เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / จัดการอารมณ์ในวัยรุ่นเมื่อเป็นมะเร็งปอด
โดย : วณิชชา สุมานัส
ทบทวนบทความโดย : ทีมแพทย์จากเช็คสุขภาพ
จัดการอารมณ์ในวัยรุ่นเมื่อเป็นมะเร็งปอด

สำหรับวัยรุ่นแล้ว การจัดการกับโรคมะเร็งปอดอาจเป็นเรื่องยาก เพราะนอกจากร่างกายจะเกิดความเปลี่ยนแปลง สภาวะอารมณ์ก็ยังแปรปรวนตามไปด้วยเมื่อพวกเขารับทราบการวินิจฉัย และอยู่ระหว่างการรักษา ดังนั้น ครอบครัว เพื่อนฝูง วัยรุ่นที่เป็นมะเร็งคนอื่นๆ รวมไปถึงทีมแพทย์เพื่อสุขภาพ จึงเป็นแรงสนับสนุนหลักที่สำคัญต่อวัยรุ่นด้วยวิธีการที่ต่างกันออกไป

การพูดคุยกับแพทย์และพยาบาล

การพูดคุยกับแพทย์และพยาบาล หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ อาจเป็นเรื่องยากในตอนแรก แต่หลังจากนั้นจะง่ายขึ้น เพราะคุณเข้าใจความรู้สึกของตนเองดีที่สุด ฉะนั้นจึงควรพูดคุยกับแพทย์และพยาบาลอย่างเปิดเผยและตามความเป็นจริง เพื่อที่แพทย์จะได้ช่วยเหลือคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีข้อแนะนำดังนี้

ตรงไปตรงมา คุณควรบอกแพทย์ถึงความรู้สึก ความเจ็บปวด หรือผลข้างเคียงที่คุณประสบ ทีมแพทย์เพื่อสุขภาพ ควรทราบถึงอาการของคุณเพื่อประเมินว่าคุณตอบสนองต่อการรักษาหรือไม่

เมื่อรับการรักษาที่โรงพยาบาล คุณควรบอกพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ถึงความต้องการของคุณ หากรู้สึกว่าการพูดคุยเป็นเรื่องที่ยาก อาจขอให้พ่อหรือแม่ช่วยพูดให้ นอกจากนี้ ทีมแพทย์อาจประสานงานไปให้คุณได้ติดต่อกับกลุ่มสนับสนุน ผู้ให้คำปรึกษา หรือนักบำบัด เพื่อให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

การพูดคุยกับครอบครัวและเพื่อน

พูดคุยกับคนที่คุณรู้สึกไว้ใจ เช่นเพื่อน คุณครู หรือชุมชนศาสนา พวกเขาจะเป็นกำลังใจที่สำคัญที่ช่วยให้คุณได้ระบายความคิดและความรู้สึก

การพูดคุยกับวัยรุ่นที่เป็นมะเร็งเหมือนกัน

เพราะพวกเขาต้องเผชิญกับโรคมะเร็งเหมือนกับคุณ ดังนั้นพวกเขาจะเข้าใจถึงความรู้สึกและความกังวลของคุณ นอกจากนี้ พวกเขายังสามารถแนะนำหรือแชร์ประสบการณ์ในการจัดการกับผลข้างเคียงของการรักษา ปัญหาการเรียน รวมถึงวิธีการปรึกษาแพทย์ คำแนะนำในการติดต่อกับผู้ป่วยท่านอื่นๆ มีดังนี้

  • พูดคุยกับวัยรุ่นที่เจอที่โรงพยาบาลหรือกลุ่มสนับสนุน
  • ค้นหาจากองค์กรที่ช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็ง
  • เข้าร่วมกับองค์กรที่ช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งวัยรุ่น หรือเครือข่ายสังคมออนไลน์
  • สอบถามคำแนะนำจากแพทย์และพยาบาล

ใช้สื่อออนไลน์

คุณอาจติดต่อกับคนอื่นๆผ่านกลุ่มออนไลน์หรือองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งในปัจจุบันนับว่าเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในการติดต่อสื่อสาร แม้ว่าการสนทนาผ่านเครือข่ายออนไลน์จะเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายดาย แต่คุณควรระมัดระวังเรื่องการให้ข้อมูลส่วนตัว ผู้ไม่หวังดีอาจเข้ามาพูดคุยกับคุณด้วยจุดประสงค์ที่ไม่ได้ ดังนั้นจึงควรปรึกษาผู้ปกครองเสมอ นอกจากนี้ จงอย่ากลัวที่จะซักถามข้อสงสัยกับแพทย์และพยาบาล เมื่อคุณไปอ่านเจอเกี่ยวกับสิ่งใดก็ตามที่ทำให้คุณรู้สึกกลัว หรือไม่คุ้ยเคย แผนการรักษาของผู้ป่วยแต่ละคน และการตอบสนองอาจแตกต่างกัน คุณควรหากลุ่มออนไลน์หรือองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือทางอินเทอร์เน็ต

ขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ

นอกจากคุณจะได้รับกำลังใจจากครอบครัวและเพื่อนฝูงแล้ว ผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษา นักสังคมสงเคราะห์ หรือนักบำบัด ก็สามารถช่วยให้คุณและครอบครัวได้พูดคุยถึงความรู้สึกต่างๆหลังพบว่าตนป่วยเป็นมะเร็ง โรงพยาบาลส่วนใหญ่ หรือศูนย์บำบัด จะมีผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตคอยให้คำแนะนำและฝึกให้วัยรุ่นจัดการกับอารมณ์ของตน คุณควรให้แพทย์แนะนำผู้ให้คำปรึกษาที่มีประสบการณ์ในการช่วยเหลือวัยรุ่นที่ป่วยเป็นมะเร็ง

การเขียนบันทึก

เมื่อคุณรู้สึกไม่อยากพูด การเขียนจะช่วยคุณได้ ผู้ป่วยบางท่านใช้วิธีการเขียนความคิด ความรู้สึก และความฝันลงในสมุดบันทึก บางคนอาจวาดภาพ เขียนเรื่องราว หรือแต่งกลอน คุณอาจต้องหาสมุดบันทึกสักเล่มแล้วลองเขียนบันทึกดู

19/03/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว