
ชาดอกกุหลาบ
ชาดอกกุหลาบ ได้จากดอกกุหลาบสด หรือกลีบดอกกุหลาบ นำมาผ่านกระบวนการทำให้แห้ง แล้วนำมาทำเป็นชาดอกไม้ ดอกกุหลาบ ถือว่าเป็นราชินีแห่งบรรดาดอกไม้ทั้งปวง เพราะนอกจากสีสันของดอกกุหลาบจะสวยงามและกลิ่นหอมรัญจวญใจแล้ว ยังสามารถนำกลีบของดอกกุหลาบมาทำเป็นชา และมีสรรพคุณต่อสุขภาพมากมาย ชาวจีนใช้ดอกกุหลาบมาทำเป็นชาสมุนไพรกว่า 5,000 มาแล้ว
ลักษณะของชาดอกกุหลาบ
เมื่อนำชาดอกกุหลาบมาชงเป็นน้ำแล้ว จะมีกลิ่นหอมหวลตามกลิ่นเดิมของดอกกุหลาบ รสชาตินุ่ม สีชาจะออกแดงอ่อน ๆ สามารถดื่มได้ทุกเพศทุกวัย และดื่มได้ทุกวัน เพราะเป็นชาดอกไม่จึงไม่มีอันตรายต่อสุขภาพ แถมยังมีประโยชน์อีกมากมาย นอกจากนี้ หากดื่มเป็ประจำและต่อเนื่อง จะทำให้ใบหน้ามีเลือดฝาด และอมชมพู คงความอ่อนเยาว์ของผิวบนใบหน้าได้อีกด้วย
สรรพคุณของชากุหลาบ
- อาจลดความดันเลือดจากโรคความดันโลหิตสูง
- อาจช่วยลดคลอเรสเตอรอลในเลือด ที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดไขมันอุดตันในเส้นเลือด
- ช่วยบำรุงหัวใจให้แข็งแรง
- ช่วยให้ผ่อนคลายความเครียด อาจช่วยแก้อาการอ่อนเพลียได้
- มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ ทำให้ขับถ่ายได้ดีขึ้น
- ช่วยกระตุ้นประสาท ทำให้สมองทำงานดีขึ้น แจ่มใสขึ้น และทำให้ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- มีวิตามินซีสูง ช่วยปรับสมดุลในร่างกาย และช่วยล้างสารพิษในร่างกายได้เป็นอย่างดี
- ช่วยปรับฮอร์โมนในร่างกายให้สมดุล เหมาะสำหรับสตรีที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ
- ช่วยกระตุ้นเซลล์ผิวที่ตายแล้ว ช่วยให้ผิวพรรณดูสดใสเปล่งปลั่งยิ่งขึ้น
- ช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกัน บรรเทาอาการเจ็บคอ ป้องกันหวัด และกระตุ้นระบบย่อยอาหาร
- ดื่มชาบ่อย ๆ ดีต่อสุขภาพผิวและเส้นผม
- มีฤทธิ์เป็นยาขับปัสสาวะ และฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ จึงช่วยเรื่องการติดเชื่อในกระเพาะปัสสาวะ
- ดื่มแล้วสุขภาพดี ไม่มีคาเฟอีน เป็นอีกทางเลือกหากชอบดื่มกาแฟ หรือชาดำเข้ม ๆ
- ชาดอกกุหลาบ บางทีก็เรียกกันว่า "ชาสำหรับสุภาพสตรี" เพราะช่วยบำรุงการไหลเวียนเลือด โดยเฉพาะช่วงที่เป็นประจำเดือน
- นอกจากจะมีวิตามินซีแล้ว ชาดอกไม้ยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น เคอร์ซิติน (Quercitin) และกรดเอลาจิก (Ellagic Acid) ในปริมาณที่มาก ดื่มบ่อย ๆ ก็ช่วยชะลอวัย
- การดื่มชาช่วยลดน้ำหนักทางอ้อม การดื่มชาดอกกุหลาบก็ช่วยในเรื่องเดียวกัน
- ชากุหลาบมีโพลีฟีโนลส์ (Polyphenols) ที่ช่วยซ่อมแซมเซลล์ที่ถูกทำลาย และปกป้องร่างกายจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ รวมทั้ง โรคหัวใจ ภาวะกระดูกไม่แข็งแรง และโรคมะเร็ง
- นอกจากจะช่วยบำรุงการไหลเวียนโลหิตในสตรีมีประจำเดือนแล้ว ในปี 2005 มีหลักฐานวิจัยทางวิทยาศาสตร์จากงานวิจัยในไต้หวันชิ้นหนึ่งว่า ชากุหลาบยังช่วยบรรเทาอาการปวดเกร็งช่วงเป็นประจำเดือนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- กลีบกุหลาบ 1 ถ้วยมีปริมาณของวิตามินซี เท่ากับส้ม 60 ผล และมีวิตามินอื่นปนอยู่ด้วย ยิ่งไปกว่า การรับวิตามินประเภทอื่น ๆ จากอาหารและธรรมชาติโดยตรงจะดีมาก เพราะสามารถดูดซึมได้ดีกว่าวิตามินจากอาหารเสริมทั่วไป
- นอกจากชากุหลาบช่วยเสริมภูมิคุ้มกันแล้ว ยังช่วยกระตุ้นการทำงานของคอลลาเจนให้ดียิ้งขึ้น ช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง และเส้นผมแข็งแรงขึ้น
- ชากุหลาบออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและบรรเทาอาการอักเสบ ดังนั้น การดื่มชาดอกกุหลาบทุกวันจะช่วยในเรื่องของสิวได้ด้วย
งานวิจัยอื่น ๆ
มีงานวิจัยหลายชิ้นในปี 2013 ระบุประโยชน์ของดอกกุหลาบ และบางชิ้นพบว่า ดอกกุหลายมีสารช่วยต่อต้านการก่อกลายพันธุ์ในเซลล์ร่างกายมุนษย์ อันนำมาซึ่งโรคมะเร็ง และอื่น ๆ กุหลาบบางพันธุ์ เช่น พันธุ์แพชชั่น มีสารต่อต้านการก่อกลายพันธุ์สูงมาก จากสารรงควัตถุหรือสารสีในกลีบดอกกุหลาบ
ในปี 2015 งานวิจัยบางชิ้นระบุว่า ดอกกุหลาบมีสารต้านการอักเสบ และมีสรรพคุณในการรักษาโรคข้อต่ออักเสบ จากสารสะกัดดอกกุหลาบพันธ์ุเซนติฟอเลีย (Centifolia) ทั้งนี้ ในการทดลองดังกล่าว มีการสะกัดสารเหลวจากดอกกุหลาบพันธุ์เซนติฟอเลีย (Centifolia) และนำมาใช้ทดลองกับหนูทดลอง ซึ่งยังไม่ได้มีการทดลองกับมนุษย์ ยิ่งำปกว่านั้น น้ำกุหลาบยังมีฤทธิ์เป็นยาแก้ปวดอินโดเมธาวิน (Indomethacin) ซึ่งเป็นยากลุ่ม NCAIDs ชนิดหนึ่ง
ในปี 2014 นักวิจัยพบว่า สารจากดอกกุหลาบอาจช่วยรักษาต่อมไขมันอักเสบ โดยเปรียบเทียบจากผลทดลองใช้แชมพูที่มีสารสะกัดจากดอกกุหลาบ และแชมพูที่มีสารคีโตโคนาโซล (Ketoconazole) และซิงก์ ไพริไธออน (Zinc pyrithione) จากผลการทำลองพบว่า ประสิทธิ์ภาพในการรักษาต่อมไขมันอักเสบของแชมพูที่มีสารจากดอกกุหลาบและแชมพูยานั้นเท่ากัน
เตรียมชงชาดอกกุหลาบ
อุณหภูมิน้ำ: ต้มน้ำให้เดือดในอุณหภูมิ 80-100 องศาเซลเซียส หรือ 176-212 องศาฟาเรนไฮต์
อุปกรณ์ชงชา: อุปกรณ์ชงชาที่แนะนำได้แก่ กาน้ำชา หรือถ้วยชากระเบื้องเคลือบ หรือเซรามิก หรือแบบใส
ปริมาณชา: ชา 1 ถุง ต่อน้ำ 300 มิลลิลิตร
จำนวนครั้งต่อการชง: ชา 1 ถุงสามารถชงได้ 1-2 ครั้ง
วิธีชงชาดอกกุหลาบ
- นำชา 1 ถุง เทลงในกาน้ำชา และเทน้ำลงไป หรือหากเก็บเป็นกลีบ ให้ใช้กลีบชาประมาณ 1 ถ้วย เด็ดฐานที่ดอกชาทิ้ง แล้วล้างน้ำให้สะอาด ซับหรือผึ่งให้แห้ง
- นำเนื้อชาพักไว้ในถ้วยชา
- ต้มนำในอุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส หรือ 176 องศาฟาเรนไฮต์ หรือเรียกว่า น้ำใกล้เดือด หากกาต้มน้ำมีระบบเซ็ตอุณหภูมิน้ำอัตโนมัติเพื่อการต้มชาโดยเฉพาะด้วยยิ่งดี
- เทน้ำใกล้เดือดลงในเนื้อชา เมื่อผ่านไป 2 นาทีให้พลิกเนื้อชาอีกด้านให้ชุ่มน้ำ ชงทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที (ครั้งต่อไป สามารถปล่อยไว้ 2-3 นาทีได้)
- หากใส่กลีบชา ให้ตักเอากลีบชาออก (พักไว้ สามารถชงรอบต่อไปได้อีกรอบ)
- ใส่น้ำผึ้ง หรือน้ำตาลทรายแดง หรือเครื่องเทศที่ชอบ เพื่อเพิ่มรสชาติที่กลมกล่อม และเพื่อสุขภาพ
โทษและประโยช์ของชาดอกกุหลาบ
การดื่มชามีผลต่อสุขภาพ ดื่มในปริมาณที่พอเหมาะทำให้สุขภาพดี แต่คนที่ดื่มชานาน ๆ จะมีปัญหาเกี่ยวกับไต หรือเป็นโรคไตได้ งานวิจัยบางชิ้นยังระบุว่า ปกติควรดื่มชาดอกกุหลาบไม่เกินวันละ 3-5 แก้ว เพราะชากุหลาบมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ การดื่มชามากเกินไป อาจทำให้ท้องเสียจากการที่ได้รับวิตามินซีจากกุหลาบมากเกินไป และขาดน้ำได้ และนอกจากนี้ ชาดอกกุหลาบยังให้โทษและประโยชน์ดังนี้
- ดื่มชากุหลาบมากเกินปริมาณแนะนำทำให้เกิดอาการเวียนหัว คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ปวดหัว
- การดื่มชากุหลาบก่อนนอนอาจทำให้มีปัญหาเรื่องการนอนหลับได้
- สารในชากุหลาบอาจทำให้เลือดไม่เกาะตัว ผู้ที่มีปัยหาเลือดไหลไม่หยุดไม่ควรดื่มชากุหลาบ
- นอกจากชากุหลาบจะช่วยปรับสมดุลร่างกาย เสริมภูมิคุ้มกันในร่างกายแล้ว ยังช่วยให้ระบบทางเดินหายใจทำงานได้ดีขึ้น
- มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น โพลีฟีโนลส์ (Polyphenols) ที่ช่วยให้หัวใจแข็งแรงแล้ว ยังช่วยป้องกันมะเร็งได้ด้วย
- เป็นชาเหมาะสำหรับสตรีมีประจำเดือน เพราะช่วยฟ้องกันอาการข้างเคียงต่าง ๆ ที่เกิดระหว่างมีประเดือนได้
แหล่งที่มาของบทความ
ถามหมอ. (2561). ชาดอกกุหลาบ (RoseTea) ดีต่อสุขภาพอย่างไร. วันที่เข้าถึง 24 มิถุนายน 2561
Organifacts. (2018). 8 Surprising Benefits of Rose Tea. วันที่เข้าถึง 24 มิถุนายน 2561
HealthyFocus. (2018). 10 Science Backed Benefits of Rose Tea. วันที่เข้าถึง 24 มิถุนายน 2561
จัดอยู่ในวงศ์ผักชี (APIACEAE หรือ UMBELLIFERAE) สมุนไพรบัวบก มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักหนอก (ภาคเหนือ) ผักแว่น (ภาคใต้) กะโต่ เป็นต้น จัดเป็นพืชสมุนไพรที่มีต้นกำเนิดในแถบเอเชีย
ตะไคร้เป็นพืชล้มลุกจำพวกหญ้า ขึ้นอยู่รวมเป็นกอ อายุหลายปี สูง 1 เมตร ลำต้นตั้งตรง มีข้อและปล้องสั้น ๆ ค่อนข้างแข็ง ลำต้นส่วนที่อ่อนมีใบเรียงซ้อนกันแน่นมาก
หรือโกจิเบอร์ริ (GOJI BERRY) เป็นสมุนไพรที่ถูกค้นพบโดยชาวหิมาลายัน4000ปีก่อนคริสตกาล เพิ่งตื่นรู้และแพร่หลายในป้จจุบัน ชาวจีน ทิเบตและอินเดียนำไปใช้ปรุงยา