เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / แอนตินีโอพลาสตอน (Antineoplastons)
โดย :
ทบทวนบทความโดย :
แอนตินีโอพลาสตอน (Antineoplastons)

สรรพคุณ
แอนตินีโอพลาสตอนคือเปบไทด์ที่พบในปัสสาวะและเลือดของคนที่มีสุขภาพดี
แอนตินีโอพลาสตอนสามารถใช้บริโภค และใช้ฉีดเข้าเส้นเลือดดำหรือกล้ามเนื้อเพื่อรักษามะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งสมอง มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้และทวารหนัก มะเร็งตับ และมะเร็งปอด
แอนตินีโอพลาสตอนใช้บริโภคเพื่อรักษาอาการดังต่อไปนี้
- คอเลสเตอรอลสูง
- สมองบวมเนื่องจากติดเชื้อ (โรคไข้สมองอักเสบ)
- การติดเชื้อ HIV และโรคเอดส์ ในกรณีที่อาการยังไม่หนักมาก
- โรคพาร์กินสัน
- โรคโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงรูปเคียว
- โรคธาลัสซีเมีย
แอนตินีโอพลาสตอนใช้ฉีดเข้าเส้นเลือดดำเพื่อรักษาการติดเชื้อ HIV และโรคเอดส์ รักษาภาวะที่มีแอมโมเนียในกระแสเลือดมากเกินไป และรักษาคอเลสเตอรอลสูง
กลไกการออกฤทธิ์
ยังมีการศึกษาไม่มากพอเกี่ยวกับกลไกการออกฤทธิ์แอนตินีโอพลาสตอน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทราบข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม แอนตินีโอพลาสตอนช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันได้ และช่วยป้องกันเซลล์มะเร็งลุกลาม รวมถึงทำลายเซลล์มะเร็ง
คำเตือนและข้อควรระวัง
ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อน ในกรณีดังต่อไปนี้
- อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตร ซึ่งเป็นช่วงที่ควรได้รับยาตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น
- รับประทานยาตัวอื่นอยู่ ทั้งยาที่แพทย์สั่งและรวมถึงยาที่ซื้อได้เองโดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยา
- มีอาการแพ้แอนตินีโอพลาสตอน รวมถึงสมุนไพรและยาอื่น ๆ
- มีอาการป่วย ความผิดปกติ หรือเป็นโรคใด ๆ อยู่
- เป็นภูมิแพ้ เช่น แพ้อาหาร สีผสมอาหาร วัตถุกันเสีย หรือสัตว์ต่าง ๆ
กฎข้อบังคับในการรักษาด้วยอาหารเสริมเข้มงวดน้อยกว่าการรักษาด้วยยา แต่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความแน่นอนว่าการรักษาด้วยวิธีนี้ปลอดภัยจริง ๆ หากต้องการรักษาให้เกิดผลจำเป็นต้องคำนึงถึงความเสี่ยงก่อนใช้อาหารเสริม ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทราบข้อมูลเพิ่มเติม
ความปลอดภัย
แอนตินีโอพลาสตอน A10 และ AS2-1 อาจจะใช้บริโภคและฉีดเข้าเส้นเลือดดำได้ในปริมาณที่เหมาะสมและภายในระยะเวลาสั้น ๆ แต่ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่าแอนตินีโอพลาสตอนรูปแบบอื่น ๆ จะสามารถใช้บริโภคหรือฉีดเข้าเส้นเลือดดำได้อย่างปลอดภัยได้
แอนตินีโอพลาสตอน A10 และ AS2-1 อาจจะไม่ปลอดภัยสำหรับการบริโภคและฉีดเข้าเส้นเลือดดำในปริมาณที่มากเกินไป หรือใช้ในระยะเวลานาน และยังอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงมากขึ้น
สตรีตั้งครรภ์หรืออยู่ในระหว่างให้นมบุตรควรหลีกเลี่ยงการใช้แอนตินีโอพลาสตอน เพราะยังไม่มีข้อมูลยืนยันได้ว่าแอนตินีโอพลาสตอนจะเป็นอันตรายต่อสตรีที่ตั้งครรภ์หรืออยู่ในระหว่างให้นมบุตรหรือไม่
ผลข้างเคียง
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นเมื่อใช้แอนตินีโอพลาสตอนมีดังต่อไปนี้
หัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันโลหิตสูงขึ้น ผื่นคัน คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง เกิดแก๊สในกระเพาะ ตับมีปัญหา ข้อต่อบวม ปวดกล้ามเนื้อและปวดตามข้อต่อ อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า ปวดศีรษะ หูอื้อ เวียนหัว เป็นไข้
บางคนอาจไม่ได้รับผลข้างเคียงเช่นนี้ก็ได้ และอาจจะมีผลข้างเคียงแบบอื่นอีก หากคุณกังวลเรื่องผลข้างเคียง ควรปรึกษาแพทย์
ปฏิกิริยาระหว่างยา
แอนตินีโอพลาสตอนอาจทำปฏิกิริยากับยาที่คุณใช้เป็นประจำ หรือโรคที่เป็นอยู่ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้
ปริมาณที่ใช้
ข้อมูลต่อไปนี้ไม่ใช่คำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนจะปฏิบัติตาม
ปริมาณที่เหมาะสม
ปริมาณที่ต้องใช้ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพ และเงื่อนไขอื่น ๆ ของผู้ป่วยแต่ละราย อาหารเสริมไม่ปลอดภัยเสมอไป ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทราบปริมาณการใช้ที่เหมาะสม
รูปแบบของแอนตินีโอพลาสตอน
ส่วนมากแอนตินีโอพลาสตอนจะใช้ในห้องปฏิบัติการเท่านั้น

23/02/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว