เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / เครียดจากงาน ... อย่าให้ลามไปถึงโรคอื่น ๆ ที่รุนแรง
โดย : วณิชชา สุมานัส
ทบทวนบทความโดย : ทีมแพทย์จากเช็คสุขภาพ
เครียดจากงาน ... อย่าให้ลามไปถึงโรคอื่น ๆ ที่รุนแรง

ทุกคนย่อมมีวันแย่ ๆ กันทั้งนั้น เป็นเรื่องปกติหากจะรู้สึกเครียดบ้างในที่ทำงาน โดยเฉพาะตอนนี้มีงานที่ต้องทำให้ทันเวลาที่กำหนด อย่างไรก็ตาม หากคุณมีวันที่แย่บ่อย ๆ หรือแค่คิดว่าต้องกลับไปทำงานก็แย่อยู่แล้ว คุณอาจกำลังทุกทรมานกับความเครียดในที่ทำงานก็เป็นได้

คำว่า ”ความเครียด” ถูกใช้ครั้งแรกโดย ฮานส์ เซลย์ (Hans Selye) ผู้เชี่ยวชาญด้านต่อมไร้ท่อชางฮังการี หลังจากที่ฝึกงานด้านการแพทย์เสร็จในปี 1920 เขาเสนอว่า คำว่า “ความเครียด” เป็นอาการเครียดทางร่างกายประเภทหนึ่ง ที่เป็นสาเหตุมาจากความผิดปกติของร่างกาย อันเป็นผลมาจากการปล่อยฮอร์โมนเครียดภายในร่างกาย (เซลย์, 1977)

ความเครียดจากทำงานเป็นสภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อต้องทำงานหนักเกินความสามารถและเกินที่จะทน ซึ่งไม่เพียงแต่จะส่งผลต่อสุขภาพจิตของคนที่งานที่อยู่ภายใต้ภาวะเครียดเท่านั้น ความเครียดจากงานยังทำให้ผลิตภาพขององค์กรลดลงอีกด้วย

ตัวกระตุ้นความเครียดจากงานที่พบได้บ่อย ๆ

ตัวกระตุ้นความเครียดที่ไปกระตุ้นให้เกิดความเครียดจาดงานได้แก่

  • วัฒนธรรมองค์กร
  • การบริหารงานไม่ดี
  • งานหนัก
  • สภาพที่ทำงาน
  • ความสัมพันธ์ในที่ทำงาน
  • ไม่ได้รับความช่วยเหลือ
  • การเปลี่ยนแปลงนโยบายผู้บริหาร
  • การทำงานไม่ตรงกับหน้าที่
  • ภาวะบาดเจ็บ
  • ทำงานติดต่อกันหลายชั่วโมง
  • ระยะเวลาในการส่งงานที่กระชั้น
  • มีการกำกับงานจากหัวหน้างานมากเกิน
  • ไม่มีเครื่องมือและทรัพยากรที่อำนวยความสะดวกในการทำงานเพียงพอ
  • โอกาสในการเลื่อนขั้นมีน้อยมาก
  • การข่มขู่ คุกคาม

ตัวกระตุ้นความเครียดจากงานแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ตามลักษณะการเกิดในแต่ละคนและปัจจัยจากองค์กร ปัจจัยด้านบุคคลได้แก่ ทักษะในการทำงานของแต่ละคน สุขภาพด้านจิตวิทยา สุขภาพร่างกาย กลไกการรับมือกับความเครียด ในขณะที่ปัจจัยด้านองค์กรได้แก่ สไลต์และคำสั่งจากฝ่ายบริหาร วัฒนธรรมองค์กร ชั่วโมงทำงานและอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งจะทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของพนักงานเองและองค์กรด้วยเช่นกัน

สัญญาณที่บอกว่า พนักงานในบริษัทกำลังเครียดจากงาน

เมื่อความเครียดเกินขีดจำกัดของแต่ละคนที่จะรับได้ พนักงานบริษัทก็จะเกิดความเครียด ความเครียดจะส่งผลกระทบ่อสุขภาพด้านจิตวิทยาและสุขภาพร่างกาย และหากความเครียดทางด้านจิตวิทยานี้นี้ยังเกิดขึ้นต่อเนื่อง จะทำให้เกิดโรคทางจิตอื่น ๆ ตามมาอีกด้วย เช่น โรคหวาดระแวง โรคซึมเศร้าขั้นรุนแรงและโรคจิตเภท นอกจากนั้น ความเครียดยังจะทำลายสภาพด้านร่างกายและนำไปสู่โรคต่าง ๆ ทางร่างกายได้ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน โรคกระดูกและกล้ามเนื้อ และโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ และอื่น ๆ อีกมากมาย ดังนั้น สัญญาณของโรคจึงเกิดขึ้นได้หลากหลาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสุขภาพของแต่ละคน

ความรู้สึกหดหู่หรือลบ

แต่ละคนแสดงสิ่งลบ ๆ ออกมาในหลากหลายรูปแบบแตกต่างกัน อาจรวมทั้ง ความรู้สึกไม่ดีเกี่ยวกับตัวเองเมื่อไม่สามารถทำงานได้สำเร็จตามเป้าหมาย จากนั้น ก็จะเกิดอาการประเมินค่าตัวเองในทางลบ ซึ่งแปลว่า ที่อยุ่ในภาวะนี้จะตั้งคำถามถึงความสามารถของตัวเอง แม้กระทั้งทำอะไรผิดนิดพลาดหน่อยก็จะทำให้ตัวเองผิดหวัง ขาดความมั่นใจ และส่งผลให้เกิดความอาการซึมเศร้าและวิตกกังวลตามมา

อาการก้าวร้าว

บางคนอาจเกิดอาการปรี๊ดแตกขึ้นมาทันทีเมื่อทนกับอะไรบางอย่างไม่ไหวและพาลจะวีนทุกคนไปหมดทุกเรื่อง เรื่องตลกขำขันที่เคยทำให้ตัวเองหัวเราะได้กลับทำให้ตัวเองรู้สึกขำไม่ออก และต้องโต้กลับเพื่อให้รู้สึกไม่ให้ขายหน้าตลอด กริยาท่าทางของเพื่อนร่วมงานที่เคยแสดงออกกันอยู่ทุกวันอาจกลับกลายเป็นการกระทำที่ดูเหยียดหยามขึ้นมาทันที คนที่อยู่ในภาวะนี้จะควบคุมความโกรธไม่ได้ คนเหล่านี้จะน็อตหลุดตลอดเวลากับเรื่องไม่ใช่เรื่องในที่ทำงาน

อารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ ไม่ปกติ

วันนี้อาจมาทำงานด้วยอารมณ์สดใสและท่าทางร่างเริง แต่ผ่านไปได้ไม่ถึงครึ่งชั่วโมง กลับรู้สึกแย่และถึงกับหลั่งน้ำตาขึ้นมา เมื่อความเศร้าผ่านไป คนที่มีอาการเหล่านี้อาจจะรู้สึกขายหน้ากับท่าทีของตัวเอง และไม่รู้ว่าทำไมอารมณ์ของตัวเองจึงขึ้น ๆ ลง ๆ ได้รวดเร็วและไม่มีเหตุผล

ปัญหาด้านจิตใจ

คนที่อยู่ในภาวะนี้จะเริ่มขี้หลงขี้ลืม สมาธิกับสิ่งต่าง ๆ จะเริ่มแคบลง แม้แต่งานตัวเองก็ไม่มีสมาธิจะรับมือ อะไรที่เคยทำได้ดีหรือเชี่ยวชาญจะเริ่มไม่เหมือนเดิม คนที่อยู่ในภาวะนี้จะเริ่มสับสนกับงานที่ตัวเองเคยทำได้ดี

ไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไป

ความเครียดจากงานอาจส่งผลต่อชีวิตของคนเหล่านี้นอกเหนือจากชีวิตด้านการงานด้วย คนเหล่านี้อาจนอนผิดเวลา ซึ่งแปลว่า อาจจะนอนยาวนานขึ้นหรือนอนไม่หลับก็เป็นได้ การกินก็จะผิดเวลาไปด้วย ความหยากอาหารก็จะลดลงหรือมากขึ้นแบบไม่สามารถคาดการณ์ได้

การใช้สารเสพย์ติด

เพื่อรับมือกับความเครียด คนเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะดื่มแอลกอฮอล์หนัก หรือแม้แต่ใช้ยา บางทีอาจเกิดอาการติดสุรา ติดยาเสพย์ติด หรือทั้งสองอย่าง

มาทำงานสาย

พอไม่มีแรงจูงใจที่จะอยากมาทำงานหรือกลัวการทำงาน คนเหล่านี้จะมาทำงานสายแบบไม่รู้ตัว และมักจะอยากเลิกงานให้เร็วที่สุด

สัญญาณของความเครียดจากที่ทำงานในกลุ่มหรือองค์กร

  • มีความขัดแย้งภายในกลุ่ม
  • พนักงานลาออกบ่อยมาก
  • พนักงานร้องเรียนบ่อยมาก
  • พนักงานลาป่วยบ่อยขึ้น
  • ผลการปฏิบัติงานของพนักงานลดลง
  • ลูกค้าร้องเรียนเกี่ยวกับผลผลิต
  • การหาพนักงานใหม่ ๆ มาทดแทนก็ยากขึ้น

รับมือกับความเครียดในที่ทำงานอย่างไร

หากพบสัญญาณบางอย่างข้างต้นในตัวเอง คุณอาจจะกำลังเผชิญกับความเครียดในที่ทำงาน ควรปรึกษาผู้จัดการหรือตัวแทนสหพันธ์แรงงานในองค์กรเพื่อหาวิธีลดความเครียดลง อย่างไรก็ตาม ในขณะที่อาการเหล่านี้บ่งบอกว่าคุณกำลังเผชิญความเครียดจากที่ทำงาน อาการเหล่านี้ยังเป็นสัญญาณบอกว่าคุณกำลังเผชิญโรคอื่น ๆ อยู่อีกด้วย หากต้องเผชิญกับอาการเหล่านี้นาน ๆ คุณจำเป็นต้องเข้ารับคำปรึกษาทางด้านการแพทย์ หากอาการที่เกิดขึ้นเกิดจากการเจ็บป่วย การรักษาโรคในขณะนั้นจะช่วยให้อารมณ์ของคุณดีขึ้น หากคุณเห็นสัญญาณต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วในกลุ่มเพื่อนร่วมงาน คุณจำเป็นต้องพูดคุยกับหัวหน้างานโดยตรง

เพื่อลดและควบคุมความเครียด เราจำเป็นที่จะต้องหาต้นตอของปัญหาให้ได้ ต้นตอของปัญหาอาจเกิดจากปัญหาส่วนตัว ปัญหาขององค์กรหรือทั้งสองปัจจัยที่กลายเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความเครียด ดังนั้น มาตราการช่วยเหลือจะต้องพิจารณาที่ต้นตอหลักของความเครียดที่เกิดขึ้น ตัวอย่างของมาตราการช่วยเหลือในรายบุคคล เช่น การฝึกตัวเองให้เป็นคนเอาใจใส่ต่อสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวเองมากขึ้น การเพิ่มทักษะในการสื่อสาร การบำบัดพฤติกรรมด้านพุทธิปัญญา ในขณะที่องค์กรควรจัดโครงการต่าง ๆ ที่ช่วยเสริมการทำงานให้พนักงานและลดจำนวนเวลางานลง นอกจากนี้ มาตรากาช่วยเหลือยังสามารถนำมาใช้พร้อมกัน ทั้งในแง่ของความช่วยเหลือในแต่ละคนและความช่วยเหลือในระดับองค์กร

เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงในกลุ่มหรือองค์กรขึ้น อย่าเพิ่งได้ตระหนักถึงสัญญาณเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น ในแง่ของพฤติกรรมของพนักงงาน ทุกคนมีวันที่แย่และวันที่ดีกันทุกคน เพื่อนร่วมงานของคุณอาจจะรู้สึกเหงาหงอยสร้อยเศร้าวันนี้ นั้นไม่ได้แปลว่า เพื่อนร่วมงานของคุณจะกำลังเผชิญกับปัญหาความเครียดเสมอไป อาการที่กล่าวมาแล้วข้างต้นควรมองว่าเป็นแค่สัญญาณ และไม่ใช่แนวทางเพื่อการวินิจฉัยโรคเครียด

*** เช็คสุขภาพ ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ วินิจฉัยหรือรักษาโรคแต่อย่างใด ***

31/03/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว