แผลในท้อง พิษและอาการปวดจากเริม นอกจากนี้ยังสามารถลดความเครียดและป้องกันความเหนื่อยล้าได้อีกด้วย

หากใช้ร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ เห็ดหลินจือสามารถบรรเทามะเร็งต่อมลูกหมากได้

 

การทำงานของเห็ดหลินจือเป็นอย่างไร

มีการศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของเห็ดหลินจือที่ไม่เพียงพอนัก จึงจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลและนักสมุนไพรศาสตร์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม แต่อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันว่าเห็ดหลินจือมีสารที่มีคุณประโยชน์หลากหลายเช่นการต้านเนื้องอก (มะเร็ง) และประโยชน์ในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน

 

 

ข้อควรระวังและคำเตือน
เราควรรู้อะไรบ้างก่อนใช้เห็ดหลินจือ

ปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษาหรือเภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร ในกรณีที่ :

  • ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ควรจะได้รับยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
  • ใช้ยาชนิดอื่นอยู่ รวมถึงยาทุกชนิดที่ซื้อรับประทานเองโดยไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์
  • แพ้สารจากเห็ดหลินจือหรือแพ้ยาชนิดอื่น หรือแพ้สมุนไพรชนิดอื่น
  • มีอาการป่วย มีอาการผิดปกติ หรือมีพยาธิสภาพอื่นๆ
  • มีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์

ข้อปฏิบัติในการใช้สมุนไพรนั้นมีความเข้มงวดที่น้อยกว่าการใช้ยารักษาโรค จำเป็นต้องมีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อรับรองความปลอดภัย ซึ่งการจะใช้ประโยชน์ของสมุนไพรนั้นต้องศึกษาความเสี่ยงก่อนใช้และควรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับแพทย์ผู้ดูแลหรือนักสมุนไพรศาสตร์ก่อน

 

เห็ดหลินจือนั้นมีความปลอดภัยแค่ไหน

เห็ดหลินจือปลอดภัยหากรับประทานติดต่อกันมากกว่าหนึ่งปี

แต่ไม่ปลอดภัยหากรับประทานในรูปแบบผงมากกว่าหนึ่งเดือน เพราะอาจมีเป็นพิษต่อตับได้

 

ข้อควรระวังและคำเตือนพิเศษ

สำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร: ยังไม่มีข้อมูลที่เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยของการใช้สมุนไพรนี้ระหว่างการตั้งครรภ์และช่วงให้นมบุตร ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงการใช้

เลือดออกผิดปกติ : การใช้เห็ดหลินจือในขนาดที่มากอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเลือดออกของผู้ที่มีอาการเลือดออกอย่างผิดปกติ

ความดันโลหิตต่ำ : เห็ดหลินจืออาจลดความดันโลหิตซึ่งทำให้อาการความดันโลหิตต่ำนั้นแย่ลงหรือต้านการรักษา จึงควรหลีกเลี่ยงหากเป็นโรคความดันโลหิตต่ำ

การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ เรียกว่า thrombocytopenia : การใช้เห็ดหลินจือในปริมาณมากอาจเพิ่มความเสี่ยงของอาหารเลือดออกในผู้ที่เป็น thrombocytopenia จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้

การศัลยกรรม : การใช้เห็ดหลินจือในขนาดที่มากอาจเพิ่มความเสี่ยงของการศัลยกรรม จึงควรหยุดใช้อย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนการศัลยกรรม

 

 

ผลข้างเคียง
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้เห็ดหลินจือมีอะไรบ้าง

เห็ดหลินจืออาจมีผลข้างเคียงเช่นผากแห้ง คอแห้งและอาการคันบริเวณจมูก ปวดท้อง เลือดกำเดาไหล รวมถึงอุจจาระเป็นเลือด การดื่มไวน์เห็ดหลินจืออาจทำให้เกิดผื่นคัน การสูดดมสปอร์ของเห็ดหลินจืออาจก่ออาการแพ้

ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีผลข้างเคียงดังกล่าว บางครั้งอาจเกิดผลข้างเคียงอื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าวถึงซึ่งหากพบอาการข้างเคียงใดๆ ควรปรึกษาแพทย์หรือนักสมุนไพรศาสตร์

 

ปฏิกิริยาระหว่างยา
ยาที่อาจเกิดปฏิกิริยากับเห็ดหลินจือมีอะไรบ้าง

การใช้ยาดังกล่าวนี้อาจเกิดปฏิกริยากับยาหรือการรักษาอื่นๆ ที่ใช้อยู่เป็นประจำได้ ควรปรึกษาแพทย์หรือนักสมุนไพรศาสตร์ก่อนใช้

ผลิตภัณท์ที่อาจเกิดปฏิกริยาต่อเห็ดหลินจือ :

  • ยาลดความดันโลหิต

เห็ดหลินจืออาจลดความดันโลหิตได้ซึ่งการรับประทานเห็ดหลินจือร่วมกับยาลดความดันโลหิตอาจทำให้ความดันโลหิตต่ำเกินไป การรักษาความดันโลหิต เช่น captopril (Capoten), enalapril (Vasotec), losartan (Cozaar), valsartan (Diovan), diltiazem (Cardizem), Amlodipine (Norvasc), hydrochlorothiazide (HydroDIURIL), furosemide (Lasix) และอื่นๆ

  • สารป้องกันเลือดแข็งตัวหรือยาต้านเกล็ดเลือด

การรับเห็ดหลินจือในขนาดที่มากอาจชะลอการแข็งตัวของเลือด การใช้ยาต้านเกล็ดเลือดหรือสารป้องกันเลือดแข็งตัวพร้อมเห็ดหลินจืออาจทำให้เพิ่มโอกาสของการช้ำและเลือดออก สารชะลอการแข็งตัวของเลือดเช่น aspirin, clopidogrel (Plavix), diclofenac (Voltaren, Cataflam, others), ibuprofen (Advil, Motrin, others), naproxen (Anaprox, Naprosyn, others), dalteparin (Fragmin), enoxaparin (Lovenox), heparin, warfarin (Coumadin) และอื่นๆ

 

 

ขนาดการใช้

ข้อมูลนี้ไม่สามารถเป็นคำสั่งในการใช้ยาได้ ควรปรึกษานักสมุนไพรศาสตร์หรือแพทย์ก่อนการใช้ยาเสมอ

 ปกติแล้วควรใช้เห็ดหลินจือในปริมาณเท่าใด

ปริมาณในการใช้เห็ดหลินจืออาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่นๆ การใช้ยาสมุนไพรนั้นอาจไม่ได้มีความปลอดภัยเสมอ จึงควรปรึกษานักสมุนไพรศาสตร์หรือแพทย์ในเรื่องปริมาณที่เหมาะสม

 

เห็ดหลินจือที่ใช้อยู่ในรูปแบบใด

สมุนไพรดังกล่าวอาจอยู่ในรูปแบบต่อไปนี้ :

  • เห็ดหลินจือสด
  • สารสกัดเห็ดหลินจือในรูปแคปซูล 600 มิลลิกรัม
  • สารสกัดน้ำจากเห็ดหลินจือ
  • ผงสกัดจากเห็ดหลินจือ

 

Reishi Mushroom http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-905-reishi%20mushroom.aspx?activeingredientid=905 Accessed September 18, 2017

Reishi Mushroom https://draxe.com/reishi-mushroom/ Accessed September 18, 2017

24/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว