เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / เราสามารถต่อสู้กับอาการอ่อนเพลียจากโรคมะเร็งปอดได้อย่างไร
โดย : วณิชชา สุมานัส
ทบทวนบทความโดย : ทีมแพทย์จากเช็คสุขภาพ
เราสามารถต่อสู้กับอาการอ่อนเพลียจากโรคมะเร็งปอดได้อย่างไร

อาการอ่อนเพลีย หรืออ่อนล้า อาจเกิดขึ้นในผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่อยู่ระหว่างการรักษาโรคมะเร็ง อาการอ่อนล้านี้ เป็นผลมาจากผลข้างเคียงของการรักษา หรือเกิดจากตัวมะเร็งเอง วิธีการดังต่อไปนี้ จะสามารถช่วยจัดการกับอาการอ่อนเพลียจากโรคมะเร็งปอดได้

รักษาอาการอ่อนเพลียด้วยการรักษาพลังงานของร่างกาย

อาการอ่อนเพลีย เป็นอาการที่ร่างกายขาดพลังงาน ดังนั้นคุณควรรักษาพลังงานของร่างกายไว้เพื่อต่อสู้กับอาการอ่อนเพลีย คุณควรใช้พลังงานเพื่อทำสิ่งที่สำคัญกับคุณในแต่ละวัน เช่น การทำงานอดิเรก ทำอาหาร หรือ การทำความสะอาดบ้านเล็กๆน้อยๆ และไม่ต้องรู้สึกอายที่จะขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นในการดูแลงานบ้านให้

อาจมีบางครั้งที่คุณรู้สึกเหนื่อยมากกว่าปกติ โดยเฉพาะในประเทศที่จัดสรรเวลานอนออกเป็น 2 ช่วงเวลา (biphasic sleep schedule) หรือการงีบหลับในเวลากลางวัน ซึ่งผู้คนอาจรู้สึกเหนื่อยมากกว่าปกติในช่วงเวลากลางวันหรือเวลาบ่าย คุณอาจจัดรูปแบบเวลาการนอน เช่น เมื่อคุณรู้สึกเหนื่อยมากกว่าปกติ เวลานั้นคุณควรงีบหลับเพื่อพักผ่อน

การเป็นมะเร็งไม่ได้หมายความว่าคุณไม่สามารถออกไปข้างนอกบ้านหรือทำกิจกรรมสนุกๆได้ อย่างไรก็ตาม คุณควรทำกิจกรรมที่ง่ายๆ และรู้ข้อจำกัดของตัวเอง คุณอาจไม่สามารถกระโดดร่มได้ แต่อาจนั่งพักผ่อนริมลำธาร ทำงานในสวน หรือนั่งปิคนิคที่สวนสาธารณะก็เป็นความคิดที่ดี

รักษาอาการอ่อนเพลียด้วยสารอาหาร

การรักษาโรคมะเร็งอาจทำให้คุณไม่สามารถควบคุมน้ำหนักได้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นจากการรักษา ในขณะที่บางส่วนอาจน้ำหนักลด คุณอาจไม่สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ อันเนื่องมาจากผลข้างเคียงของการรักษา เช่น อาการคลื่นไส้ อาเจียน และโรคการรับประทานอาหารผิดปกติ หรืออะนอเร็กเซีย คุณและครอบครัวควรมั่นใจว่าอาหารที่รับประทานในแต่ละมื้อมีแคลอรี่ ของเหลว โปรตีน หรือสารอาหารที่สำคัญอื่นๆ อย่างเพียงพอเพื่อเพิ่มพลังงานของร่างกาย

รักษาอาการอ่อนเพลียด้วยการออกกำลังกาย

เมื่อคุณรู้สึกไม่มีแรง หรือไม่อย่างลุกออกจากเตียง วิธีการที่ดีอีกวิธีหนึ่งในการรักษาพลังงานของร่างกายคือการออกกำลังกาย มีข้อพิสูจน์ว่าการออกกำลังกายจะช่วยกระตุ้นการสร้างสารอะดรีนาลีน ซึ่งเป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ทำให้คุณรู้สึกดี การออกกำลังกายยังช่วยให้คุณหลับสบาย และลดโอกาสการเกิดโรคซึมเศร้าจากการรักษาได้เช่นกัน

รักษาอาการอ่อนเพลียด้วยการบำบัด

สุขภาพจิตมีความสัมพันธ์โดยตรงกับระดับพลังงานของร่างกาย เป็นเรื่องปกติที่ผู้ป่วยมะเร็งปอดจะเผชิญกับความเครียด ความกังวล และโรคซึมเศร้า อาหารเหล่านี้จะทำให้คุณรู้สึกเหนื่อยล้ายิ่งไปกว่าเดิม การเข้ารับคำปรึกษา เข้าร่วมกลุ่มช่วยเหลือ (support group) หรือเรียนรู้เทคนิคการจัดการความเครียด จะช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งในการจัดการกับอารมณ์ และช่วยฟื้นฟูความแข็งแรงของร่างกายตามลำดับ

การนอนไม่เพียงพอ เป็นสาเหตุสำคัญของอาการอ่อนเพลีย คุณอาจฝึกเทคนิคในการผ่อนคลายร่างกาย บำบัดด้วยการนวด หรือฝึกโยคะ จะช่วยให้การนอนหลับดีขึ้น นอกจากนี้ คุณอาจต้องเปลี่ยนแหลงพฤติกรรม เช่น จำกัดปริมาณคาเฟอีนในช่วงเช้า งีบหลับในระยะเวลาสั้นๆ เข้านอนและตื่นนอนให้ตรงต่อเวลาทุกวัน จะช่วยให้การนอนของคุณดีขึ้น

ผู้ป่วยมะเร็งส่วนใหญ่มักไม่บอกแพทย์ถึงอาการอ่อนเพลียที่เกิดขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นอันตรายได้ คุณควรปรึกษาแพทย์เมื่อมีอาการสับสน มึนงง หรือสูยเสียการทรงตัวจากอาการอ่อนเพลีย

19/03/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว