
หมามุ่ย หรือ หมามุ้ย จัดเป็นพืชเถา ผลเป็นฝักยาว คล้ายถั่วลันเตา มีขนสีน้ำตาลอมทองหรือแดงปกคลุมที่ฝัก หลุดร่วงง่าย ปลิวตามลมและเป็นพิษ เพราะขนหมามุ่ยเต็มไปด้วยสารเซโรโทนิน (Serotonin) เมื่อสัมผัสผิวจะทำให้เกิดอาการคัน แพ้ระคายเคืองอย่างรุนแรง ซึ่งฝักจะออกมาในช่วงฤดูหนาวจนถึงฤดูแล้ง
เมล็ดหมามุ่ย มีสารแอลโดปา (L-Dopa) ซึ่งเป็นสารที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อระบบสืบพันธุ์ และยังเป็นสารสื่อประสาทซึ่งมีส่วนช่วยรักษาโรคพาร์กินสันได้อีกด้วย แต่ต้องใช้ในรูปแบบที่ผ่านการสกัดมาเป็นยาเม็ดเรียบร้อยแล้ว เพราะร่างกายไม่สามารถรับสารในรูปของเมล็ดสดหรือแปรรูปได้
หมอยาแผนโบราณมีการนำหมามุ่ยมาใช้อย่างหลากหลาย โดยนำมาใช้ประโยชน์ตั้งแต่ ราก ใบ ฝัก เมล็ด โดนเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของเมล็ดที่ถือว่าเป็นพระเอกของเรื่องเลยก็ว่าได้ เพราะมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง เพิ่มสมรรถภาพทางเพศได้ !
ขนหมามุ่ยหากถูกผิวหนังจะทำให้มีอาการระคายเคือง คัน ปวดแสบปวดร้อน บวมแดงเป็นอย่างมาก สำหรับวิธีการรักษาให้รีบกำจัดขนพิษออกจากบริเวณที่สัมผัส โดยใช้เทียนไขลนไฟให้อ่อนตัว หรือจะใช้ข้าวเหนียวนำมาคลึงจนเนื้อข้าวเหนียวกลืนกัน แล้วนำมาคลึงบริเวณที่สัมผัสขนหลายครั้ง ๆจนหมด แต่หากยังมีอาการแดงแสบร้อนหรือคันอยู่ ให้ใช้โลชั่นคาลาไมน์มาทา หรือจะใช้สเตียรอยด์พร้อมกับรับประทานยาแก้แพ้ก็ได้ อาการก็จะดีขึ้น
สรรพคุณของหมามุ่ย
หมามุ่ย ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง ทำให้ไม่เหนื่อยง่าย ช่วยทำให้ร่างกายสดชื่นกระปรี้กระเปร่า เพิ่มความกระฉับกระเฉง ช่วยทำให้นอนหลับสบาย จิตใจเบิกบานแจ่มใส ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศให้ดีมากยิ่งขึ้น
ช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำอสุจิ และช่วยปรับคุณภาพของน้ำเชื้อให้ดีมากยิ่งขึ้น
หมามุ่ย ช่วยเพิ่มการเคลื่อนไหวของตัวอสุจิ (เพิ่มโอกาสการมีลูกได้มากขึ้น) ช่วยทำให้คู่รักมีความสุขและช่วยเพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างกันให้ดีมากยิ่งขึ้น ช่วยกระตุ้นความต้องการทางเพศ เพิ่มความถี่ของการผสมพันธุ์ให้มากยิ่งขึ้นเป็น 10 เท่า (มีการทดลองในสัตว์) ช่วยแก้ปัญหาอวัยวะเพศแข็งตัวช้า
ช่วยยืดระยะเวลาในการมีเพศสัมพันธ์ แก้ปัญหาการหลั่งเร็วได้
หมามุ่ย ช่วยเพิ่มปริมาณของฮอร์โมนเพศ ช่วยทำให้หน้าอกเต่งตึงมากยิ่งขึ้น ช่วยทำให้ผิวพรรณดูมีน้ำมีนวลมากยิ่งขึ้น มีส่วนช่วยให้ช่องคลอดกระชับมากยิ่งขึ้น เมล็ดช่วยรักษาภาวะการมีบุตรยากทั้งชายและหญิง
หมามุ่ยมีสรรพคุณทางยาช่วยรักษาโรคพาร์กินสัน ช่วยผ่อนคลายความเครียด ช่วยเพิ่มการเผาผลาญและมวลของกล้ามเนื้อ ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ช้ำใน ด้วยการใช้รากหมามุ่ย 1 กิโลกรัม เมล็ดผักกาด 5 ขีด และเมล็ดผักชี 3 ขีด นำมาตำรวมกันจนเป็นผงแล้วผสมน้ำผึ้งป่าหมักทิ้งไว้ 3 เดือน แล้วนำมาใช้กินก่อนนอน (ขนาดเท่าผลมะพวง)
หมามุ่ย ช่วยแก้อาการไอ ด้วยการใช้รากหมามุ่ยนำมาต้มกินแก้อาการ (ราก) ใช้แก้อาการคัน (ราก)
เมล็ดใช้เป็นยาฝาดสมาน (เมล็ด) ใช้ถอนพิษ ล้างพิษ (ราก) ช่วยแก้พิษแมงป่องได้ ด้วยการใช้เมล็ดตำเป็นผงแล้วนำมาพอกบริเวณที่โดนต่อย (เมล็ด) ในปัจจุบันมีการนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นในรูปของผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหารในรูปแบบแคปซูล หมามุ่ยสกัด กาแฟหมามุ่ย เป็นต้น
ภญ.ผกากรอง ขวัญข้าว, รศ.ดร.นพมาศ สุนทรเจริญนนท์, เว็บไซต์ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ถามหมอ. (2561). หมามุ่ย. เข้าถึงข้อมูลวันที่ 8 กันยายน 2561.
เป็นไม้ล้มลุกกึ่งเลื้อย ลำต้นเป็นข้อปล้อง อวบน้ำ ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรี ปลายแหลม โคนใบเป็นกาบหุ้มลำต้นบริเวณข้อ สีเขียวสด เมื่อขยี้จะมีน้ำลื่นคล้ายเมือก
ลูกเดือยพบในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นพืชอาหารที่แพร่หลายในจีนก่อนที่จะปลูกข้าวและข้าวโพดกันอย่างแพร่หลาย เมล็ดเดือยนำมาหุงได้เช่นเดียวกับข้าว
ต้นกระท่อม เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูง 10-15 เมตร ใบกระท่อม เป็นใบเดี่ยวเรียงตัวเป็นคู่ตรงข้ามและมีหูใบ 1 คู่