เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / ซาราเซีย (Salacia)
โดย :
ทบทวนบทความโดย :
ซาราเซีย (Salacia)

การใช้ประโยชน์

ซาราเซียใช้เพื่ออะไร?

ซาราเซียเป็นสมุนไพรที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดียและศรีลังกา รากและลำต้นใช้ในการทำยาแก้วที่ทำมาจากไม้ซาราเซีย ถูกใช้สำหรับดื่มน้ำในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานนอกเหนือจากการรักษาโรคเบาหวานแล้ว ซาราเซีย ยังใช้ในการรักษาโรคหนองใน,โรคหอบหืด,อาการปวดข้อ (โรคไขข้อ) โรคอ้วน,ความกระหายและปัญหาเกี่ยวกับระดู

 

ซาราเซียทำงานอย่างไร?

ยังไม่มีการศึกษาวิจัยที่เพียงพอสำหรับอธิบายการทำงานของซาราเซียโปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามเป็นที่ทราบกันดีว่าสารเคมีในซาลาเซียดูเหมือนจะป้องกันไม่ให้น้ำตาลในอาหารถูกดูดซึเข้าสู่ร่างกาย

 

 

ข้อควรระวังและคำเตือน

เราควรรู้อะไรบ้างก่อนใช้ ซาลาเซีย?

ปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษาหรือเภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร ในกรณีที่:

  • คุณอยู่ในช่วงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่คุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร คุณควรจะได้รับยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
  • คุณได้รับยาชนิดอื่นอยู่ กรณีนี้รวมถึงยาทุกชนิดที่ซื้อรับประทานเองโดยไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์
  • คุณมีอาการแพ้สารจาก ซาลาเซียหรือแพ้ยาชนิดอื่น หรือแพ้สมุนไพรชนิดอื่น
  • คุณมีอาการไม่สบาย, มีอาการผิดปกติ, หรือภาวะทางการแพทย์อื่นๆ
  • คุณมีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์

 

ข้อบังคับสำหรับสมุนไพรนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับของการใช้ยา จำเป็นต้องมีการศีกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับความปลอดภัย คุณประโยชน์ของการรับประทานอาหารเสริมประเภทสมุนไพรนี้ต้องมีค่าน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ผู้ทำการรักษาสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

 

ซาลาเซียปลอดภัยแค่ไหน?

ซาลาเซียอาจปลอดภัยเมื่อใช้รับประทานในระยะสั้น ขนาดการใช้ของซาลาเซียสามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัยในปริมาณที่สูงถึง 1000 มก. การบริโภคชาซาลาเซียกับอาหารน่าจะปลอดภัยสำหรับคนส่วนใหญ่ได้ถึงสามเดือน ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะทราบว่าซาลาเซียมีความปลอดภัยเมื่อใช้เป็นเวลานานหรือไม่

 

ข้อควรระวังและคำเตือนพิเศษ

การตั้งครรภ์และให้นมบุตร: ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้ซาลาเซียระหว่างการตั้งครรภ์และให้นมบุตร เพื่อความปลอดภัยควรหลีกเลี่ยงการใช้งาน

โรคเบาหวาน: ซาลาเซียสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ ยารักษาเบาหวานของคุณอาจจำเป็นต้องได้รับการปรับโดยผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณ

การผ่าตัด: ซาลาเซีย อาจลดระดับน้ำตาลในเลือด มีความกังวลว่าอาจเป็นอุปสรรคต่อการควบคุมน้ำตาลในเลือดระหว่างผ่าตัดและหลังการผ่าตัด ควรหยุดใช้ ซาลาเซีย อย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนทำการผ่าตัด

 

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจจะได้รับจากการใช้ซาลาเซียมีอะไรบ้าง?

ซาลาเซียอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงเช่นมีแก๊ส,เรอ,ปวดแสบในช่องท้อง,คลื่นไส้และท้องร่วงในผู้ใช้บางราย

 

ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้รับผลข้างเคียงเหล่านี้ อาจจะมีผลข้างเคียงบางอย่างที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น

ถ้าหากคุณมีความกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ผู้ทำการรักษา

 

ปฏิกิริยาต่อยา

ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเมื่อใช้ยาอื่นร่วมกับซาลาเซียมีอะไรบ้าง?

ซาลาเซียอาจมีผลกับยาที่คุณรับประทานอยู่ หรือมีผลกับภาวะทางการแพทย์อื่นๆ ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ผู้ทำการรักษาก่อนใช้งาน

ผลิตภัณฑ์ที่อาจมีผลต่อซาลาเซีย ได้แก่:

  • ยาต้านโรคเบาหวาน ซาลาเซียอาจลดน้ำตาลในเลือดได้ ยารักษาโรคเบาหวานจะใช้ในการลดน้ำตาลในเลือด การทานซาลาเซียพร้อมกับยาโรคเบาหวานอาจทำให้น้ำตาลในเลือดของคุณต่ำเกินไป ควรตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดของคุณอย่างใกล้ชิด อาจต้องมีการเปลี่ยนแปลงปริมาณของยารักษาเบาหวานของคุณ

ยาบางชนิดที่ใช้สำหรับโรคเบาหวาน ได้แก่ glimepiride (Amaryl), glyburide (DiaBeta, Glynase PresTab, Micronase), อินซูลิน, pioglitazone (Actos), rosiglitazone (Avandia), chlorpropamide (Diabinese), glipizide (Glucotrol), tolbutamide (Orinase) และอื่น ๆ

 

ขนาดการใช้

ข้อมูลที่เผยแพร่นี้ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์ ดังนั้นจึงควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ผู้ทำการรักษาก่อนใช้ยาชนิดนี้เสมอ

 

ขนาดปกติของการใช้ซาลาเซียคือเท่าไหร่?

ขนาดการใช้ซาลาเซีย อาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ปริมาณยาที่ใช้ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ, สุขภาพ, และปัจจัยอื่น ๆ  ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป โหปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ผู้ทำการรักษาสำหรับขนาดที่เหมาะสมกับคุณ

 

ซาลาเซียมีในรูปแบบใดบ้าง?

ซาลาเซียอาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้:

  • สารสกัดซาลาเซียในรูปแบบแคปซูล
  • เครื่องดื่มลดน้ำหนักซาลาเซีย

Salacia http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-1106-salacia.aspx?activeingredientid=1106&activeingredientname=salacia Accessed August 24, 2017

Salacia reticulata https://examine.com/supplements/salacia-reticulata/ Accessed August 24, 2017

24/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว