เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / ซีลีเทียม (Sceletium)
โดย :
ทบทวนบทความโดย :
ซีลีเทียม (Sceletium)

การใช้

ซีลีเทียมใช้ทำอะไร?

ซีลีเทียม เป็นพืชชนิดหนึ่งในแอฟริกาใต้

ซีลีเทียม ใช้สำหรับรักษาโรคหรืออาการต่อไปนี้:

  • ภาวะถอนพิษสุรา
  • โรควิตกกังวล
  • จุกเสียด
  • เบื่ออาหา
  • โรคซึมเศร้า
  • ความเจ็บปวด
  • ช่วยผ่อนคลาย

 

ซีลีเทียมทำงานอย่างไร?

ยังมีการศึกษาค้นคว้าไม่เพียงพอเกี่ยวกับวิธีการทำงานของซีลีเทียม กรุณาปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม เป็นที่รู้ว่า ในซีลีเทียม มีสารเคมีที่อาจทำงานในสมองซึ่งอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองหรือง่วงนอน

 

ข้อควรระวังและคำเตือน

ควรรู้อะไรก่อนที่จะใช้ซีลีเทียม?

ควรปรึกษากับแพทย์, เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรถ้ามีอาการหรือลักษณะดังต่อไปนี้:

  • กำลังตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในระหว่างการมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตรจึงควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • อยู่ในระหว่างการใช้ยาชนิดอื่น รวมไปถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยา
  • มีอาการแพ้สารใดๆที่มีสารประกอบของซีลีเทียมผสมยู่ หรือยาและสมุนไพรอื่นๆ
  • มีอาการเจ็บป่วย ความผิดปกติ หรือพยาธิสภาพอื่นๆ
  • มีอาการแพ้ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์

ข้อบังคับสำหรับสมุนไพรนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับของการใช้ยา จึงจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัยในการใช้ ประโยชน์ของการใช้สมุนไพรนี้ จะต้องมีค่าน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

 

ซีลีเทียมปลอดภัยแค่ไหน?

ยังมีข้อมูลที่แน่ชัดไม่เพียงพอว่าซีลีเทียมนั้นปลอดภัยหรือไม่

 

ข้อควรระวังและคำเตือนพิเศษ

หญิงมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร: ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าการบริโภคซีลีเทียมขณะตั้งครรภ์มีความปลอดภัยหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ควรอยู่ในด้านความปลอดภัยและหลีกเลี่ยงการใช้

 

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงจากซีลีเทียม มีอะไรบ้าง?

บางคนที่เคยใช้ซีลีเทียมรายงานว่า ผลข้างเคียงจากซีลีเทียมมีทั้งอาการปวดหัว, เบื่ออาหารและมีภาวะซึมเศร้า นอกจากนี้ยังมีรายงานการมึนเมาในคนที่ใช้ในขนาดที่มากเกินไปหรือคนที่เคี้ยวหลังจากการหมักไม่นาน

ผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้นไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน อย่างไรก็ตาม อาจเกิดผลข้างเคียงอื่นนอกเหนือจากที่ระบุไว้ โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์หากกังวลเรื่องผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้น

 

ปฏิกิริยาระหว่างยา

ปฏิกิริยาที่อาจเกิดขึ้นเมื่อใช้ยาอื่นร่วมกับซีลีเทียม

**ซีลีเทียมอาจมีปฏิกิริยากับยาหรือภาวะทางการแพทย์ในปัจจุบันของท่าน ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้

 

ขนาดยา

ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้เสมอ

ขนาดปกติของการใช้ซีลีเทียมอยู่ที่เท่าไร?

ขนาดการใช้ซีลีเทียมอาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ ขนาดการใช้ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่นๆ สมุนไพรไม่ปลอดภัยเสมอไป โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์เพื่อทราบขนาดที่เหมาะสม

 

ซีลีเทียมมีจำหน่ายในรูปแบบใดบ้าง?

ซีลีเทียมอาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้

  • ซีลีเทียมชนิดแคปซูล
  • สารสกัดซีลีเทียม

 

Sceletium https://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-1259-sceletium.aspx?activeingredientid=1259&activeingredientname=sceletium Accessed October 11, 2017

Sceletium tortuosum https://examine.com/supplements/sceletium-tortuosum/ Accessed October 11, 2017

24/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว