เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / ชิแซนดร้า (Schisandra)
โดย :
ทบทวนบทความโดย :
ชิแซนดร้า (Schisandra)

การใช้

ชิแซนดร้า ใช้ทำอะไร?

ชิแซนดร้าเป็นพืชชนิดหนึ่ง ส่วนผลของมันถูกนำมาใช้สำหรับรักษาโรคหรืออาการต่อไปนี้:

  • เพิ่มความต้านทานต่อโรคและความเครียด, เพิ่มพลังงาน, สมรรถภาพทางกายและความอดทน
  • ป้องกันริ้วรอยก่อนวัยอันควร
  • ปรับระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิต
  • กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน
  • เร่งการฟื้นตัวหลังการผ่าตัด
  • การรักษาโรคตับ (ตับอักเสบ) และการปกป้องตับจากสารพิษ
  • การรักษาไขมันในเลือดสูง, ไอ, หอบหืด, อาการปวดเส้นประสาท, อาการก่อนมีประจำเดือน(PMS), โรคท้องร่วงเรื้อรัง, โรคบิด, เหงื่อออกตอนกลางคืน, เหงื่อออกเยอะ, การหลั่งของน้ำอสุจิโดยไม่ได้ตั้งใจ, ความกระหาย, โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (ED), ความอ่อนล้าทางร่างกาย, การปัสสาวะมากเกินไป, ภาวะซึมเศร้า, หงุดหงิดง่าย , การสูญเสียความทรงจำและปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ (โรคนอนไม่หลับ)
  • ปรับปรุงการมองเห็น
  • การป้องกันรังสี
  • ป้องกันอาการเมารถ
  • ป้องกันการติดเชื้อ
  • การเพิ่มระดับพลังงานในเซลล์
  • ลดผลกระทบของน้ำตาลในเลือด
  • บำรุงสุขภาพของต่อมหมวกไต

ชิแซนดร้าอาจมีคุณประโยชน์ในด้านอื่นๆ โปรดสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

 

ชิแซนดร้าทำงานอย่างไร?

ยังมีการศึกษาค้นคว้าไม่เพียงพอเกี่ยวกับวิธีการทำงานของชิแซนดร้า กรุณาปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาบางอย่างที่แสดงให้เห็นว่า สารเคมีในชิแซนดร้าช่วยพัฒนาระบบการทำงานของตับโดยการกระตุ้นเอนไซม์ (ตัวเร่งปฏิกิริยาทางชีวภาพ เป็นสารประกอบพวกโปรตีน) ในตับ และส่งเสริมการเจริญเติบโตของเซลล์ตับ

 

ข้อควรระวังและคำเตือน

ควรรู้อะไรก่อนที่จะใช้ชิแซนดร้า?

ควรปรึกษากับแพทย์, เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรถ้ามีอาการหรือลักษณะดังต่อไปนี้:

  • กำลังตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในระหว่างการมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตรจึงควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • อยู่ในระหว่างการใช้ยาชนิดอื่น รวมไปถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยา
  • มีอาการแพ้สารใดๆที่มีสารประกอบของชิแซนดร้าผสมยู่ หรือยาและสมุนไพรอื่นๆ
  • มีอาการเจ็บป่วย ความผิดปกติ หรือพยาธิสภาพอื่นๆ
  • มีอาการแพ้ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์

ข้อบังคับสำหรับผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหารนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับของการใช้ยา จึงจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัยในการใช้ ประโยชน์ของการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหารนี้จะต้องมีค่าน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

 

ชิแซนดร้าปลอดภัยแค่ไหน?

หญิงมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร: ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าการบริโภคชิแซนดร้าขณะตั้งครรภ์มีความปลอดภัยหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ควรอยู่ในด้านความปลอดภัยและหลีกเลี่ยงการใช้

 

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงจากชิแซนดร้า มีอะไรบ้าง?

ชิแซนดร้าอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น อาการแสบร้อนกลางอก, ท้องไส้ปั่นป่วน, เพิ่มความอยากอาหาร, เป็นแผลในกระเพาะอาหาร, เป็นผื่นที่ผิวหนังและอาการคัน

ผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้นไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน อย่างไรก็ตาม อาจเกิดผลข้างเคียงอื่นนอกเหนือจากที่ระบุไว้ โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์หากกังวลเรื่องผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้น

 

ปฏิกิริยาระหว่างยา

ปฏิกิริยาที่อาจเกิดขึ้นเมื่อใช้ยาอื่นร่วมกับชิแซนดร้า

**ชิแซนดร้าอาจมีปฏิกิริยากับยาหรือภาวะทางการแพทย์ในปัจจุบันของท่านควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้

ภาวะทางการแพทย์หรือผลิตภัณฑ์ยาเหล่านี้ ได้แก่

ยาที่ถูกแปรสภาพโดยตับ:

การรับประทานชิแซนดร้าควบคู่ไปกับยาบางชนิดที่ที่ถูกแปรสภาพโดยตับ อาจไปเพิ่มหรือลดประสิทธิผลของยาเหล่านี้ได้

ยาบางชนิดที่ที่ถูกแปรสภาพโดยตับเหล่านี้ เช่น โลวาสแตติน (lovastatin), คลาริโทรมัยซิน (clarithromycin), ไซโคลสปอริน (cyclosporine), ดิลไทอะเซม (diltiazem), เอสโตรเจน (estrogens), อินดินาเวียร์ (indinavir), ไตรอาโซแลม (triazolam), เซเลโคซิบ (celecoxib), ไดโคลฟีแนค (diclofenac), ฟลูวาสแตติน (fluvastatin), ไกลพิไซด์ (glipizide), ไอบูโพรเฟน (ibuprofen), เออร์บีซาร์แทน (irbesartan), ลอซาร์แทน (losartan), วาร์ฟาริน (warfarin)

 

ทาโครลิมัส (Tacrolimus):

การรับประทานชิแซนดร้าควบคู่กับทาโครลิมัส อาจเพิ่มผลข้างเคียงของทาโครลิมัส ขนาดของทาโครลิมัสจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงหากต้องการใช้ร่วมกับชิแซนดร้า

 

วาร์ฟาริน (warfarin):

ชิแซนดร้าอาจเพิ่มการสลายตัวและลดประสิทธิผลของวาร์ฟาริน การลดประสิทธิผลของวาร์ฟารินอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการแข็งตัวของเลือด ขนาดของวาร์ฟารินต้องมีการเปลี่ยนแปลง

 

โรคลมชัก (Epilepsy):

ชิแซนดร้าอาจไปกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางได้

โรคกรดไหลย้อนหรือแผลในกระเพาะอาหาร (Gastroesophageal reflex disease (GERD) or peptic ulcers):

การใช้ชิแซนดร้าทำให้สภาวะเหล่านี้แย่ลงโดยการเพิ่มกรดในกระเพาะอาหาร

 

ความดันในกะโหลกศีรษะสูง (intracranial):

มีความกังวลว่า ชิแซนดร้าอาจไปกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางได้

 

ขนาดยา

ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้เสมอ

ขนาดปกติของการใช้ชิแซนดร้าอยู่ที่เท่าไร?

สำหรับโรคตับอักเสบ:

สารสกัดจากชิแซนดร้ามาตรฐาน 20 มิลลิกรัมลิตร ต่อวัน

 

สำหรับการปรับปรุงสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ:

สารสกัดจากชิแซนดร้า ขนาดที่แนะนำคือ 500 มิลลิกรัม ถึง 2 กรัม ต่อวัน

ชิแซนดร้าดิบ ขนาดที่แนะนำคือ 1.5-6 กรัม ต่อวัน

มีการนำชาชิแซนดร้า 5-15 กรัม ต่อวัน มาบริโภค

ขนาดการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหารอาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ ขนาดการใช้ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่นๆ  ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหารไม่ปลอดภัยเสมอไป โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์เพื่อทราบขนาดที่เหมาะสม

 

ชิแซนดร้ามีจำหน่ายในรูปแบบใดบ้าง?

ชิแซนดร้าอาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้

  • ชา/ยาบำรุง/ไวน์
  • ยาเม็ด/แคปซูล
  • สารสกัดแห้งจากผล

 

Schisandra. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-376-schisandra.aspx?activeingredientid=376&activeingredientname=schisandra. Accessed December 6, 2016

Schisandra. https://www.drugs.com/npp/schisandra.html. Accessed December 6, 2016

Schisandra. https://draxe.com/schisandra/. Accessed December 6, 2016

24/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว