เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / แมงกะพรุน (Jelly Fish) : เปลี่ยน นักฆ่า ให้เป็น ยาวิเศษ
แมงกะพรุน (Jelly Fish) : เปลี่ยน นักฆ่า ให้เป็น ยาวิเศษ

ลักษณะทางกายภาพของแมงกะพรุน:

แมงกะพรุนส่วนใหญ่จัดอยู่ในอันดับไซโฟซัว แต่ก็บางประเภทที่อยู่ในอันดับไฮโดรซัว อาทิ แมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส (Physalia Physalis) ซึ่งเป็นแมงกะพรุนที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก และแมงกะพรุนอิรุคันจิ (Malo Kingi) ที่อยู่ในอันดับคูโบซัว ก็ถูกเรียกว่าแมงกะพรุนเช่นกัน

แมงกะพรุนมีกันอยู่หลายชนิดที่รับประทานได้ โดยชาวประมงจะเก็บจากทะเล และผ่าออก ตากแห้งและหมักกับเกลือ โรยสารส้มและโซเดียม ก่อนจะนำออกขาย แมงกะพรุนนำมาทำเป็นอาหารได้หลายประเภท เช่น ยำ เย็นตาโฟ แมงกะพรุนชนิดที่กินได้ ได้แก่ แมงกะพรุนหนัง (Rhopilema) และแมงกะพรุนจาน (Aurella App.) ซึ่งชาวจีนบริโภคกันมากว่า 1000 ปี

แมงกะพรุนเป็นสัตว์ที่มีลำตัวโปรงใส ร่ายประกอบด้วยเจลาตินเป็นหลัก ใสจนมองเห็นได้จนถึงอวัยวะข้างใน เป็นสัตว์ที่ไม่มีสมองหรือหัวใจ ลำตัวด้านบนของแมงกะพรุนมีลักษณะคล้ายร่ม เรียกว่า “เมดูซา” ซึ่งเป็นศัพท์ทางวรรณคดีกรีโรมันที่ใช้เรียกเป็นอีกชื่อของแมงกะพรุนอีกด้วย

แมงกะพรุนเป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์ กำเนิดบนโลกมากกว่า 505 – 600 ล้านปี เกิดก่อนไดโนเสาร์ถึง 230 ล้านปี และเกิดก่อนมนุษย์ราว 500,000 ปี จึงนับได้ว่า แมงกะพรุนเป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการขึ้นสูง และสามารถขยายพันธุ์ได้ทั้งมีเพศและไม่มีเพศ

หากถามว่า แมงกะพรุนเป็นนักฆ่าหรือยาวิเศษดี แมงกะพรุนเป็นได้ทั้งสองอย่าง ขึ้นอยู่กับว่า เป็นแมงกะพรุนชนิดไหน เอาทำอะไรบ้าง ดังต่อไปนี้

แมงกะพรุนและคุณค่าทางโภชนาการ:

แมงกะพรุนมีโปรตีนสูง แคลอรี่ต่ำ เป็นโปรตีนประเภทคอลลาเจน จากงานวิจัยพบว่า แมงกะพรุนจากคอลาเจนอาจมีส่วนรักษาโรคไขข้ออักเสบ และโรคหลอดลมอักเสบ ตลอดจนทำให้ผิวหนังนุ่มนวลขึ้น

แมงกะพรุนนำมาทำเป็นอาหาร:

นำแมงกะพรุนที่ทานได้ เช่น แมงกะพรุนหนัง หรือ แมงกะพรุนจาน มาปรุงเป็นอาหารขบเคี้ยว กรุบกรอบ ใช้แมงกะพรุนลวกกรุบกรอบเป็นส่วนประกอบของ ก๋วยเตี๋ยว สุกี้ ยำ ฯลฯ ก็ถูกใจผู้บริโภคแมงกะพรุนไม่น้อย หลายคนชอบซื้อแมงกะพรุนมาทำกินเองจะรู้ว่าเค็มแค่ไหน ซึ่งต้องล้างน้ำกร่อยให้ได้ซัก 2-3 น้ำก่อนนำมาปรุงเป็นอาหารก็ใช้ได้ แต่ก่อนจะนำมาปรุงเป็นอาหาร ก็ยังต้องนำมาแช่น้ำไว้ก่อน 5-6 ชั่วโมง ไม่งั้นเค็มปี๋ เปลี่ยนน้ำอีกซัก 2-3 หน วิธีนี้จะช่วยให้ความเค็มลดลงได้ อยากทานอาหารดี ๆ มีโปรตีน และคอลลาเจนสูง ๆ ก็ต้องใจเย็น ๆ กันหน่อย

พิษของแมงกะพรุน:

แมงกะพรุนหลายชนิดมีพิษ โดยบริเวณหนวดและแขนงที่ยื่นรอบปากของมัน เรียกว่า “มีนีมาโตซีส” หรือ เข็มพิษ จะมีพิษร้ายแรงมาก และใช้ฆ่าเหยื่อได้มีประสิทธิภาพมาก พิษบางอย่างทำให้เหยื่อสลบก่อนจับเหยื่อกินเป็นอาหาร และอาหารของแมงกะพรุนโดยมากจะเป็นปลา นอกจากนี้ แมงกะพรุนยังใช้เข็มพิษนี้ในการป้องกันตัวอีกด้วย

ที่น่ากลัวของเข็มพิษคือ เข็มพิษบนตัวแมงกะพรุนในขนาด 1 ตารางเซนติเมตรจะมีเข็มพิษอยู่ประมาณ 80,000 เซลล์ ภายในเข็มพิษจะมีน้ำพิษที่เป็นอันตราย ทำให้เกิดอาการคัน เป็นผื่นบวม บวมแดง เป็นรอยไหม้ ปวดแสบปวดร้อน และเป็นแผลเรื้อรัง และถึงขึ้นเสียชีวิตได้ในที่สุด

หากเป็นแมงกะพรุนชนิด ไคโรเน็กซ์ เฟลคเคอรี่ (Chironex Fleckeri) ซึ่งเป็นแมงกะพรุนกล่องชนิดที่ใหญ่ที่สุด มีเซลล์เข็มพิษมากถึง 4-5,000,000,000 ล้านเซลล์ ในหนวดทั้งหมด 60 เส้น พิษของแมงกะพรุนชนิดนี้มีผลต่อระบบโลหิต โดยทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดง ทำให้โลหิตเป็นพิษ และเสียชีวิตได้ในระยะเวลาไม่นานหลังรับพิษ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจะเสียชีวิตได้ง่าย

เว็บไซต์ “เช็คสุขภาพ” อยากให้ทุกคนมี สุขภาพดี หมั่นตรวจสุขภาพ ดูแลตัวเองให้มี สุขภาพดี และลงทะเบียนรับข่าวสารเกี่ยวกับ เช็คสุขภาพ เพื่อพร้อมสุขภาพร่างกายให้เป็นคนมี สุขภาพดี เสมอ อนึ่ง เว็บไซต์ “เช็คสุขภาพ” ไม่ได้ให้คำปรึกษาทางการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

 

ที่มาของบทความ:

HealthGuidance. (2018). Health Benefits of Jellyfish. แหล่งที่มา: www.healthguidance.org/entry/15799/1/health-benefits-of-jellyfish.html     วันที่เข้าถึงข้อมูล: 9 มิถุนายน 2561

ChineseMedicineLiving. (2018) Jellyfish – for Brain & Heart Health: Chinese Medicine Living. แหล่งที่มา: https://www.chinesemedicineliving.com/eastern-philosophy/jellyfish-for-brain-heart-health /      วันที่เข้าถึงข้อมูล: 9 มิถุนายน 2561

09/06/2018
วณิชชา สุมานัส

วณิชชา สุมานัส

บรรณาธิการบริหารเว็บไซต์ "เช็คสุขภาพ" และ "ถามหมอ"

จบหลักสูตรผู้ช่วยเภสัชการร้านยา จบหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาลดูและเด็กและผู้สูงอายุ เคยทำงานเป็นผู้ช่วยพยาบาลห้องผ่าตัด; จบการศึกษาระดับปริญญาตรี เอกภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยนเรศวร; ปริญญาโทภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร มหาวิทยาลัยรามคำแหง; ประกาศนียบัตรบัณฑิต ภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; ประกาศนียบัตรบัณฑิต ภาษาอังกฤษเฉพาะวิชาชีพ (กฎหมาย) และ (สาธารณสุข) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; ประกาศนียบัตรบัณฑิต การเขียนเชิงสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเปิดอินทิรา คานธี (กรุงนิวเดลี) และ ประกาศนียบัตรบัณฑิต การเขียนเชิงสร้างสรรค์และสื่อสารมวลชน (ลอนดอน สกูล ออฟ เจอนัลลิสซึม --- กรุงลอนดอน)

บทความอื่นๆ
แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ให้ความรู้โรคระบบทางเดินหายใจแก่ประชาชน
แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ เปิดตัวโครงการให้ความรู้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคระบบทางเดินหายใจที่สามารถ

WHO เฝ้าระวัง ปอดอักเสบ ในทุกวัย
WHO ออกแถลงการณ์ พบกลุ่มผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ-ปอดบวม ระบาดในเด็กมากขึ้นทางตอนเหนือของจีน โดยหวั่นกันว่า อาจเกิดการระบาดใหญ่อีกระลอก พร้อมเรียกร้องให้จีนเผยข้อมูล

ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ผนึกกำลังภาครัฐ - นักวิชาการแพทย์ เร่งขับเคลื่อนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
เนื่องในวันที่ 10 พฤศจิกายน ของทุกปีเป็น “วันแห่งการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค

CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว