เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / เลซิตินจากถั่วเหลือง (Soy Lecithin)
โดย :
ทบทวนบทความโดย :
เลซิตินจากถั่วเหลือง (Soy Lecithin)

การใช้

เลซิตินจากถั่วเหลืองใช้ทำอะไร

เลซิตินจากถั่วเหลืองใช้เป็นยาทดแทนเพื่อรักษาอาการของโรคตับ

เลซิตินจากถั่วเหลือง ยังใช้รักษาอาการโรคนิ่วในถุงน้ำดี อาการสมองเสื่อมจากโรคอัลไซเมอร์ ความจำเสื่อมเนื่องจากอายุที่มากขึ้น และอาการบาดเจ็บที่ศีรษะ

สรรพคุณอื่นๆ ที่ยังไม่ได้รับการศึกษา เช่น ลดระดับคอเลสเตอรอล ภาวะซึมเศร้า ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ปรับปรุงประสิทธิภาพในการออกกำลังกาย โรคพาคินสัน โรคเครียด นอนไม่หลับ และอาการอื่นๆ

เลซิตินจากถั่วเหลืองอาจสามารถใช้รักษาอาการอื่นๆ ได้ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมควรปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์

 

ผลที่ได้

เนื่องจากยังมีการศึกษาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนี้ไม่มากพอ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์ อย่างไรก็ดี มีการศึกษาแสดงให้เห็นว่า เลซิตินจากถั่วเหลือง สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นสารอะซิทิลคอลีนเพื่อเป็นสารสื่อประสาทกระตุ้นสมอง

 

ข้อควรระวังและคำเตือนการใช้

สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้เลซิตินจากถั่วเหลือง

ควรปรึกษาหรือพบกับแพทย์ เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพร ถ้าอยู่ในอาการหรือลักษณะดังต่อไปนี้:

  • หญิงมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในระหว่างการมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตรจึงควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • อยู่ในระหว่างรับประทานยาชนิดอื่น รวมไปถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยา
  • หากเคยมีประวัติแพ้ยาชนิดใดชนิดหนึ่งของเลซิตินจากถั่วเหลืองหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอื่นๆ
  • หากมีอาการเจ็บป่วย ความผิดปกติ หรือสภาพทางการแพทย์อื่นๆ
  • หากเคยมีประวัติการแพ้ต่างๆ แพ้อาหาร แพ้สีผสมอาหาร แพ้สารกันบูด หรือแพ้เนื้อสัตว์

กฎระเบียบสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่ายาชนิดอื่นๆ จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องศึกษาให้มากเพื่อความปลอดภัยในการใช้ คุณประโยชน์ของการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสมุนไพรนี้ต้องมีมากกว่าความเสี่ยงก่อนการใช้ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมควรปรึกษาแพทย์

 

เลซิตินจากถั่วเหลืองปลอดภัยหรือไม่

หญิงมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร: ยังไม่มีรายงานที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความปลอดภัยของเลซิตินจากถั่วเหลืองหากอยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่องให้นมบุตร จึงควรอยู่ในความควบคุมที่ปลอดภัยและหลีกเลี่ยงการใช้

การผ่าตัด: ควรหยุดรับประทานเลซิตินจากถั่วเหลืองก่อนเข้ารับการผ่าตัดอย่างน้อย 2 สัปดาห์

 

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้เลซิตินจากถั่วเหลือง

ผลข้างเคียงทั่วไปที่อาจเกิดขึ้นจากการรับประทานเลซิตินจากถั่วเหลือง:

  • ท้องร่วง
  • อาเจียน
  • อาการปวดท้อง
  • อาการแน่นท้อง

จากอาการผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีผลข้างเคียง หากมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียงของยา ควรปรึกษาแพทย์

 

ปฏิกิริยาระหว่างกันของยา

ปฏิกิริยาที่จะได้รับเมื่อใช้ยาอื่นควบคู่กับเลซิตินจากถั่วเหลือง

เลซิตินจากถั่วเหลืองอาจมีปฏิกิริยากับยาที่ใช้อยู่ควบคู่กัน ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรหรือแพทย์ก่อนใช้

การรับประทานเลซิตินจากถั่วเหลืองพร้อมกับยาไดโคลฟิแนกอาจทำให้เกิดปฏิริยาได้

 

ขนาดยา

ข้อมูลนี้ไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดปกติของการใช้เลซิตินจากถั่วเหลืองยู่ที่เท่าไร

 

ขนาดการใช้ยาได้ศึกษาในหลากหลายขนาด ตั้งแต่ 1-35 กรัม และมีการเผยแพร่อย่างเป็นระบบ

ปริมาณเลซิตินจากถั่วเหลืองอาจแตกต่างกันไปในแต่ละผู้ป่วย ซึ่งปริมาณยาที่ใช้จะขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพ และปัจจัยอื่นๆ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป ควรปรึกษาแพทย์เพื่อปริมาณยาที่เหมาะสมสำหรับการรับประทาน

 

เลซิตินจากถั่วเหลืองมีจำหน่ายในรูปแบบใดบ้าง

เลซิตินจากถั่วเหลืองอาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้:

  • แคปซูลเลซิตินจากถั่วเหลือง 1,200 มิลลิกรัม

 

Soy Lecithin.http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-966-lecithin.aspx?activeingredientid=966. AccessedFebruary 25, 2017

Soy Lecithin. https://www.drugs.com/mtm/soya-lecithin.html. AccessedFebruary 25, 2017

24/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว