เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / สกัลแคป (Skullcap)
โดย :
ทบทวนบทความโดย :
สกัลแคป (Skullcap)

การใช้ประโยชน์

skullcap ใช้ทำอะไร

Skullcap สามารถใช้เพื่อบรรเทาอาการต่อไปนี้ :

  • ปัญหาเกี่ยวกับการนอน (นอนไม่หลับ)
  • วิตกกังวล
  • หลอดเลือดสมองตีบ
  • อัมพาตจากหลอดเลือดสมองตีบ
  • ไข้หวัด
  • คอเรสเทอรอลสูง
  • หลอดเลือดแดงแข็งตัว
  • โรคพิษสุนัขบ้า
  • โรคลมชัก
  • ประสาทตึงเครียด
  • อาการแพ้
  • ติดเชื้อที่ผิวหนัง
  • อักเสบ
  • กล้ามเนื้อกระตุก

Skullcap อาจใช้ประโยชน์อื่นๆ ได้อีก ปรึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เภสัชกรหรือแพทย์

 

 

การทำงานของ skullcap เป็นอย่างไร

สารเคมีใน skullcap อาจสามารถป้องกันอาการบวม (อักเสบ) สารอื่นๆ อาจทำให้ผ่อนคลาย (ง่วงซึม) โปรดปรึกษาข้อมูลเพิ่มเติมกับนักสมุนไพรศาสตร์และแพทย์

 

 

ข้อควรระวังและคำเตือน
เราควรรู้อะไรบ้างก่อนใช้ skullcap

ปรึกษาแพทย์ผู้ทำการรักษาหรือเภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร ในกรณีที่ :

  • ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ควรจะได้รับยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น
  • ใช้ยาชนิดอื่นอยู่ รวมถึงยาทุกชนิดที่ซื้อรับประทานเองโดยไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์
  • แพ้สารจาก skullcap หรือแพ้ยาชนิดอื่น หรือแพ้สมุนไพรชนิดอื่น
  • มีอาการป่วย มีอาการผิดปกติ หรือมีพยาธิสภาพอื่นๆ
  • มีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์

ข้อปฏิบัติในการใช้สมุนไพรนั้นมีความเข้มงวดที่น้อยกว่าการใช้ยารักษาโรค จำเป็นต้องมีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อรับรองความปลอดภัย ซึ่งการจะใช้ประโยชน์ของสมุนไพรนั้นต้องศึกษาความเสี่ยงก่อนใช้และควรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับแพทย์ผู้ดูแลหรือนักสมุนไพรศาสตร์ก่อน

 

Skullcap นั้นมีความปลอดภัยแค่ไหน

สำหรับเด็ก :

ไม่มีการรับรองความปลอดภัยทั้ง American skullcap และ Chinese skullcap

 

 

สำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร:

ยังไม่มีข้อมูลที่เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยของการใช้สมุนไพรนี้ระหว่างการตั้งครรภ์และช่วงให้นมบุตร ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงการใช้

การศัลยกรรม :

Skullcap อาจทำให้ประสาทส่วนกลางช้าลง ผู้ดูแลสุขภาพกังวลว่าทั้งการรักษาและยาชาในการศัลยกรรมอาจทำให้ผลข้างเคียงนี้แย่ลง จึงควรหยุดใช้ skullcap อย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนการศัลยกรรม

 

ผลข้างเคียง
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ skullcap มีอะไรบ้าง

การใช้ skullcap ในปริมาณมากอาจทำให้เกิด :

  • เวียนหัว
  • อาการมึนงง
  • ความสับสนทางจิตใจ
  • กระตุก
  • การเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ
  • ชัก

ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีผลข้างเคียงดังกล่าว บางครั้งอาจเกิดผลข้างเคียงอื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าวถึงซึ่งหากพบอาการข้างเคียงใดๆ ควรปรึกษาแพทย์หรือนักสมุนไพรศาสตร์

 

ปฏิกิริยาระหว่างยา
ยาที่อาจเกิดปฏิกิริยากับ skullcap มีอะไรบ้าง

การใช้ยาดังกล่าวนี้อาจเกิดปฏิกริยากับยาหรือการรักษาอื่นๆ ที่ใช้อยู่เป็นประจำได้ ควรปรึกษาแพทย์หรือนักสมุนไพรศาสตร์ก่อนใช้

การรักษาที่อาจมีผลกับ skullcap เช่น :

 

ยาระงับประสาท

ทั้ง American skullcap และ Chinese skullcap สามารถเพิ่มผลของยาที่มีฤทธิ์ระงับประสาท เช่น:

  • Anticonvulsants เช่น phenytoin (Dilantin) และ valproic acid (Depakote)
  • Barbiturates
  • Benzodiazepines เช่น alprazolam (Xanax) และ diazepam (Valium)
  • ยารักษาโรคนอนไม่หลับ เช่น zolpidem (Ambien), zaleplon (Sonata), eszopiclone (Lunesta) และ ramelteon (Rozerem)
  • Tricyclic antidepressants เช่น amitriptyline (Elavil)
  • แอลกอฮอลล์
  • Valerian, kava และ catnip

ยารักษาโรคเบาหวาน

Chinese skullcap อาจลดระดับน้ำตาลในเลือดและทำให้ผลของยารักษาโรคเบาหวานมีมากขึ้น ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรค hypoglycemia (ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ)

 

ขนาดการใช้

ข้อมูลนี้ไม่สามารถเป็นคำสั่งในการใช้ยาได้ ควรปรึกษานักสมุนไพรศาสตร์หรือแพทย์ก่อนการใช้ยาเสมอ

 

ปกติแล้วควรใช้ skullcap ในปริมาณเท่าใด

ขนาดที่แนะนำสำหรับผู้ใหญ่ :

  • สมุนไพรตากแห้ง 1 – 2 กรัม of
  • ชาสมุนไพร 2 - 3 ถ้วย
  • สารสกัด 2 – 4 มิลลิลิตรสามครั้งต่อวัน
  • ทิงเจอร์ 2 – 5 มิลลิลิตรสามครั้งต่อวัน

เด็กอาจใช้ ได้แต่ในขนาดน้อย เช่นส่วนผสมที่มีในชา ซึ่งควรตรวจร่างกายเด็กก่อนการใช้

ขนาดในการใช้ skullcap อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพและปัจจัยอื่นๆ การใช้ยาสมุนไพรนั้นอาจไม่ได้มีความปลอดภัยเสมอ จึงควรปรึกษานักสมุนไพรศาสตร์หรือแพทย์ในเรื่องปริมาณที่เหมาะสม

 

skullcap ที่ใช้อยู่ในรูปแบบใด

สมุนไพรดังกล่าวอาจอยู่ในรูปแบบต่อไปนี้ :

  • ผง Skullcap
  • สารสกัด Skullcap
  • สมุนไพร Skullcap แห้ง
  • แคปซูล Skullcap
  • ชา Skullcap

 

Skullcap. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-986-skullcap.aspx?activeingredientid=986&activeingredientname=skullcap. Accessed November 28, 2016

Skullcap. http://umm.edu/health/medical/altmed/herb/skullcap. Accessed November 28, 2016

Skullcap. http://www.herbal-supplement-resource.com/skullcap-herb.html. Accessed November 28, 2016

24/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว