เช็คสุขภาพ : ที่นี่ ... มีคำตอบให้ทุกคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของท่าน
หน้าแรก / บทความ / ภาวะผนังหนังท้องไม่พัฒนาแต่กำเนิด: อาการ สาเหตุ การรักษา
โดย : วิไลวรรณ เล็บกะเต็ม
ทบทวนบทความโดย : ทีมเช็คสุขภาพ
ภาวะผนังหนังท้องไม่พัฒนาแต่กำเนิด: อาการ สาเหตุ การรักษา

ภาวะผนังหน้าท้องที่ไม่พัฒนาแต่กำเนิด (Abnormal Wall Defect) เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นในช่วงที่ทารกกำลังพัฒนา ภาวะนี้ทำให้อวัยวะภายในช่องท้อง เช่น กระเพาะอาหาร ลำไส้ หรืออวัยวะอื่น ๆ ยื่นออกมาผ่านช่องท้องที่ผิดปกติ โดยภาวะผนังหน้าท้องที่ไม่พัฒนาแต่กำเนิดนี้ สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก คือ

  • ภาวะสะดือโป่ง (Omphalocele) และ
  • ภาวะผนังหน้าท้องไม่ปิดมาแต่กำเนิด (Gastroschisis)

ภาวะผนังหน้าท้องไม่ปิดมาแต่กำเนิด เกิดขึ้นเมื่อผนังหน้าท้องปิดไม่สนิท ทำให้อวัยวะต่าง ๆ อยู่นอกร่างกายของทารก ส่วนภาวะสะดือโป่งเกิดขึ้นเมื่ออวัยวะบางส่วนยื่นออกมาจากกล้ามเนื้อในบริเวณรอบสายสะดือ ภาวะนี้อาจเป็นภวะที่ไม่รุนแรงนัก โดยอวัยวะบางส่วนเท่านั้นที่โผล่ออกมา หรือหากในกรณีที่รุนแรงมาก ๆ อวัยวะส่วนใหญ่บริเวณหน้าท้อง ซึ่งอาจจะไม่ทั้งหมดจะโผล่ออกมา

ภาวะผนังหน้าท้องที่ไม่พัฒนาแต่กำเนิดเป็นความผิดปกติที่ไม่ได้พบได้ยาก ประเภทภาวะสะดือโป่งอาจเกิดกับทารกแรกเกิดราว 2 ถึง 2.5 คนในทารกแรกเกิด 10,000 คน และประเภทภาวะผนังหน้าท้องไม่ปิดมาแต่กำเนิดเกิดขึ้นกับเด็กราว 2 ถึง 6 คนในทารกแรกเกิด 10,000 คน โดยยังสังเกตเห็นได้อีกว่า ภาวะผนังหน้าท้องที่ไม่พัฒนาแต่กำเนิดนี้พบได้บ่อยกับการตั้งครรภ์ประเภทแท้งบุตรและการทารกตายในครรภ์

สาเหตุของการเกิดภาวะผนังหน้าท้องที่ไม่พัฒนาแต่กำเนิด

สาเหตุของภาวะผนังหน้าท้องที่ไม่พัฒนาแต่กำเนิดยังไม่ทราบแน่ชัด แม้ว่าจะมีการศึกษาเกี่ยวกับภาวะผนังหน้าท้องที่ไม่พัฒนาแต่กำเนิดมาตั้งแต่ปี 2547 อย่างไรก็ตาม ภาวะผนังหน้าท้องที่ไม่พัฒนาแต่กำเนิดสามารถป้องกันได้ในเด็ก ๆ หากได้รับสารอาหารและวิตามินที่เพียงพอ รวมทั้งสตรีตั้งครรภ์มีองค์ประกอบอื่น ๆ ที่ทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง และจะต้องไม่ได้รับสารพิษหรือสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย เช่น ยาสูบ

การรักษาภาวะผนังหน้าท้องที่ไม่พัฒนาแต่กำเนิด

การรักษาภาวะนี้สามารถทำได้โดยการผ่าตัด หากไม่มีความผิดปกติอื่นร่วมด้วย ขั้นตอนการผ่าตัดนั้นไม่ได้ซับซ้อนมาก โดยสามารถปิดไส้เลื่อนบริเวณสะดือหรือภาวะผนังหน้าท้องเปิดได้ โดยอวัยวะที่ได้รับการแก้ไขของทารกจะทำงานได้ตามปกติ เพียงแต่อวัยวะอาจอยู่ผิดตำแหน่งเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม หากช่องท้องมีขนาดเล็กเกินไป หรืออวัยวะมีขนาดใหญ่เกินไป หรือบวมจนปิดผิวหนัง อาจจะเป็นเรื่องที่ยากที่จะใส่อวัยวะภายในทั้งหมดกลับเข้าไปในช่องท้องขนาดเล็กได้ ในกรณีนี้ แพทย์จะวางถุงคลุมซึ่งโดยทั่วไปทำจากซิลิโคน หรือไซโล (เพราะมีรูปร่างเหมือนไซโลที่ใช้เก็บเมล็ดพืช) ไว้เหนืออวัยวะภายในช่องท้องด้านนอกของทารก เพื่อป้องกันการติดเชื้อและรักษาความร้อน ไซโลนี้ทำหน้าที่เป็นสปริงโหลด ทำให้สามารถติดอุปกรณ์เข้ากับด้านในของผนังช่องท้องได้โดยไม่ต้องเย็บแผล ด้านบนของไซโลจะยึดในลักษณะที่ทำให้ตั้งตรง เพื่อให้ลำไส้ค่อย ๆ เคลื่อนตัวเข้าไปในช่องท้องด้วยแรงโน้มถ่วง กระบวนการนี้อาจใช้เวลาถึงหนึ่งสัปดาห์ และการปิดขั้นสุดท้ายอาจดำเนินการในอีกไม่กี่สัปดาห์ต่อมา อาจต้องผ่าตัดเพิ่มเติมเพื่อซ่อมแซมกล้ามเนื้อหน้าท้องในภายหลัง

การปรับวิถีการใช้ชีวิตและการดูแลตัวเองที่บ้าน

ความผิดปกติที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาแรกสามารถป้องกันได้โดยการดูแลตั้งแต่ก่อนคลอด โดยให้คำแนะนำเกี่ยวกับโภชนาการที่เหมาะสม วิตามินเสริม และสุขภาพที่ดี ควบคู่ไปกับการหลีกเลี่ยงใช้ยาและสารเคมีที่ไม่จำเป็น โดยเฉพาะการสูบบุหรี่

วิไลวรรณ เล็บกะเต็ม เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ปัจจุบัน เป็นนักแปลด้านกฎหมายและการแพทย์

08/08/2023
บทความที่เกี่ยวข้อง
CHECKSUKKAPHAP.COM
เลขที่ 598 ชั้น 6 ถนนเพลินจิต ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
095-515-9229
ข้อกำหนดและเงื่อนไข ความเป็นส่วนตัว