เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / ดูแลเด็กโรคเบาหวานอย่างไร เมื่อต้องไกลแพทย์
โดย : วณิชชา สุมานัส
ทบทวนบทความโดย : ทีมแพทย์จากเช็คสุขภาพ
ดูแลเด็กโรคเบาหวานอย่างไร เมื่อต้องไกลแพทย์

การดูแลเด็กโรคเบาหวานสำหรับที่บ้าน

สมาชิกในครอบครัวต้องใช้เวลาและความอดทนในการปรับตัว ทุกคนในบ้านอาจจะต้องตื่นให้เช้าขึ้นสักเล็กน้อยเพื่อปรับตัวกับกิจวัตรใหม่ ลูกของคุณอาจไม่สามารถนอนดึกได้ในช่วงสุดสัปดาห์ ในช่วงแรกคุณต้องวางแผนเกี่ยวกับมื้ออาหารล่วงหน้าและทำอย่างเป็นธรรมชาติ และต้องจำไว้ว่าคุณต้องเตรียมอาหารเสริมให้ลูกเมื่อเขาไม่ได้อยู่บ้าน ในระยะยาวการเปลี่ยนแปลงนี้จะเป็นไปตามธรรมชาติ

คุณพ่อคุณแม่ควรช่วยกันดูแลลูกน้อยที่เป็นโรคเบาหวานด้วยกันเมื่อใดก็ตามที่เป็นไปได้ เนื่องจากคุณพ่อคุณแม่คนใดคนหนึ่งอาจเกิดความเหนื่อยล้าและความเครียดจากการวางแผนและทำหน้าที่เพียงคนเดียวทั้งหมด ทั้งคู่ควรช่วยกันประคับประคองเพื่อป้องกันความเหนื่อยหน่ายด้วยการแบ่งหน้าที่ ควรสลับกันพักผ่อนหลังจากที่ดูแลลูกน้อยหรือช่วยกันวางแผนและอธิบายหน้าที่ที่เคยทำมาก่อนซึ่งกันและกัน ลูกน้อยจะได้รับประโยชน์จากการเติบโตในครอบครัวที่มีการแบ่งปันความรับผิดชอบซึ่งกันและกัน

หากเป็นครอบครัวที่เป็นคุณพ่อเลี้ยงเดี่ยวหรือคุณแม่เลี้ยงเดี่ยว สมาชิกในครอบครัวหรือเพื่อนสนิทสามารถช่วยดูแลลูกน้อยได้เป็นครั้งคราว บางครั้งอาจจ้างพี่เลี้ยงเด็ก แต่ต้องมั่นใจว่าพี่เลี้ยงเด็กมีประสบการณ์ในการดูแลเด็กที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานได้ ทีมดูแลผู้ป่วยสามารถช่วยดูแลในขั้นตอนนี้ได้

ปัญหาที่สมาชิกในครอบครัวอาจพบเจอ คือ การเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตและการควบคุมชีวิตต่างๆ ปัญหานี้อาจแก้ไขได้ด้วยการปรึกษากับทีมดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน การช่วยเหลือที่ดีที่สุดคือ ความช่วยเหลือจากปู่ย่าตายาย ป้า น้า ลุง ญาติพี่น้อง เพื่อน หรือแม้กระทั้งทีมดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ฉะนั้นอย่าลังเลที่จะขอความช่วยเหลือจากพวกเขา

ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในครอบครัวที่ต้องดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน

การจัดการกับโรคเบาหวานระดับที่ 1 อาจส่งผลกระทบต่อครอบครัวและการทำงานเป็นอย่างมาก  ปัจจัยที่อาจเปลี่ยนแปลงสุขภาพสมาชิกในครอบครัว ได้แก่

  • สมาชิกในครอบครัวแบ่งหน้าที่กัน
  • รู้สึกเป็นครอบครัวเดียวกัน
  • ความขัดแย้งเล็กๆ น้อยๆ ในครอบครัว
  • การดูแลเด็กอย่างสม่ำเสมอ

เมื่อครอบครัวเกิดความเครียดสะสมมากมาย ก็เป็นเรื่องยากที่จะนึกถึงสาเหตุและแก้ปัญหาได้ อาจส่งผลต่อผู้ป่วยโรคเบาหวานเช่นกัน ทัศนคติที่ดีต่อสุขภาพของคุณพ่อคุณแม่เป็นสิ่งสำคัญมากที่จะช่วยให้ลูกน้อยปรับตัวได้ เด็กสามารถรับรู้และไว้ต่อความรู้สึกที่ได้รับจากพ่อแม่ เมื่อคุณพ่อคุณแม่คาดหวังและยอมรับกับแนวทางการจัดการโรคเบาหวาน ลูกน้อยก็จะยอมปฏิบัติตามเช่นกัน นอกจากนี้ยังสามารถช่วยแก้ปัญหาและพัฒนาแนวทางในการเผชิญกับความเครียดในชีวิตได้

ทัศนคติและความเชื่อ

ครอบครัวจะรับมือกับโรคเบาหวานได้อย่างไรบ้าง ขึ้นอยู่กับทัศนคติและความเชื่อของพวกเขา ครอบครัวที่มองว่าโรคเบาหวานมีความร้ายแรงจะสามารถรับมือและจัดการได้ดีกว่า ครอบครัวอาจเผชิญกับเวลาที่ยากลำบากหากรู้สึกไม่สบายใจ ไม่แน่ใจว่าจะสามารถรับมือได้หรือไม่ และคิดถึงแต่ผลลัพธ์ที่เลวร้ายในอนาคต ทัศนคติและความเชื่อเหล่านี้อาจได้รับอิทธิพลมาจากประสบการณ์ในครอบครัวที่ผ่านมา ครอบครัวอาจรู้จักใครบางคนที่เคยมีช่วงเวลาที่ยากลำบากเกี่ยวกับโรคเบาหวานจึงทำให้รู้สึกไม่ดีกับอาการของลูกน้อย หากครอบครัวมีอาการหรือมีความรู้สึกเหล่านี้ ควรปรึกษาทีมดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานเพื่อช่วยให้ครอบครัวเปลี่ยนทัศนคติและมุมมองใหม่ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้พัฒนาสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานอย่างต่อเนื่องในทางที่ดี ซึ่งสามารถลดโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนในอาการของลูกน้อยในอนาคตได้

การควบคุมดูแลและอิสระ

ทั้งคุณและลูกน้อยจะต้องเรียนรู้ทักษะและหน้าที่ใหม่ๆ ความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้สามารถเปลี่ยนความสัมพันธ์ในครอบครัวได้ หากลูกน้อยยังเล็กมาก หน้าที่ความรับผิดชอบอาจตกอยู่ที่คุณทั้งหมด อย่างไรก็ตามเมื่อเด็กโตขึ้น เด็กจะค่อยๆ เริ่มดูแลตัวเองได้และคุณพ่อคุณแม่จะเปลี่ยนไปเป็นการดูแลร่วมกัน และในท้ายที่สุด เด็กจะเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่และสามารถหาค่ารักษาโรคเบาหวานได้เอง

ไม่ควรให้ลูกของคุณรับผิดชอบหน้าที่มากจนเกินไป เมื่อเด็กมีความรับผิดชอบเพิ่มขึ้นแล้วค่อยๆ เพิ่มหน้าที่ให้ หากคุณพ่อคุณแม่ไม่ช่วยเหลือหรือสนับสนุน อาจทำให้อาการของโรคเบาหวานมีปัญหามากขึ้น

ผลกระทบทางอารมณ์ระหว่างพี่น้อง

พี่น้องจะมีความรู้สึกทางอารมณ์เช่นเดียวกับสมาชิกคนอื่นๆ ในครอบครัว เด็กๆ อาจรู้สึก

  • โทษว่าพี่หรือน้องเป็นเบาหวาน แต่เขาไม่เป็น
  • กลัวว่าตนเองจะได้รับเชื้อหรือพี่น้องอาจจะป่วย
  • โกรธที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ซื้อธัญญาหารที่มีน้ำตาล หรือไม่ซื้อเค้กช็อกโกแลตให้ทาน
  • อิจฉาพี่หรือน้องที่ได้รับความสนใจทั้งหมด
19/03/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว