เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / รูว์ (Rue)
โดย :
ทบทวนบทความโดย :
รูว์ (Rue)

การใช้ประโยชน์

รูว์ใช้ทำอะไร?

รูว์เป็นพืชชนิดหนึ่ง ส่วนที่เติบโตขึ้นจากพื้นดินถูกนำมาใช้เป็นยา

หากไม่รวมถึงเรื่องความปลอดภัยในการนำมาใช้ รูว์ถูกนำมาใช้รักษาอาการมากมาย ได้แก่

  • ความผิดปกติของประจำเดือน
  • อาหารไม่ย่อย
  • หัวใจเต้นแรง
  • อาการตื่นกลัว
  • ไข้หวัดใหญ่
  • ท้องเสีย
  • ปัญหาการหายใจ
  • โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
  • โรคอัมพาตใบหน้า
  • โรคปวดข้อ
  • อาการเคล็ด
  • ปวดหู
  • ปวดฟัน
  • หูด
  • ปวดหัว

 

สรรพคุณของรูว์

ยังมีการศึกษาไม่เพียงพอเกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทสมุนไพรชนิดนี้ว่ามีการทำงานอย่างไร ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือขอคำแนะนำจากแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันว่า สารเคมีในรูว์ช่วยลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ และลดอาการบวมอักเสบ

 

 

 

ข้อควรระวังและคำเตือน

ควรรู้อะไรก่อนที่จะใช้รูว์  

ควรปรึกษากับแพทย์ เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร ถ้า:

  • ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • ใช้ยาอื่นร่วมอยู่ รวมถึงยาที่กำลังใช้ที่สามารถหาซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งยา
  • มีอาการภูมิแพ้สารใด ๆ ในรูว์ หรือยาอื่น ๆ หรือสมุนไพรอื่น ๆ
  • มีโรค ความผิดปกติ หรือพยาธิสภาพอื่น ๆ
  • มีอาการแพ้อื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร สีย้อมอาหาร สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์

ข้อบังคับสำหรับอาหารเสริมประเภทสมุนไพรนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับของการใช้ยา จึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาให้มาก เพื่อความปลอดภัยในการใช้ คุณประโยชน์ของการรับประทานอาหารเสริมประเภทสมุนไพรนี้ต้องมีค่าน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยง ก่อนการใช้ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์

 

รูว์มีความปลอดภัยเพียงใด

รูว์นั้นจัดว่าปลอดภัยเมื่อบริโภคในปริมาณเทียบเท่าอาหาร แต่ไม่ปลอดภัยเมื่อใช้เป็นยา

 

ข้อควรระวังและคำเตือนพิเศษ

การใช้รูว์ไม่ปลอดภัยสำหรับใครก็ตามในการนำมาใช้ในขนาดเทียบเท่ายา แต่ผู้คนที่มีโรคต่อไปนี้มีความเป็นไปได้ที่จะได้รับผลข้างเคียงร้ายแรงเป็นพิเศษ

สำหรับผู้ตั้งครรภ์และอยู่ในระหว่างการให้นมบุตร: การใช้รูว์ไม่ปลอดภัยทั้งสำหรับมารดาและเด็กในท้องในขณะที่ท่านตั้งครรภ์และอยู่ในระหว่างการให้นมบุตร รูว์อาจทำให้เกิดการหดตัวของมดลูก ซึ่งอาจทำให้แท้งได้ ด้วยเหตุนี้รูว์จึงถูกใช้ในการทำแท้ง และมันยังส่งผลข้างเคียงร้ายแรงต่อมารดาอีกด้วย ผู้หญิงบางคนที่พยายามใช้รูว์เพื่อทำแท้ง ได้ถึงแก่ชีวิตมาแล้ว

โรคกระเพาะและลำไส้ต่างๆ: รูว์อาจทำให้โรคกระเพาะและลำไส้อาการแย่ลง หากท่านมีโรคกระเพาะและลำไส้ ท่านมีเหตุผลมากขึ้นที่จะหลีกเลี่ยงรูว์

โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะต่างๆ: รูว์สามารถทำอันตรายต่อไต และก่อให้เกิดการระคายเคืองในระบบทางเดินปัสสาวะ หากท่านมีโรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะต่างๆ ท่านมีเหตุผลมากขึ้นที่จะหลีกเลี่ยงรูว์

โรคตับต่างๆ: รูว์สามารถทำให้โรคโรคตับต่างๆแย่ลงได้ หากคุณมีโรคตับ ท่านมีเหตุผลมากขึ้นที่จะหลีกเลี่ยงรูว์

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้รูว์

การรับประทานรูว์ อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่างๆเช่น การระคายเคืองในกระเพาะอาหาร อารมณ์แปรปรวน ปัญหาการนอนหลับ อาการมึนงง กล้ามเนื้อกระตุก สร้างความเสียหายรุนแรงต่อไตและตับ และถึงแก่ความตาย เมื่อนำมาทาบนผิว อาจทำให้เกิดผื่น และทำให้ไวต่อแสงแดดมากขึ้น

ผลข้างเคียงเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน และอาจจะมีอาการของผลข้างเคียงอื่น ๆ ที่ไม่ได้กล่าวไว้ข้างต้นหากกังวลเรื่องผลข้างเคียง ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์

 

ปฏิกิริยาระหว่างยา

ปฏิกิริยาที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้รูว์   

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสมุนไพรชนิดนี้อาจมีผลต่อยาหรือพยาธิสภาพในปัจจุบัน ควรปรึกษาหมอผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนการใช้งาน

ผลิตภัณฑ์ที่อาจมีปฏิกิริยาต่อรูว์ได้แก่

  • ยาที่ทำให้ไวต่อแสงต่างๆ

ยาบางตัวสามารถทำให้ไวต่อแสงแดด รูว์อาจเพิ่มความไวต่อแสงแดดเช่นกัน การใช้รูว์ร่วมกับยาที่เพิ่มความไวต่อแสงอาจเพิ่มความเสี่ยงในการไหม้แดด แผลพุพอง เป็นผื่นขึ้นในบริเวณที่ถูกแสงแดด อย่าลืมทาครีมกันแดดหรือใส่เสื้อผ้ามิดชิดหากต้องออกแดด

ยาที่ทำให้ไวต่อแสงต่างๆได้แก่ อามิทริปไทลีน (เอลาวิล), ซิโปรโฟลซาซิน (ซิโปร), นอร์โฟลซาซิน (โนโรซิน), โลเมโฟลซาซิน (แมกซาควิน), โอฟลอกซาซิน (โฟลซิน), เลโวฟลอกซาซิน (เลวาควิน), สปาโฟลซาซิน (ซาแกม), กาทิโฟลซาซิน (เทควิน), มอกซิโฟลซาซิน (อเวลอกซ์), ไตรเมโธพริม/ซัลฟาเมโธซาโซล (เซปตรา), เตตราไซคลิน, เมธอกซ์ซาลีน (8-เมธอกซิปโซราเลน, 8-เอ็มโอบี, ออกซ์โซราเลน), และ ไทรออกซ์ซาเลน (ไทรโซราเลน).

ขนาดการใช้

ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดในการใช้รูว์โดยทั่วไปคือเท่าไหร่?

ขนาดการใช้อาหารเสริมประเภทสมุนไพรชนิดนี้อาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ปริมาณยาที่ใช้ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่น ๆ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ผู้ทำการรักษาสำหรับปริมาณที่เหมาะสม

 

รูว์มีจำหน่ายในรูปแบบใด:

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสมุนไพรนี้อาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้:

  • สารสกัดรูว์แบบเหลว
24/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว