เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / เซนต์จอห์น เวิร์ต (St. John-s wort)
โดย :
ทบทวนบทความโดย :
เซนต์จอห์น เวิร์ต (St. John-s wort)

การใช้

เซนต์จอห์น เวิร์ตใช้เพื่อรักษาอะไร

เซนต์จอห์น เวิร์ตคือพืชทั่วไปที่คนส่วนใหญ่ใช้รักษาโรคซึมเศร้า และภาวะสภาพที่บางครั้งไปได้ดีกับโรคซึมเศร้า เช่น อาการวิตกกังวล.ความเหนื่อยหน่าย,การหมดความรู้สึกอยากอาหาร,และปัญหาการนอนหลับ

และใช้ในด้านอื่นคือ:

  • ใจสั่น
  • หงุดหงิด
  • วัยหมดประจำเดือน
  • อาการทางร่างกาย
  • กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน
  • โรคสมาธิสั้น
  • โรคย้ำคิดย้ำทำ
  • โรคกลัวการเข้าสังคม
  • โรคซึมเศร้าที่เกิดจากผลกระทบของฤดูกาล
  • เลิกบุหรี่
  • ไฟโบรมัยอัลเจีย กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ,เอ็น,และเนื้อเยื่ออ่อน
  • กลุ่มอาการความล้าเรื้อรัง
  • กลุ่มอาการแสบร้อนในช่องปาก
  • ไมเกรนและอาการปวดหัวชนิดอื่นๆ
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • อาการปวดเส้นประสาทและกลุ่มอาการเส้นประสาททำความเสียหายไปทั่วร่างกาย
  • อาการปวดจากการกดทับเส้นประสาทแบบไซอาติค ซึ่งเป็นเส้นประสาทเลี้ยงความรู้สึกขา
  • โรคลำไส้แปรปรวน
  • มะเร็ง(รวมถึงมะเร็งสมอง)
  • เอชไอวี(เอดส์)
  • โรคตับอักเสบซี
  • โรคเริม
  • ขั้นตอนการปลดล็อคหลอดเลือดแดงอุดตัน
  • ลดน้ำหนัก

น้ำมันที่ได้จากเซนต์จอห์น เวิร์ตใช้สำหรับช่วยย่อยอาหาร ในบางคนทาน้ำมันนี้ลงบนผิวหนังของพวกเขาเพื่อรักษารอยช้ำและรอยขีดข่วน,การปวดอักเสบของกล้ามเนื้อ,ผิวหนังตกสะเก็ดและคัน(โรคสะเก็ดเงิน),บาดแผลไฟไหม้,บาดแผลสด,ถอนฟัน,แมลงสัตว์กัดต่อย,ริดสีดวงทวาร,ปวดเส้นประสาท,และเพื่อรักษาโรคที่มีอาการผิวหนังจากเม็ดสีผิดปกติ

เซนต์จอห์น เวิร์ตอาจกำหนดเพื่อใช้ในด้านอื่นๆโปรดสอบถามแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การออกฤทธิ์

ขณะนี้ยังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสมุนไพรชนิดนี้มากพอ โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรของคุณหรือแพทย์เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามมีบางการศึกษาวิจัยที่ออกมาชี้แจงว่า:

โรคซึมเศร้า

มีหลักฐานที่ดีที่ว่าเซนต์จอห์น เวิร์ตอาจช่วยลดอาการของโรคในคนที่ป่วยด้วยโรคซึมเศร้าระดับอ่อนถึงปานกลางแต่ไม่รุนแรง(หรืออาการหลัก) ในการศึกษาอันหลากหลายดูเหมือนว่า มันจะออกฤทธิ์เหมือนยากลุ่ม (SSRIs)เป็นกลุ่มยาต้านโรคซึมเศร้าที่ได้รับความนิยมมากที่สุดและที่มีการถูกสั่งบ่อยที่สุดเพื่อรักษาโรคซึมเศร้า ยากลุ่ม SSRIs รวมถึง ฟลูโอเซทีน(โปรแซค),ซิตาโลแพรม(ซีลีซา)และเซอทราไลน์(โซลอฟ) นอกจากนี้ดูเหมือนว่าเซนต์จอห์น เวิร์ตจะไม่ส่งผลให้หมดอารมณ์ทางเพศ ซึ่งเป็นหนึ่งในอาการผลข้างเคียงที่พบมากที่สุดของยากลุ่มต้านโรคซึมเศร้า

เซนต์จอห์น เวิร์ตประกอบไปด้วยสารหลายตัวรวมถึง ไฮเปอร์ริซิน,ไฮเปอร์โฟริน และฟลาโวนอยด์ นักวิจัยไม่แน่ใจอย่างแจ่มชัดว่า เซนต์จอห์น เวิร์ต ออกฤทธิ์อย่างไร นักวิจัยบางคนแนะนำว่าสมุนไพรชนิดนนี้ทำหน้าที่คล้ายกับยา SSRIs ทำให้เพิ่มการมีอยู่ของสารเคมีในสมองที่เรียกว่า เซเรโทนีน,โดพลามิน,นอร์อิพิเนฟริน สารสื่อประสาทเหล่านี้ช่วยพัฒนาอารมณ์ได้ นักวิทยาศาสตร์คิดค้นที่ว่าไฮเปอร์ริซินมีหน้าที่รับผิดชอบแต่ในปัจจุบันพวกเขาเชื่อว่าสารเคมีอื่นในเซนต์จอห์น เวิร์ตอาจทำหน้าที่ได้ดีกว่า

ไม่ใช่ทุกกการศึกษาจะเห็นด้วยตามนี้ อย่างไรก็ตามมีการศึกษาชิ้นหนึ่งชี้ให้เห็นว่า เซนต์จอห์น เวิร์ตไม่ได้มีประสิทธิภาพมากกว่ายาหลอกเพื่อรักษาโรคซึมเศร้า แต่การศึกษานี้ควรมีน้ำหนักต่อต้านเสียงข้างมากที่ว่า ถ้าพบว่าเซนต์จอห์น เวิร์ตช่วยรักษาโรคซึมเศร้าได้ เช่นในการศึกษาแบบเดียวกันนี้ ยาโซลอฟที่ประสบความล้มเหลวในการแสดงคุณประโยชน์ในการรักษาโรคซึมเศร้าด้วยเช่นกัน การศึกษาอื่นๆอีกหลายแห่งมีการเปรียบเทียบระหว่างเซนต์ จอห์น เวิร์ต กับยาโปรแซค,ซีลีซา,บาร็อกซีไทน์(พาซิล)และโซลอฟ และพบว่าสมุนไพรชนิดนี้ออกฤทธิ์ได้เทียบเท่ากับยา ส่วนการศึกษาเรื่องนี้ยังคงดำเนินอยู่

กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน

งานวิจัยแนะนำว่าที่ว่าเซนต์จอห์น เวิร์ตอาจช่วยบำบัดอาการทั้งทางร่างกายและอารมณ์ของกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนในผู้หญิงบางคน รวมถึง อาการปวดช่องท้อง,ความหงุดหงิด,อยากอาหารและอาการเจ็บหน้าอก มีการศึกษาหนึ่งรายงานว่า 50%ของผู้บริโภคเซนต์จอห์น เวิร์ตสามารถลดความรุนแรงของอาการได้

วัยหมดประจำเดือน

ยังมีหลักฐานบางอย่างที่แนะนำว่าที่ว่าเซนต์จอห์น เวิร์ตผสมกับแบล็ค โคฮอช ช่วยผ่อนคลายอารมณ์วิตกกังวลระหว่างมีประจำเดือน

โรคซึมเศร้าที่เกิดจากผลกระทบของฤดูกาล

ใช้อย่างเดียว เซนต์จอห์น เวิร์ตช่วยให้อารมณ์ดีขึ้นในคนที่มีอาการโรคซึมเศร้าที่เกิดจากผลกระทบของฤดูกาลเป็นลักษณะของโรคซึมเศร้าที่เกิดขึ้นระหว่างฤดูหนาวเพราะไม่มีแสงแดด โรคซึมเศร้าที่เกิดจากผลกระทบของฤดูกาล โดยปกติแล้วจะใช้วิธีบำบัดกับแสงสว่าง งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าที่ว่าใช้ เซนต์จอห์น เวิร์ตด้วยกันกับวิธีรักษาด้วยแสงไฟ(phototherapy )ทำงานได้ดียิ่งขึ้น

ข้อควรระวังและข้อคำเตือน

สิ่งที่ควรรู้ก่อนใช้เซนต์จอห์น เวิร์ต

ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร ถ้าอยู่ในอาการหรือลักษณะดังต่อไปนี้:
• ตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เนื่องจากในระหว่างการมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตรจึงควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
• อยู่ในระหว่างใช้ยาชนิดอื่น รวมไปถึงยาที่สามารถซื้อได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยา
• แพ้เซนต์จอห์น เวิร์ตหรือยาอื่น หรืออาหารเสริมอื่น
• มีอาการเจ็บป่วย ความผิดปกติ หรือพยาธิสภาพอื่นๆ
• มีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์
ข้อบังคับสำหรับอาหารเสริมประเภทสมุนไพรนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับของการใช้ยา จึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาให้มากขึ้นเพื่อความปลอดภัยในการใช้ ทั้งนี้ ก่อนใช้ คุณประโยชน์ของการรับประทานอาหารเสริมประเภทสมุนไพรนี้ต้องมีค่าน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

เซนต์จอห์น เวิร์ต ปลอดภัยแค่ไหน

ในเด็ก

เซนต์จอห์น เวิร์ตน่าจะปลอดภัยเมื่อรับประทานไม่เกิน 8 สัปดาห์ สำหรับเด็กที่มีอายุ 6-17 ปี

กำลังตั้งครรภ์และให้นมบุตร

ห้ามใช้เซนต์จอห์น เวิร์ตถ้าคุณกำลังตั้งครรภ์ หรืออยู่ระหว่างให้นมบุตร เพราะว่า

ขณะที่บางการศึกษาพบว่า เซนต์จอห์น เวิร์ตสามารถส่งผลเสียหายต่อหนูที่ยังไม่เกิด ยังไม่มีใครรู้ว่ามันมีผลข้างเคียงเช่นเดียวกันในมนุษย์ที่ยังไม่เกิดในครรภ์มารดาหรือไม่

ในบางกรณีของการให้นมบุตร แม่ผู้ซึ่งรับประทาน เซนต์จอห์น เวิร์ตสามารถประสบกับโรคคอลิค(Colic) อาการง่วงนอนและอาการกระสับกระส่าย

การผ่าตัด

หยุดการใช้อย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนถึงกำหนดการผ่าตัด

ผลข้างเคียง

อะไรที่เป็นผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้เซนต์จอห์น เวิร์ต

ผลข้างเคียงที่ได้จากการใช้เซนต์จอห์น เวิร์ตคือ:

  • ท้องไส้ปั่นป่วน
  • อาการโรคลมพิษ
  • ผิวหนังคัน
  • เพลีย
  • กระสับกระส่าย
  • ปวดหัว
  • ปากแห้ง
  • เวียนศรีษะ
  • ความสับสนในจิตใจ
  • ผื่นแพ้แดด(เซนต์จอห์น เวิร์ต ยังทำให้ผิวหนังรู้สึกไวต่อแสงแดดมากเกินไปด้วย)

ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีผลข้างเคียง หากมีข้อสงสัยใดๆเกี่ยวกับผลข้างเคียงของเซนต์จอห์น เวิร์ต โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์

ปฏิกิริยาระหว่างยา

อะไรเป็นปฏิกิริยาระหว่างยาที่เกิดขึ้นกับเซนต์จอห์น เวิร์ต

ผลิตภัณฑ์อาจมีปฏิกิริยาระหว่างยาเหล่านี้ เช่น

  • ยารักษาอาการซึมเศร้า

เซนต์จอห์น เวิร์ต อาจมีปฏิกิริยาต่อยาที่ใช้รักษาอาการซึมเศร้าหรือโรคภาวะผิดปกติทางอารมณ์ รวมถึงยากลุ่ม ไทรซิคลิค แอนตี้ดีเพรสแซนท์,SSRIs,และโมโนเอมีน ออกซิเดส(MAOIs)รับประทานเซนต์จอห์น เวิร์ตร่วมกับยาเหล่านี้โน้มน้าวให้เกิดผลข้างเคียงเพิ่มขึ้น และยังสามารถนำไปสู่สภาพที่เป็นอันตรายที่เรียกว่า กลุ่มอาการเซเรโทนิน ห้ามรับประทานเซนต์จอห์นเวิร์ตร่วมกับยาต้านโรคซึมเศร้าอื่นๆ ดังนี้

-SSRIs:ซิตาโลแพรม(ซิลีซา),เอสซิตาโลแพรม(เลซาโปร),ฟลูว๊อกซามีน(ลูว๊อกซ์),พาโรเซทีน(พาซิล),ฟลูโอเซทีน(โปรแซค),เซอทราลีน(โซลอฟ)

-ไทรไซคลิค:อะมิทริปไทลีน(อีลาวิล),นอร์ทิปไทลีน(พาเมลอร์),อิมิพรามีน(โทฟานิล)

- MAOIs:ฟีเนลซีน(นาร์ดิล),ทรานิลไซโพรไมน์(พาร์เนต)

-นีฟาโซโดน(เซอโซน)

  • แพ้ยาต้านฮิสตามิน

เซนต์จอห์น เวิร์ตอาจลดระดับการออกฤทธิ์ของยาเหล่านี้ในร่างกาย ทำให้ยาเหล่านี้มีประสิทธิภาพน้อยลง

-โลราทาดีน(คลาริติน)

-เซติริซีน(ไซเทค)

-เฟกโซเฟนาดีน(อัลเลกร้า)

  • โคลพิโดเกรล(พลาวิทซ์)

ตามทฤษฎีแล้วการรับประทานเซนต์จอห์น เวิร์ตควบคู่กับโคลพิโดเกรลอาจทำให้เพิ่มความเสี่ยงของการตกเลือด

  • เดกซ์โทรเมทอร์แฟน(ยาบรรเทาอาการไอแบบไม่มีเสมหะ)

รับประทานเซนต์จอห์น เวิร์ตพร้อมกันกับเดกซ์โทรเมทอร์แฟน ยาบรรเทาอาการไอ ในหลายที่ซึ่งการซื้อขายกันโดยตรงในยาแก้ไอและยาลดไข้ สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อผลข้างเคียงรวมไปถึงกลุ่มอาการเซเรโทนีน

  • ไดโกซิน

เซนต์จอห์น เวิร์ตอาจลดระดับการออกฤทธิ์ของยาที่รักษา และทำให้ยาเหล่านี้มีประสิทธิภาพน้อยลง

ห้ามรับประทานเซนต์จอห์ เวิร์ตถ้าคุณกำลังรับประทานยาไดโกซิน

  • ยาที่ระงับระบบภูมิคุ้มกัน

เซนต์จอห์น เวิร์ตสามารถลดประสิทธิภาพของยาเหล่านี้ ซึ่งเป็นการรับประทานภายหลังการปลูกถ่ายอวัยวะ หรือเพื่อควบคุมโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง ขณะนี้ยังมีรายงานว่าไซโคสปอรีนทำให้ระดับเลือดตกในกลุ่มคนที่มีการปลูกถ่ายหัวใจและไต แม้แต่เป็นการชี้นำเพื่อปฏิเสธอวัยวะที่ถูกปลูกถ่ายแล้ว

-อะดาลิมูแมบ(ฮูมิรา)

-อะซาทิโอพริน(อิมูรัน)

-ไซโคลสปอรีน

-อีทาเนอร์เซ็นต์(เอ็นเบรล)

-เมโธเทรกเซท

-ไมโคฟีโนเลต โมฟีทิล(เซลเซปต์)

-ทาโครลิมัส(โปรกราฟ)

  • ยาต้านเอชไอวี

เซนต์จอห์น เวิร์ตแสดงปฏิกิริยากับยาอย่างน้อย 2 ประเภทที่ใช้รักษา เอชไอวีและเอดส์ โปรตีเนสอินฮิบิเตอร์ ยารีเวอร์สทรานคริปเทสอินฮิบิเตอร์ องค์การจัดการด้านอาหารและยาให้คำแนะนำว่าที่ว่าเซนต์จอห์น เวิร์ตไม่ควรนำไปใช้กับยาประเภทต้านรีโทรไวรัสที่ใช้รักษาเอชไอวี หรือเอดส์

  • ยาคุมกำเนิด

ขณะนี้มีรายงานให้เห็นถึงการค้นพบการเลือดออกในผู้หญิงที่รับประทานยาคุมกำเนิดผู้ซึ่งรับประทานเซนต์จอหืน เวิร์ตไปด้วย มีความเป็นไปได้ที่ว่าสมุนไพรชนิดนี้อาจทำให้ยาคุมกำเนิดประสิทธิภาพลดลง นำไปสู่การตั้งครรภ์โดยทันที

  • กรดอะมิโนเลวูลินิก

การรักษาชนิดนี้อาจทำให้ผิวของคุณไวต่อแสงแดด เซนต์จอห์นเวิร์ตยังเพิ่มความไวต่อแสงของผิวหนัง พร้อมกันนี้มันอาจทำให้ส่งผลต่อผิวที่ไวต่อแสงอาทิตย์

  • รีเซอร์ไพน์

ตามข้อมูลอ้างอิงจากการศึกษาวิจัยในสัตวื เซนต์จอห์น เวิร์ตอาจเข้าไปแทรกแซงความสามารถของยารีเซอรืไพน์ เพื่อรักษาความดันโลหิตสูง

  • เซดาทีฟ

เซนต์จอห์น เวิร์ตสามารถเพิ่มผลกระทบของยาที่มีฤทธิ์ทำให้ระงับประสาทอย่างแรง รวมถึง

-ยากันชัก เช่น ยาเฟนิโทอิน(ไดแลนติน)กรดวาลโปรอิก(ดีปาโก๊ต)

-บาร์บิทูเรต

-เบนโซไดอะซีปีน เช่น ไดซีแพม (วาเลียม)

-ยาที่ใช้รักษาโรคนอนไม่หลับ เช่น โซพิด็ม(แอมเนียม),ซาเลปลอน(โซนาต้า),เอสโซปลิโคน(ลูเนซา),และราเมลธิออน(โรซีเร็ม)

-ไทรไซคลิค แอนตี้ดีเพรสแซนท์(Tricyclic antidepressants) เช่น ยาอะมิทริปไทลีน(อิลาวิล)

-แอลกอฮอล์

  • อัลปราโซแลม(ซาแน็กซ์)

เซนต์จอห์น เวิร์ต อาจเร่งความอ่อนแอของยาซาแน็กซ์ในร่างกาย ทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลง

  • ทิโอฟิลลีน

เซนต์จอห์น เวิร์ตสามารถลดระดับยาตัวนี้ในเลือด ทิโอฟิลลีนเป้นการใช้แพร่หลายในสายการบินในคนที่ป่วยเป็นโรคหอบหืด,ถงลมโป่งพอง,และโรคหลอดลมอักเสบ

  • ทริปแทน(ใช้เพื่อรักษาโรคไมเกรน)

เซนต์จอห์น เวิร์ตสามารถเพิ่มความเสี่ยงของข้างเคียง รวมถึง กลุ่มอาการเซเรโทนีน เมื่อรับประทานยาเหล่านี้:

-นาราทริปแทน(อเมอร์ท)

-ริซาทริปแทน(มาซาลท์)

-ซูมาทริปแทน(อิมเทร็กซ์)

-โซลมิทริปแทน(โซมิก)

  • ยาวาฟาริน (คูมาดิน)

เซนต์จอห์น เวิร์ตลดประสิทธิภาพของยาวาฟาริน,แอนตี้โคลกูแลนท์(ยาเจือจางเลือด)

  • ยาอื่นๆ

อันเนื่องมาจากว่าเซนต์จอห์น เวิร์ตเป็นตัวทำให้บางส่วนของเอนไซม์ที่ทำงานในตับล้มเหลวและยังมีปฏิริยาต่อยาอื่นที่ว่าเอนไซม์ชนิดเดียวกันทำงานล้มเหลว ซึ่งมีรายการยาดังนี้:

-ยาแอนตี้ฟันกัล(Antifungal drugs) เช่น คีโตโคนาโซล(ไนโซรัล),อินทราโตนาโซล(สปอราน๊อกซ์),ฟลูโคนาโซล(ไดฟลูแคน)

-ยาสเตติน(ยาช่วยลดคลอเลสเตอรอล) รวมถึง อะโทรวาสเตติน(ลิปิเตอร์), โลวาสเตติน(มีวาเคอร์),และซิมวาสเตติน(โซคอร์)(Zocor)

-อิมาทินิบ(กลีแวค)

-อิริโนทีแคน(แคมป์โทซาร์)

-ยากลุ่มช่วงบล็อคแคลเซี่ยม (รับประทานเพื่อลดความดันโลหิต)

-ยาชนิดอื่นที่ทำให้ตับล้มเหลว

ขนาดยา

ข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้ใช้แทนคำแนะนำทางการ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยานี้ทุกครั้ง

ขนาดปกติของการใช้เซนต์จอห์น เวิร์ตอยู่ที่เท่าไร

ผู้ใหญ่

สำหรับโรคซึมเศร้าระดับอ่อนและโรคภาวะผิดปกติทางอารมณ์

ขนาดปกติของสมุนไพรแห้งชนิดนี้(บรรจุในแคปซูล หรือ เม็ด)คือ ขนาด 300 มิลลิกรัม(ต่อมาตราฐานที่ 0.3% ของสารสกัดไฮเปอร์ริซิน) 3 เวลาต่อวัน พร้อมอาหาร เซนต์จอห์น เวิร์ตพร้อมจำหน่ายในรูปแบบแคปซูล อาจต้องใช้เวลาประมาณ 3 – 6 สัปดาห์เพื่อรู้สึกถึงผลที่ได้รับจากเซนต์จอห์น เวิร์ต

สำหรับรักษาแผล

ขี้ผึ้งประกอบด้วยสารสกัด เซนต์จอห์น เวิร์ตอยู่ 5% ทาลงบนผิวหนัง 3 เวลาทุกวัน เริ่มภายใน 24 ชม.หลังจาก ซี เซคชั่น(C-Section)และใช้ต่อเนื่องไป 16 วัน

เด็ก(อายุต่ำกว่า 18 ปี)

สำหรับ เอดีเอชดี(ADHD)

เซนต์จอห์น เวิร์ต 300 กรัม (ขนาดมาตราฐานคือ 0.3% ไฮเปอร์ริซิน)ที่เคยใช้ในเด็ก 3 เวลาทุกวัน และใช้ต่อไปถึง 8 สัปดาห์ ปราศจากข้อเท็จจริงของคุณประโยชน์ที่ได้รับ

สำหรับโรคซึมเศร้าอ่อนจนถึงปานกลาง

รับประทาน เซนต์จอห์น เวิร์ต 150-300 มิลลิกรัม 3 เวลา ทุกวันเป็นเวลา 8 สัปดาห์ในเด็กที่มีอายุระหว่าง 6-17 ปี

สารสกัดเซนต์จอห์น เวิร์ต (LI 160,ลิชเวอร์ ฟาร์มา(Lichtwer,Pharma)) 300-1800 มิลลิกรัม ขนาดแบ่งใช้ 3 ครั้ง รับประทานทุกวัน ใช้มากกว่า 6 สัปดาห์ขึ้นไป

ปริมาณการใช้เซนต์จอห์น เวิร์ตอาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ ปริมาณใช้ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ สุขภาพและพยาธิสภาพอื่น ๆ อาหารเสริมประเภทสมุนไพรไม่ได้ปลอดภัยเสมอไป โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์เพื่อทราบปริมาณยาที่เหมาะสม

เซนต์จอห์น เวิร์ตจำหน่ายในรูปแบบใดบ้าง

  • แคปซูล
  • เม็ด
  • ยาทิงเจอร์
  • ชา
  • น้ำมันโลชั่นทาผิว
  • สับหรือผงเพื่อกลายเป็นสมุนไพรชนิดแห้ง

 

 

เซนต์จอห์น เวิร์ต http://umm.edu/health/medical/altmed/herb/st-johns-wort  การเข้าถึง

ธันวาคม 26,2016

เซนต์จอห์น เวิร์ต http://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/st-johns-wort/dosing/hrb-20060053.    การเข้าถึง ธันวาคม26,2016

เซนต์จอห์น เวิร์ต https://www.drugs.com/cdi/st-john-s-wort.html.  การเข้าถึง ธันวาคม26,2016

24/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว