เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / หญ้าฝรั่น (Saffron)
โดย :
ทบทวนบทความโดย :
หญ้าฝรั่น (Saffron)

การใช้ประโยชน์

หญ้าฝรั่นใช้เพื่ออะไร?

โดยทั่วไปปกติหญ้าฝรั่นใช้สำหรับรักษาอาการของ:

  • โรคหอบหืดไอ
  • อาการไอกรน(โรคไอกรน)
  • ขับเสมหะ (เป็นเหมือนยาขับเสมหะ)
  • ปัญหาการนอนหลับ (โรคยนอนไม่หลับ)
  • โรคมะเร็ง
  • การแข็งตัวของเส้นเลือดแดง (โรคหลอดเลือดตีบแข็ง)
  • ก๊าซในลำไส้(ท้องอืด)
  • อาการซึมเศร้า
  • โรคอัลไซเมอร์
  • อาการตื่นตระหนก
  • ภาวะช็อค
  • มีเลือดออก (การไอเป็นเลือด)
  • อาการปวด
  • อาการเสียดท้อง
  • ภาวะผิวแห้ง

ผู้หญิงมักใช้หญ้าฝรั่นสำหรับลดอาการปวดประจำเดือนและโรคเลือดออกกะปริดกะปรอยก่อนมีประจำเดือน (PMS) ผู้ชายใช้มันเพื่อป้องกันการสำเร็จความใคร่ในช่วงต้น (การหลั่งเร็ว) และภาวะมีบุตรยากหญ้าฝรั่นยังใช้เพื่อเพิ่มความสนใจในเรื่องเพศ (เป็นยาลดกำหนัดและกระตุ้นการขับเหงื่อบางคนใช้หญ้าฝรั่นโดยตรงกับหนังศีรษะสำหรับศีรษะล้าน(ผมร่วง) อาจมีการกำหนดให้ใช้หญ้าฝรั่นในการใช้งานอื่น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จากแพทย์หรือเภสัชกรของคุณ

หญ้าฝรั่นทำงานอย่างไร?

ยังไม่มีการศึกษาที่เพียงพอเกี่ยวกับวิธีการทำงานของอาหารเสริมสมุนไพรชนิดนี้ โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

 

ข้อควรระวังและคำเตือน

เราควรรู้อะไรบ้างก่อนใช้หญ้าฝรั่น?

ปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษาหรือเภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร ในกรณีที่:

  • คุณอยู่ในช่วงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจาก, ในขณะที่คุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร คุณควรจะได้รับยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
  • คุณได้รับยาชนิดอื่นอยู่ กรณีนี้รวมถึงยาทุกชนิดที่ซื้อรับประทานเองโดยไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์
  • คุณมีอาการแพ้สารจากหญ้าฝรั่นหรือแพ้ยาชนิดอื่น หรือแพ้สมุนไพรชนิดอื่น
  • คุณมีอาการไม่สบาย, มีอาการผิดปกติ, หรือภาวะทางการแพทย์อื่นๆ
  • คุณมีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์เช่นโรคภูมิแพ้ โลเลียม(Lolium), Olea (รวมถึงมะกอก) และ พืชตะกลูซาลโซลา

ข้อบังคับสำหรับอาหารเสริมประเภทสมุนไพรนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับของการใช้ยา จำเป็นต้องมีการศีกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับความปลอดภัย คุณประโยชน์ของการรับประทานอาหารเสริมประเภทสมุนไพรนี้ต้องมีค่าน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ผู้ทำการรักษาสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

 

หญ้าฝรั่นปลอดภัยแค่ไหน?

ในเด็ก:

ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับอาหารเสริมสมุนไพรอาจมีผลต่อเด็กทารกและเด็กเล็กเพียงพอ ไม่ควรให้อาหารเสริมนี้แก่เด็ก

การตั้งครรภ์และให้นมบุตร:

หญ้าฝรั่นอาจกระตุ้นผนังมดลูกและทำให้เกิดการหดตัวที่นำไปสู่การแท้งบุตรหรือคลอดก่อนกำหนดของทารกในครรภ์ ข้อมูลยังไม่น่าเชื่อถือเพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้หญ้าฝรั่นระหว่างการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เพื่อความปลอดภัยควรหลีกเลี่ยงการใช้งาน

 

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจจะได้รับจากการใช้หญ้าฝรั่นมีอะไรบ้าง?

ผลข้างเคียงบางอย่างได้แก่:

  • ปากแห้ง
  • อาการวิตกกังวล
  • อาการเวียนศีรษะ
  • อาการง่วงนอน
  • คลื่นไส้
  • อยากอาหาร
  • ปวดหัว
  • อาการแพ้

นอกจากนี้ปริมาณที่สูงอาจทำให้เกิด:

  • เป็นพิษ, รวมถึงมีอาการผิวเหลือ, ตาเหลืองและมีน้ำมูก
  • อาเจียน
  • อาการเวียนศีรษะ
  • อุจจาระเป็นเลือด
  • มีเลือดออกทางจมูกริมฝีปากและเปลือกตา
  • มึนงง
  • ผลข้างเคียงที่ร้ายแรงอื่นๆ

ปริมาณ 12-20 กรัมอาจทำให้เสียชีวิตได้

ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้รับผลข้างเคียงเหล่านี้ อาจจะมีผลข้างเคียงบางอย่างที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น ถ้าหากคุณมีความกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ผู้ทำการรักษา

 

ปฏิกิริยาต่อยา

ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเมื่อใช้ยาอื่นร่วมกับหญ้าฝรั่นมีอะไรบ้าง?

หญ้าฝรั่นอาจมีผลกับยาที่คุณรับประทานอยู่หรือมีผลกับภาวะทางการแพทย์อื่นๆปรึกษากับแพทย์สมุนไพรแผนโบราณหรือแพทย์ผู้ทำการรักษาก่อนใช้งานภาวะทางการแพทย์เหล่านี้คือ:

โรคไบโพลา:

หญ้าฝรั่นดูเหมือนจะส่งผลต่ออารมณ์ มีความกังวลว่าอาจก่อให้เกิดความตื่นเต้นและพฤติกรรมห่าม (ความบ้าคลั่ง) ในผู้ที่มีโรคไบโพลา ไม่ควรอย่าใช้หญ้าฝรั่นถ้าคุณมีอาการเหล่านี้ภาวะโรคหัวใจ:

หญ้าฝรั่นอาจมีผลต่อความเร็วและความแรงของการเต้นของหัวใจดังนั้นการใช้หญ้าฝรั่นเป็นจำนวนมากอาจทำให้ภาวะหัวใจแย่ลงได้

ความดันโลหิตต่ำ:

หญ้าฝรั่นอาจลดความดันโลหิตได้ การใช้หญ้าฝรั่นอาจทำให้ความดันโลหิตต่ำเกินไปในคนที่มีอาการความดันโลหิตต่ำอยู่แล้ว

 

ขนาดการใช้

ข้อมูลที่เผยแพร่นี้ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์ ดังนั้นจึงควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านเลม่อนหรือแพทย์ผู้ทำการรักษาก่อนใช้ยาชนิดนี้เสมอ

 

ขนาดปกติของการใช้หญ้าฝรั่นคือเท่าไหร่?

สำหรับภาวะซึมเศร้า:

ขนาดที่แนะนำคือ 30 มก. / วันของสารสกัดจากหญ้าฝรั่น นอกจากนี้ยังสามารถใช้สารสกัดจากหญ้าฝรั่น 15 มิลลิกรัมวันละสองครั้ง

สำหรับภาวะประจำเดือนมาไม่ปกติ (PMS)):

ปริมาณที่แนะนำคือ 15 มิลลิกรัมของเอทานอลซัฟฟอนสกัดวันละสองครั้ง

สำหรับอาการไม่สบายตอนมีประจำเดือน:

ปริมาณที่แนะนำคือ 500 มิลลิกรัมของผลิตภัณฑ์ผสมที่มีส่วนประกอบหญ้าฝรั่น, ผักชีฝรั่งและสารสกัดจากต้นไม้แอนิซวันละสามครั้งสามวันแรกของการมีประจำเดือน

สำหรับโรคอัลไซเมอร์:

ปริมาณที่แนะนำคือ 30 มิลลิกรัมต่อวันของหญ้าฝรั่ง

ขนาดการใช้อาหารเสริมสมุนไพรชนิดนี้แตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ปริมาณยาที่ใช้ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ, สุขภาพ, และปัจจัยอื่น ๆ  ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป โปรดปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ผู้ทำการรักษาสำหรับปริมาณที่เหมาะสมกับคุณ

 

หญ้าฝรั่นมีในรูปแบบใดบ้าง?

หญ้าฝรั่นอาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้:

  • สารสกัดหญ้าฝรั่น

 

Saffron. https://www.drugs.com/npp/saffron.html. Accessed November 28, 2016

Saffron. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-844-saffron.aspx?activeingredientid=844. Accessed November 28, 2016

24/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว