เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและการตั้งครรภ์
โดย : วณิชชา สุมานัส
ทบทวนบทความโดย : ทีมแพทย์จากเช็คสุขภาพ
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและการตั้งครรภ์

การเป็นโรคความดันโลหิตสูง – ไม่ว่าจะก่อนหรือหลังจากการตั้งครรภ์,นั้นก็จำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษเพราะจะส่งผลทั้งแม่ และเด็ก นี้คือสิ่งที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับอาการ

  1. ความแตกต่างของอาการของโรคความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์

อาการความดันโลหิตสูงนั้นอาจรุนแรงขึ้นก่อนการตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม นี้คือกรณีที่อาการนั้นหนักขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ ประเภทของโรคความดันโลหิต

  • ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ : สตรีมีครรภ์นั้นจะมีความรุนแรงของอาการเพิ่มขึ้นในประมาณช่วงเวลาหลังจาก 20 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ ไม่มีอาการความผิดปกติของอวัยวะภายใน หรือตรวจไม่พบว่ามีโปรตีนส่วนเกินออกมาทางปัสสาวะ สตรีมีครรภ์ที่มีโรคความดันโลหิตสูงนั้นจะสามารถมีอาการครรภ์เป็นพิษได้
  • ความดันโลหิตสูงซึ่งพบก่อนการตั้งครรภ์ : นี่คืออาการของโรคความดันโลหิตสูงที่เป็นมาอยู่ก่อนการตั้งครรภ์แล้ว หรือพัฒนาต่อเนื่องมาจากช่วง 20 สัปดาห์แรก อย่างไรก็ตาม อย่างที่มันไม่ได้แสดงอาการออกมาอย่างชัดเจน มันอาจจะยากต่อการระบุได้เมื่อมีอาการ
  • โปรตีนรั่วในปัสสาวะที่เกิดขึ้นใหม่ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีความดันโลหิตสูงอยู่แต่เดิม : เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อผู้ใหญ่ที่มีความดันโลหิตสูงอยู่แล้วก่อนการตั้งครรภ์ และทำให้อาการความดันโลหิตสูงนั้นหนักขึ้น หรือมีอาการแทรกซ้อนในอนาคตในระหว่างการตั้งครรภ์
  • ครรภ์เป็นพิษ : คือภาวะแทรกซ้อนในระหว่างการตั้งครรภ์ที่ส่งผลมาจากอาการความดันโลหิตสูง และมีสัญญาณว่าจะเป็นอันตรายต่ออวัยวะภายใน จะเกิดขึ้นกับผู้หญิงที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงอยู่ก่อนแล้ว หรือมีเป็นโรคความดันโลหิตสูงในระหว่างตั้งครรภ์หลังจาก 20 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ ถ้าไม่ได้การรักษา มันสามารถนำไปสู่การเกิดอันตรายร้ายแรงต่อแม่ และลูกได้
  1. ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ของการมีภาวะความดันโลหิตสูงในระหว่างตั้งครรภ์

นี่คือความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นกับสตรีมีครรภ์ที่มีอาการความดันโลหิตสูง

  • ลดการไหลเวียนของเลือดไปที่รก : ทำให้การเปลี่ยนถ่ายออกซิเจน และสารอาหารสำหรับทารกลดลง ซึ่งท้ายที่สุดก็จะส่งผลให้เจริญเติบโตช้า น้ำหนักตอนคลาดน้อย หรือแม้แต่การคลอดก่อนกำหนด
  • รกลอกตัวก่อนกำหนด : สภาวะครรภ์เป็นพิษของแม่นั้นมีความเสี่ยงสูงต่ออาการนี้ การลอกตัวที่รุนแรงนั้นจะส่งผลต่อการเสียเลือดมากเกินไป และเป็นผลเสียต่อรก ซึ่งทำให้ชีวิตของแม่ และเด็กมีความเสี่ยง
  • คลอดก่อนกำหนด : การทำคลอดก่อนกำหนดนั้นอาจจำเป็นเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ
  • โรคหัวใจ และหลอดเลือดในอนาคต : สภาวะครรภ์เป็นพิษของแม่นั้นมีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดตามมา ความเสี่ยงนั้นอาจจะสูงขึ้นถ้าแม่มีภาวะครรภ์เป็นพิษหลายอย่าง หรือคลอดก่อนกำหนด
  1. การใช้ยาสำหรับโรคความดันโลหิตสูงในระหว่างการตั้งครรภ์

การรักษาโรคความดันโลหิตสูงนั้นจำเป็นสำหรับทั้งคุณ และลูกของคุณ เพราะความดันโลหิตสูงนั้นนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้ อย่างไรก็ตาม การใช้ยานั้นจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดในระหว่างการตั้งครรภ์ เพราะมันสามารถส่งผล และกระทบไปถึงลูกของคุณได้ แม้ยาบางตัวสำหรับการรักษาโรคความดันโลหิตสูงนั้นจัดอยู่ในกลุ่มที่ปลอดภัยสำหรับสตรีมีครรภ์ แต่ก็มีบางตัวเช่น กลุ่มยาที่ยับยังแองจิโอเทนซิน-คอนเวอร์ติง เอนไซม์ แองจิโอเทซิน รีเซพเตอร์ บล็อกเกอร์ (Angiotensin Receptor Blocker) นั้นควรหลีกเลี่ยงสำหรับสตรีมีครรภ์ คุณควรปรึกษาแพทย์ของคุณในการใช้ยา ทำตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด และห้ามหยุดยา หรือปรับเปลี่ยนประมาณของยาโดยที่แพทย์ไม่ได้แนะนำ

  1. การคลอด และการทำคลอด
  • แพทย์ของคุณอาจจะแนะนำให้คุณเลื่อนกำหนดการคลอดของคุณให้เร็วขึ้นเพื่อลดภาวะแทรกซ้อน ในบางกรณี อาจจำเป็นต้องผ่าตัดคลอด
  1. ข้อกังวลหลังคลอด

คุณจำเป็นต้องคอยวัดความดันโลหิตเป็นประจำหลังทำการคลอด ถ้าค่าที่อ่านได้นั้นปกติก่อนการตั้งครรภ์ ค่าที่วัดได้หลังจากคลอดแล้วก็จะกลับมาเป็นปกติ อย่างไรก็ตาม จำไว้ว่าคุณมีแนวโน้มที่จะมีความดันโลหิตสูงในการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป หรือในอนาคต ถ้าค่าที่อ่านได้นั้นไม่กลับไปสู่ปกติ คุณนั้นอาจจะเป็นโรคความดันโลหิตสูงหลังการตั้งครรภ์ ไม่ใช่ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ในกรณีนี้ การรักษานั้นสำคัญมากเพื่อจะทำให้ความดันโลหิตกลับไปเป็นปกติ

การให้นมบุตรเองนั้นถูกแนะนำอย่างมากสำหรับผู้หญิง, แม้แค่คนที่มีรับประทานยาสำหรับโรคความดันโลหิตสูง อย่างไรก็ดี ควรคุยกับแพทย์ของคุณ เพื่อที่ เขา/เธอ จะสามารถแนะนำประมาณยาที่ปลอดภัย หรือวิธีการรักษาอย่างอื่น ในบางกรณี แพทย์ของคุณอาจจะแนะนำไม่ให้คุณให้นมบุตรเองหลังจากที่รับประทานยา

การมีโรคความดันโลหิตสูงในขณะตั้งครรภ์นั้นสามารถกลายมาเป็นปัญหาแทรกซ้อนทางสุขภาพร้ายแรงได้ทั้งกับคุณ และลูกของคุณ เริ่มทำตามคำแนะนำและควบคุมอัตราความดันโลหิตของคุณตอนนี้ และคุยกับผู้ให้คำปรึกษาทางการแพทย์ของคุณเกี่ยวกับอาการที่คุณมีเพื่อรับคำแนะนำที่ดีที่สุด

19/03/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว