เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / ถือศีลอดอย่างไร ไม่ทำลายสุขภาพ
โดย : เอกพล สุวรรณหงษ์
ทบทวนบทความโดย : ทีมแพทย์จากเช็คสุขภาพ
ถือศีลอดอย่างไร ไม่ทำลายสุขภาพ

เดือนรอมฎอม เป็นเดือนของการถือสินอด ผู้ที่ถือศีลจะต้องอดอาหาร เครื่องดื่ม อดกลั้นจากการทำความชั่วทั้งปวง แม้แต่นึกคิดที่จะทำผิดก็ไม่ได้ การถือศีลอดของพี่น้องชาวมุสลิมจะต้องทำกันตั้งแต่รุ่งสางจนตะวันลับขอบฟ้าในเดือนที่ 9 ตามปฏิทินทางจันทรคติของอิสลามของทุกปีเป็นระยะเวลา 29 ถึง 30 วัน

ในระหว่างการถือศีลอด ชาวมุสลิมทุกท่านควรเตรียมความพร้อมทั้งสุขภาพกายและใจ เนื่องจากการถือศีลอดเป็นช่วงที่ร่างกาย โดยเฉพาะกระเพาะอาหารและอวัยวะในการย่อยอาหารทำงานลดลง หลังจากที่ได้ทำงานหนักมานานตลอดทั้งปี และเว็บไซต์เช็คสุขภาพก็อยากจะแนะนำพี่น้องชาวมุสลิมให้ถือศีลอดแบบไม่ทำลายสุขภาพ และส่งผลดีทั้งกายและใจ ดังต่อไปนี้

รับประทานอาหารก่อนรุ่งสาง

ท่านที่ถือศีลอดจะต้องตื่นมารับประทานอาหารก่อนรุ่งสาง เพื่อจะไม่เป็นผลเสียต่อสุขภาพ และถ้าไม่ตื่นขึ้นมารับประทานอาหารก่อนรุ่งสาง ระดับน้ำตาลในเลือดจะลดต่ำลงมากในช่วงบ่าย จนทำให้มีอาการอ่อนเพลีย ไม่สามารถทำงานหรือกิจวัตรประจำวันได้

รับประทานอาหารครั้งละน้อย ๆ ช่วงละศีลอด

ในช่วงละสินอด ควรรับประทานอาหารแต่เพียงครั้งละน้อย เพื่อให้ร่างกายได้ปรับตัว ไม่รับประทานอาหารมาก ๆ ในครั้งแรกทีเดียว เพราะอาจจะทำให้กระเพาะอาหารปรับตัวไม่ทัน และควรใช้เวลาอย่างน้อย 2 ชั่วโมง สำหรับการย่อยอาหาร ก่อนเข้านอน เพื่อป้องกันโรคกรดไหลย้อน

ปรึกษาแพทย์เมื่อมีโรคประจำตัว

ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและโรคแผลในกระเพาะอาหาร เป็นต้น ควรรีบปรึกษาแพทย์ในเรื่องการเปลี่ยนมื้อยา หรือปรับขนาดยา และควรปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

มีภาวะเสี่ยง

บางท่านไม่มีโรคประจำตัว แต่มีภาวะเสี่ยงอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น อายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไป มีน้ำหนักตัวเกินขนาดหรือเป็นคนอ้วน มีคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ มีอาการผิดปกติทางระบบทางเดินอาหาร ท้องเสียบ่อย ๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ  

หากมีอาการผิดปกติในช่วงถือศีลอด แนะนำให้รีบปรึกษาแพทย์หรือตรวจเช็คสุขภาพที่โรงพยาบาลให้ล้านท่าน เพื่อให้มั่นใจว่าสุขภาพของท่านแข็งแรง พร้อมสำหรับการถือศีลอด หรือหากมีอาการอ่อนเพลียผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์ทันที เพื่อตรวจรักษา

“เช็คสุขภาพ” ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

แหล่งที่มา

การดูแลสุขภาพในช่วงเดือนรอมฎอน, โรงพยาบาลสินแพทย์

21/05/2018
บทความที่เกี่ยวข้อง

จากงานวิจัยของแพทย์นักวิจัยด้านแคลเซียมและกระดูก มหาวิทยาลัยมหิดลเมื่อไม่นานมานี้ระบุว่า คนไทยกว่าร้อยละ 50 ได้รับแคลเซียม



นักวิจัยอุตสาหกรรมเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เผยผลสำเร็จนวัตกรรม “ข้าวน้ำตาลต่ำ”



เป็นแร่ธาตุ (Mineral) ชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย โดยมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้การทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายเป็นปกติ เช่น ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ


CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว