เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / ทันตกรรมผู้สูงอายุ: สาเหตุ อาการและการรักษา
โดย : ประภัสสร มาร์โลว์
ทบทวนบทความโดย : ทีมเช็คสุขภาพ
ทันตกรรมผู้สูงอายุ: สาเหตุ อาการและการรักษา

เมื่อคนเรามีอายุมากขึ้น มันสำคัญมากที่จะต้องดูแลรักษาฟันและสุขภาพในช่องปาก สิ่งที่คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดคือการสูญเสียฟันเป็นเรื่องที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งนั่นไม่ใช่เรื่องจริง ถ้าหากดูแลช่องปากอย่างถูกต้องเหมาะสม ฟันก็จะอยู่กับเราไปชั่วชีวิต ปากจะมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อมีอายุมากขึ้น

อาการของโรค

เส้นประสาทที่อยู่ในฟันจะเล็กลง ทำให้เกิดฟันผุได้ง่าย

สาเหตุการเกิดโรค

หากไม่ได้รับการตรวจสุขภาพฟันอยู่เป็นประจำ ซึ่งอาจทำให้ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ ได้รับการวินิจฉัยโรคเมื่อสายเกินไป

วิธีการรักษา

หากต้องการให้ตนเองรู้สึกดี มีสุขภาพที่ดี และดูดีไปตลอดชีวิต อาจจะคาดไม่ถึงว่าการมีสุขภาพช่องปากที่ดีนั้นสามารถสร้างความแตกต่างให้คุณได้อย่างไร เคล็ดลับในการรักษาและปรับปรุงสุขภาพช่อง มีดังนี้

  • แปรงฟัน 2 ครั้งต่อวัน ด้วยแปรงสีฟันที่มีขนแปรงนุ่ม อาจจะใช้ประโชน์ด้วยการแปรงฟันด้วยแปรงสีฟันไฟฟ้า
  • ทำความสะอาดระหว่างซอกฟันวันละครั้งด้วยไหมขัดฟันหรืออุปกรณ์ทำความสะอาดซอกฟันอื่นๆ
  • ถ้าใส่ฟันปลอมไม่ว่าจะใส่ทั้งปากหรือเฉพาะบางส่วน ต้องไม่ลืมถอดออกมาทำความสะอาดเป็นประจำทุกวัน ถอดฟันปลอมออกจากปากอย่างน้อย 4 ชั่วโมงทุกวัน ทางที่ดีที่สุดควรถอดออกในเวลากลางคืน
  • ดื่มน้ำประปา เนื่องจากจะประกอบด้วยฟลูออไรด์เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะช่วยป้องกันฟันผุได้ ไม่ว่าคุณจะอายุเท่าไหร่
  • เลิกสูบบุหรี่ นอกจากจะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอดและโรคมะเร็งอื่นๆ การสูบบุหรี่ยังทำให้เพิ่มปัญหาการเกิดโรคเหงือก ฟันผุ และการสูญเสียฟันได้
  • ไปพบทันตแพทย์ ไปพบทันตแพทย์ของคุณเป็นประจำเพื่อตรวจสุขภาพฟันอย่างครบถ้วนสมบูรณ์

ข้อแนะนำอื่น ๆ เพิ่มเติม (เช่น การดูแลตัวเองที่บ้าน)

การมีอุปนิสัยในการดูแลสุขภาพช่องปากที่บ้านเป็นประจำ  การเลือกรับประทานอาหารและการใช้ชีวิตอย่างชาญฉลาด และการตรวจดูแลทันตกรรมอยู่เป็นประจำ จะสามารถช่วยให้ฟันของคุณคงอยู่กับคุณไปตลอดชีวิต ไม่ว่าคุณจะมีฟันธรรมชาติ รากฟันเทียม หรือใส่ฟันปลอม

ประภัสสร มาร์โลว์ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี วิชาเอกภาษาอังกฤษ วิชาภาษาไทย มีประสบการณ์การใช้ภาษาอังกฤษมากว่า 20 ปี ผ่านการฝึกอบรมการล่ามศาล จากสำนักการต่างประเทศ สำนักงานศาลยุติธรรม  และผ่านการฝึกอบรมการล่ามและการแปลทั้งทางด้านกฎหมายและการแพทย์ จากสมาคมวิชาชีพนักแปลและล่ามแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  

ปัจจุบันประภัสสร มาร์โลว์ เป็นนักแปลและล่ามอาชีพสายกฎหมายและการแพทย์

02/05/2022
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว