
ภาวะโรคโลหิตจาง คืออะไร
ภาวะโรคโลหิตจางเป็นภาวะที่ร่างกายได้รับผลกระทบจากการที่มีปริมาณเม็ดเลือดแดงในเลือดน้อยกว่าปกติ เม็ดเลือดแดงทำหน้าที่ในการนำออกซิเจนไปยังเซลล์ต่างๆในร่างกาย ส่งผลให้เซลล์ในร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอทำให้ร่างกายทำงานผิดปกติ
อาการของภาวะโรคโลหิตจาง
อาการที่พบโดยทั่วไปเกี่ยวกับภาวะโรคโลหิตจาง เช่น รู้สึกเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย แม้จะเป็นการทำกิจกรรมปกติในชีวิตประจำวัน ผิวซีดหรือผิวเหลือง อัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติ ใจสั่น หายใจลำบาก เวียนศีรษะ เจ็บหน้าอก มือและเท้าเย็นและปวดศีรษะ ผู้ที่มีภาวะโรคโลหิตจาง มีแนวโน้มที่จะไม่แสดงอาการผิดปกติใด ๆในระยะแรก จนกว่าภาวะโลหิตจางรุนแรงมากขึ้น อาจมีอาการบางอย่างที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีข้อกังวลใด ๆ เกี่ยวกับอาการโปรดปรึกษาแพทย์
สาเหตุของภาวะโรคโลหิตจาง
สาเหตุหลักของภาวะโรคโลหิตจางคือการที่ร่างกายขาดเซลล์เม็ดเลือดแดงเนื่องจากไม่สามารถผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงเพียงพอ หรือเกิดจากการเสียเลือดออกจากร่างกายทางใดทางหนึ่งแบบฉับพลัน การทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดงของร่างกายซึ่งเป็นผลมาจากการติดเชื้อหรือโรคในกลุ่มที่ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกหรือถูกทำลายส่งผลให้เกิดภาวะโลหิตจางได้ นอกจากนี้ภาวะโลหิตจางอาจเกิดจากการเจ็บป่วยเรื้อรังอื่น ๆ เช่นโรคมะเร็ง, เอชไอวี / เอดส์, และโรคไขกระดูก สาเหตุที่พบได้ทั่วไปได้แก่
- ภาวะโรคโลหิตจางจางจากการขาดธาตุเหล็กวิตามินโฟเลตและวิตามินบี12 เมื่อร่างกายขาดธาตุเหล็กไขกระดูกไม่สามารถผลิตฮีโมโกลบินได้เพียงพอ เซลล์เม็ดเลือดแดงที่แข็งแรงต้องการโฟเลตและวิตามินบี12 ในการสร้างเม็ดเลือด
- ภาวะโรคโลหิตจางจากไขกระดูกฝ่อเป็นสาเหตุของภาวะโลหิตจางที่พบค่อนข้างน้อยและเป็นภาวะที่อันตรายถึงชีวิตเนื่องจากเกิดจากการติดเชื้อ การสัมผัสสารพิษโดยตรง และ การใช้ยาที่ไม่พึงประสงค์ หรือการใช้ยาผิดพลาด
- ภาวะโรคโลหิตจางจากกลไกทางภูมิคุ้มกัน เกิดจากภาวะที่ร่างกายของเราทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดงในอัตราที่เร็วกว่าการสร้าง สาเหตุการเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม หรือ เกิดขึ้นภายหลังจากความเสื่อมถอยของเซลล์ร่างกาย
- ภาวะโรคโลหิตจาจากงโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว เป็นโรคทางพันธุกรรมที่ทำให้เม็ดเลือดแดงไม่สมบูรณ์และมีรูปร่างผิดปกติเป็นรูปเคียวแข็งส่งผลให้เม็ดเลือดไม่สามารถลำเลียงได้สะดวกในเส้นเลือด
วิธีการรักษา
หากมีอาการของภาวะโลหิตจาง ควรพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยอย่างถูกต้องและครบถ้วน ทั้งนี้ภาวะโลหิตจางอาจเป็นตัวบ่งชี้ถึงการเจ็บป่วยที่รุนแรงมากขึ้นที่ไม่แสดงอาการ แพทย์สามารถวินิจฉัยภาวะโลหิตจางจากการชักประวัติครอบครัวและการตรวจตรวจเลือดเพื่อตรวจสอบความสมบูรณ์ของเซลล์เม็ดเลือดแดง เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นภาวะโลหิตจาง อาจต้องตรวจสอบเพิ่มเติมเพื่อหาแนวทางการรักษาทางการที่เหมาะสมต่ออาการของโรคต่อไป
การป้องกันภาวะโลหิตจาง
ไม่ว่าอาการของภาวะโลหิตจางจะเป็นแบบชั่วคราวหรือถาวร สามารถควบคุมได้โดยการได้รับการรักษาที่เหมาะสมรวมไปถึงการเลือกรับประทานอาหารที่อุดมด้วยสารอาหาร ธาตุเหล็ก วิตามินบี12 และเลต ถ้ามีคำถามหรือข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมต่อสาเหตุอาการของภาวะโลหิตจาง
อุรานี โยคะนิตย์ จบการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพ มีประสบการณ์การใช้ภาษาอังกฤษมากว่า 20 ปี ผ่านการฝึกอบรมการล่ามและการแปลทั้งทางด้านกฎหมายและการแพทย์ จากสมาคมวิชาชีพนักแปลและล่ามแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ปัจจุบัน อุรานี โยคะนิตย์ เป็นนักแปลและล่ามอาชีพสายกฎหมายและการแพทย์