เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / รับมืออย่างไรเมื่อโรคติดเชื้อไวรัส RSV ระบาดหนักในเด็ก
โดย : วณิชชา สุมานัส
ทบทวนบทความโดย : ทีมแพทย์เช็คสุขภาพ
รับมืออย่างไรเมื่อโรคติดเชื้อไวรัส RSV ระบาดหนักในเด็ก

27 ตุลาคม 2563, กรุงเทพ - นางศิลปสวย ระวีแสงสูรย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ในช่วงปลายฤดูฝน เข้าสู่ต้นฤดูหนาวเป็นช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง และอาจส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนได้ โดยเฉพาะโรคติดเชื้อทางเดินหายใจจากเชื้อไวรัส RAV (Respiratory Syncitial Virus) ก็เป็นอีกโรคหนึ่ง ที่มีเชื้อไวรัสเป็นสาเหตุของการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะในเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี จะพบการระบาดได้บ่อยในช่วงฤดูฝนหรือปลายฝนต้นหนาว

โรคติดเชื้อ RAV เป็นโรคที่มีความคล้ายคลึงกับไข้หวัดทั่วไป แต่อาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นทำให้ปอดอักเสบได้ ทั้งนี้ โรคติดเชื้อ RSV กำลังระบาดหนัก หลายโรงพยาบาลเตียงเต็มแล้วไม่สามารถรับผู้ป่วยเพิ่มได้ 

โรคติดเชื้อทางเดินหายใจจากเชื้อไวรัส RSV คืออะไร

ในช่วงปลายฝนต้นหนาว โรคติดเชื้อ RSV  เป็นโรคที่มักพบในเด็กทารกและเด็กเล็ก โดยเชื้อไวรัสนี้ทำให้เกิดภาวะปอดอักเสบได้ โดยเฉพาะในส่วนของหลอดลมเล็ก และถุงลม ทำให้มีการสร้างสารคัดหลั่ง เช่น เสมหะ ออกมาในปริมาณมาก และมีการหดตัวของหลอดลม เนื่องจากการบวมของเยื่อบุหลอดลมและทางเดินหายใจ ส่งผลให้เด็กมีอาการหอบ เหนื่อย และหายใจลำบาก เชื้อนี้ติดต่อกันได้โดยการสัมผัสใกล้ชิดกับสารคัดหลั่งต่าง ๆ ของผู้ป่วย เช่น น้ำมูก น้ำลาย เสมหะ

เชื้อ RSV ค้นพบในปี พ. ศ. 2498  และพบครั้งแรกในลิงชิมแปนซี พบการระบาดในคนช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาว ในประเทศไทย จะพบไวรัสตัวนี้ระบาดในช่วงเดือนมิถุนายนถึงตุลาคม โดยจะมี ไวรัสแบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อย คือกลุ่ม A และกลุ่ม B มีระยะฟักตัว 2-8 วัน ติดต่อทางการสัมผัสสารคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก เสมหะ และลองฝอย 

อาการของโรคติดเชื้อทางเดินหายใจจากเชื้อไวรัส RSV 

อาการของโรคติดเชื้อทางเดินหายใจจากเชื้อไวรัส RSV อาจคล้ายกับอาการไข้หวัดธรรมดา เช่น เป็นไข้ ซึ่งส่วนใหญ่อาจจะเป็นไข้ไม่สูง  อาจมีอาการไอ จาม แต่ก็มีอาการที่คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกต เช่น

  • มีอาการเหนื่อยหอบ
  • หายใจเร็วและแรง
  • หายใจครืดคราด
  • มีอาการตัวเขียว
  • มีเสียงหวีดในปอด อันเกิดจากเยื่อบุทางเดินหายใจบวมอักเสบและหลอดลมหดตัว
  • มีเสมหะมาก
  • ไอโขลกๆ

แพทย์รักษาโรคติดเชื้อ RSV อย่างไร

ในเด็กเล็กที่อ่อนแอมาก เช่น เด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนด เด็กที่มีโรคหัวใจ โรคปอด และหอบหืดอยู่แล้ว อาจมีอาการทรุดลงอย่างรวดเร็ว ในบางราย อันนี้อาการหยุดหายใจเป็นช่วง ๆ และหยุดหายใจ จนต้องนำเข้าหอพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตและอาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจด้วย

อาการของโรคจะเริ่มในช่วง 5-7 วัน บางรายในช่วง 1-2 วันแรกจะมีอาการไม่รุนแรง แต่ในช่วงวันที่ 3-5  จะมีอาการรุนแรงมากจากนั้นอาการจะทรุดลงเรื่อยๆ 

ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคติดเชื้อ RSV โดยเฉพาะ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วแพทย์จะรักษาผู้ป่วยตามอาการ เช่นกันดูแลเรื่องการหายใจ และการขับเสมหะ บางรายใช้วิธีการรักษาด้วยยา เช่นให้ยาแก้ไอละลายเสมหะ ยาขยายหลอดลม ยาลดไข้ และยาพ่น ตามแต่อาการของผู้ป่วย ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นได้ในผู้ป่วยที่มีอาการเหนื่อย หายใจไม่ค่อยดี และเริ่มมีออกซิเจนในเลือดต่ำลง การรักษาจะเป็นไปในรูปแบบประคับประคอง เช่น ให้สารน้ำทางหลอดเลือด ให้ยาพ่นเพื่อขยายหลอดลม ใช้วิธีเคาะปอด ใช้การดูดเสมหะ รวมถึงการให้ออกซิเจน ส่วนในรายที่มีอาการหนักมาก ก็จะต้องใส่ท่อช่วยหายใจและดูแลในหอพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต จนกว่าอาการจะดีขึ้น

เพราะอะไรอาการจึงรุนแรงและหนักขึ้น

ผู้ป่วยโรคติดเชื้อ RSV มักมีอาการหนักขึ้นจากการติดเชื้อแทรกซ้อนด้วยไวรัสชนิดอื่น ๆ เช่น เชื้อไข้หวัดใหญ่ เชื้อไมโครพลาสม่า หรือเชื้อแบคทีเรียอื่น ๆ ทั้งนี้ แพทย์จะพิจารณาให้การรักษาที่ครอบคลุมการติดเชื้อเหล่านี้ตามความเหมาะสม

เคยเป็นโรคติดเชื้อ RSV แล้วเป็นซ้ำได้หรือไม่

โรคติดเชื้อ RSV สามารถเกิดซ้ำได้ แต่หากเคยเป็นครั้งหนึ่งแล้ว ครั้งต่อไปก็จะไม่รุนแรงมากเท่ากับครั้งแรก

27/10/2020
บทความที่เกี่ยวข้อง

อนุทิน เผย ไทยกำลังเจรจากับผู้ผลิตวัคซีนโควิดที่กำลังอยู่ในช่วงทดสอบในมนุษย์ระยะที่ 3 ทั้งในเอเชียและยุโรป และ วัคซีนอีก 3 ชนิดที่กำลังวิจัยในไทย


สมาคมสายใยครอบครัวผนึกพันธมิตรเปิดตัวแอฟ APPEAR ยกระดับให้บริการด้านจิตเวช ส่งเสริมคนไทยใส่ใจสุขภาพจิต รู้เท่าทันสุขภาวะของตน


เจ แอนด์ เจ หยุดการทดลองวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หลังจากที่อาสาสมัครเข้าร่วมการทดลองบางรายมีอาการป่วยที่ยังไม่สามารถอธิบายสาเหตุได้

CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว